เมนู

ข้อว่า ทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนุตริกาย อาคจฺฉติ ความว่า
ได้ยินว่า มหาเปตโลกผ่านเมืองราชคฤห์มา, แม่น้ำตโปทานี้มาจากระหว่าง
มหาโลหกุมภีนรก 2 ขุมในมหาเปตโลกนั้น ; ฉะนั้น จึงเดือดพล่านไหลไปอยู่.

[เรื่องการรบ]


ในเรื่องการรบ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า นนฺทิ จรติ ได้แก่
ตีกลองพิชัยเภรีเที่ยวประกาศไป.
ข้อว่า ราชา อาวุโส ลิจฺฉวีหิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระนั่ง
ในที่พักกลางวันและที่พักกลางคืนของตนเห็นพวกเจ้าลิจฉวีผู้มีผีมือชำนาญ
ยิงได้แม่นยำ เมื่อคำนึงว่า ก็พระราชาทรงก่อสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
ได้เห็นพระราซาทรงปราชัย หนีไปอยู่ ด้วยทิพยจักษุ. ลำดับนั้น พระเถระ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของพวกท่าน ทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว.
คำว่า สจฺจํ ภิกฺขเว โมคฺคลฺลาโน อาห ความว่า โมคคัลลานะ
เมื่อคำนึงในเวลาพระราชาทรงปราชัย กล่าวสิ่งที่ตนเห็น ชื่อว่ากล่าวจริง.

[เรื่องช้างลงน้ำ]


ในเรื่องช้างลงน้ำ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า สปฺปินิกาย คือ
แม่น้ำที่มีชื่ออย่างนี้.
บทว่า อเนญฺชํ สมาธึ ได้แก่ จตุตถฌานสมาธิ อันเป็นอเนญชะ
คือ ไม่หวั่นไหว เว้นจากความดิ้นรนทางกายและวาจา.
บทว่า นาคานํ แปลว่า แห่งช้างทั้งหลาย.
ข้อว่า โอคาหํ อุตฺตรนฺตานํ ความว่า ลงน้ำแล้ว ขึ้นอีก. ได้ยินว่า
ช้างเหล่านั้นลงน้ำลึกแล้ว อาบและดื่มในน้ำนั้น เอางวงดูดน้ำแล้วพ่นใส่กัน
และกันจึงขึ้นไป. มีคำอธิบายว่า แห่งช้างเหล่านั้น ตัวลงน้ำแล้วขึ้นอยู่อย่างนี้.

ข้อว่า โกญฺจํ กโรนฺตานํ ความว่า ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้าสอดงวง
เข้าในปากแล้ว ทำเสียงดังนกกระเรียน.
คำว่า สทฺทํ อสฺโสสึ ความว่า เราได้ยินเสียงโกญจนาทนั้น.
ข้อว่า อตฺเถโส ภิกฺขเว สมาธิ โส จ โข อปริสุทฺโธ
ความว่า สมาธินั่นของโมคคัลลานะ มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล เป็นของไม่บริสุทธิ์.
ได้ยินว่า พระเถระ ในวันที่ 7 แต่เวลาบวช ได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้น
ยังไม่มีวสี (ความชำนาญ) อันประพฤติแล้ว ด้วยอาการ 5 อย่าง ในสมาบัติ
8 ยังมิได้ยังธรรมอันเป็นช้าศึกต่อสมาธิให้บริสุทธิ์ด้วยดี นั่งเข้าจตุตถฌานแน่ว
แน่ กระทำให้มีเพียงแต่สัญญาแห่งการนึก การเข้า การตั้งใจ การออก และ
การพิจารณาเท่านั้น ออกจากองค์ฌานแล้ว ได้ยินเสียงแห่งช้างทั้งหลาย ได้
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราได้ยินเสียงภายในสมาบัติ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมาธินั่น มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล
ไม่บริสุทธิ์.

[เรื่องพระโสภิตะ]


ในเรื่องพระโสภิตะ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ข้อว่า อหํ
อาวุโส ปญฺจกปฺปสตานิ อนุสฺสรามิ
ความว่า พระเถระกล่าวว่า เรา
ระลึกชาติได้ ด้วยอาวัชชนจิตเดียว. ก็เมื่อถือเอาความอีกอย่างหนึ่ง การระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในอดีตนั้น ๆ ด้วยอาวัชชนจิตต่าง ๆ กัน โดยลำดับ ของ
พระสาวกทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์ ; เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยกโทษ.
แต่เพราะพระโสภิตะนั้นกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ด้วยอาวัชชนจิตเดียว ดังนี้ ;
เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงยกโทษ.