เมนู

ฉะนั้น เธอจึงกล่าวว่า ดูก่อนคุณ ! กามทั้งหลาย ฉันห้ามได้แล้ว ดังนี้
เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.
ก็คำว่า อาวฏา ในคำว่า อาวฏา เม นี้ มีใจความว่า ฉันป้องกัน
ได้แล้ว คือ ห้ามเสียแล้ว ปฏิเสธแล้ว.
ในเรื่องความอภิรมย์ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุนั้น กล่าวว่า ดูก่อน
คุณ ; ฉันยังยินดียิ่ง ด้วยความยินดีอย่างเยี่ยม ดังนี้ เพราะเธอเป็นผู้ไม่กระสัน
และเพราะยังมีความยินดี ในอุเทศและปุจฉาเป็นต้น ในศาสนา หาได้กล่าว
ด้วยความประสงค์จะอวดไม่ ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.

[เรื่องตั้งกติกาหลีกไป]


ในเรื่องหลีกไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า ภิกษุใด จักหลีกไปจาก
อาวาสนี้ก่อน มีอธิบายว่า เมื่อสงฆ์กำหนดอาวาส มณฑลสีมา หรือสถานที่ใด
ที่หนึ่ง แล้วตั้งกติกาไว้ ภิกษุใดหลีกไปจากสถานที่นั้นก่อน ด้วยคิด ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย จงเข้าใจเราว่า เป็นพระอรหันต์, ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก. ส่วนภิกษุใด
เดินเลยสถานที่นั้นไป ด้วยกิจธุระของอาจารย์และอุปัชฌายะก็ดี ด้วยกรณียะ
เช่นนั้นอย่างอื่น เพื่อภิกขาจาร หรือเพื่อประโยชน์แก่อุเทศและปริปุจฉาก็ดี,
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. ถ้าแม้เมื่อภิกษุนั้น เดินไปด้วยกิจอย่างนั้น ภาย
หลังอิจฉาจารเกิดขึ้นว่า บัดนี้ เราจักไม่ไปในสถานที่นั้น. เพราะว่า ชน
ทั้งหลายจักยกย่องเราว่า เป็นพระอรหันต์ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่เป็นอาบัติ
เหมือนกัน. ฝ่ายภิกษุใด ลุถึงสถานที่นั้น ด้วยกรณียะบางอย่างแล้ว เป็นผู้
ส่งใจไปในที่อื่น ด้วยอำนาจการใฝ่ใจในการสาธยายเป็นต้น หรือถูกโจร
เป็นต้นไล่ติดตาม. หรือเห็นเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว มีประสงค์จะเข้าไปหลบฝน
จึงล่วงเลยสถานที่นั้นไป, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น . แม้ภิกษุผู้ไปด้วยยาน

หรือด้วยฤทธิ์ก็ไม่ต้องปาราชิก. แต่ย่อมต้องอาบัติด้วยการเดินไปด้วยเท้านั้น.
ภิกษุผู้เดินไปถึงสถานที่แม้นั้น ไม่ก่อนไม่หลัง พร้อมด้วยพวกภิกษุผู้ร่วมกัน
ตั้งข้อกติกาไว้ไม่ต้องอาบัติ. เพราะว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดินไปอย่างนั้น
ยังรักษากันและกันได้แม้ทั้งหมด. แม้ถ้าภิกษุทั้งหลาย กำหนดสถานที่บางแห่ง
บรรดามณฑปและโคนต้นไม้เป็นต้น แล้วตั้งข้อกติกาไว้โดยนัยเป็นต้นว่า
พวกเราจักรู้ภิกษุผู้นั่งหรือเดินจงกรมอยู่ในที่นี้ว่า เป็นพระอรหันต์ หรือเอา
ดอกไม้วางไว้โดยนัยเป็นต้นว่า พวกเราจักทราบภิกษุผู้ถือเอาดอกไม้เหล่านี้
แล้วทำการบูชาว่า เป็นพระอรหันต์ . แม้ในข้อกติกวัตรนั้น เมื่อภิกษุทำอยู่
เหมือนอย่างนั้น ด้วยอำนาจอิจฉาจาร เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แม้ถ้าอุบาสก
สร้างวิหารไว้ในระหว่างทางก็ดี ตั้งปัจจัยมีจีวรเป็นต้นไว้ก็ดี ด้วยกล่าวว่า
ขอภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย จงพักอยู่ในวิหารหลังนี้ และจงถือเอาปัจจัย
มีจีวรเป็นต้น. แม้ในข้อกติกวัตรที่อุบาสกดั้งไว้นั้น เมื่อภิกษุพักอยู่ หรือถือ
เอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจอิจฉาจาร เป็นปาราชิกเหมือนกัน .
แต่ว่านั่น เป็นกติกวัตรที่ไม่ชอบธรรม ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรทำ.
อีกอย่างหนึ่ง วัตรอื่นเห็นปานนี้ มีอาทิอย่างนี้ว่า ในภายในไตรมาสนี้
ภิกษุทั้งหมดจงเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร หรือว่าทรงไว้ซึ่งธุดงค์ที่เหลือ มี
องค์แห่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรเป็นต้น. หรือว่า จงเป็นผู้สิ้นอาสวะ
หมดทุกรูปด้วยกัน, ดังนี้. (ชื่อว่าวัตรที่ไม่ชอบธรรม) แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย
ผู้อยู่ในชนบทต่าง ๆ ย่อมประชุมกัน. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวก
ทุพพลภาพมีกำลังน้อย ย่อมไม่สามารถจะตามรักษาข้อวัตรเห็นปานนั้นได้.
เพราะเหตุนั้น ข้อวัตรแม้เห็นปานนั้น จึงไม่ควรทำ. และข้อวัตรมีอาทิอย่างนี้
ว่า ตลอดไตรมาสนี้ ภิกษุหมดทุกรูปด้วยกัน ไม่พึงแสดงธรรม ไม่พึงเรียน

ธรรม ไม่พึงให้บรรพชา. แต่ควรเรียนเอามูควัตร ควรให้ลาภสงฆ์แม้แก่
ภิกษุผู้อยู่ภายนอกสีมาด้วย ดังนี้ ก็ไม่ควรทำเหมือนกัน.

[เรื่องพระมหาโมคคัลลานะเห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต]


พระลักขณเถระ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ในลักขณสังยุตว่า
อายสฺมา จ ลกฺขโณ, * เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีอยู่ภายในแห่งภิกษุ
ชฎิลพันองค์ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
แห่งอาทิตตปริยายสูตร เป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง. ก็เพราะท่านองค์นี้
ประกอบด้วยอัตภาพเสมือนพรหม สมบูรณ์ด้วยลักษณะเต็มเปี่ยมด้วยอาการ
ทุกอย่าง ; ฉะนั้น ท่านจึงถึงความนับว่า ลักขณะ ส่วนพระมหาโมคคัลลาน
เถระเป็นพระอัครสาวกที่ 2 ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันที่ 7 แต่วันที่
ท่านบวชแล้ว.
สองบทว่า สิตํ ปาตฺวากาสิ ความว่า พระมหาโมคคัลลานเถระ
ได้ทำการยิ้มน้อย ๆ ให้ปรากฏ. มีคำอธิบายว่า ประกาศ คือแสดง.
ถามว่า ก็ พระเถระ เห็นอะไร จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ?
แก้ว่า พระเถระ เห็นสัตว์ผู้เกิดอยู่ในเปตโลกตนหนึ่ง มีแต่ร่างกระดูก
ซึ่งมาแล้วในบาลีข้างหน้า, ก็แล การเห็นสัตว์คนนั้น เห็นได้ด้วยทิพยจักษุ
ไม่ใช่เห็นด้วยจักษุประสาท. จริงอยู่ อัตภาพเหล่านั้น หาได้มาสู่คลองแห่ง
จักษุประสาทไม่.
ถามว่า ก็พระเถระ เห็นอัตภาพมีรูปอย่างนั้นแล้ว เพราะเหตุไร
จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ ในเมื่อควรทำความกรุณาเล่า ?
//* สํ. นิทาน. 16/268