เมนู

วินีตวัตถุในจตุตถปาราชิก


[เรื่องสำคัญ ว่าได้บรรลุ]


เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ ในวินีตวัตถุทั้งหลาย มีนัยดังกล่าวแล้ว ใน
อนุบัญญัตินั่นแล.
ในเรื่องที่ 2 มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า ปณิธาย ได้แก่ ทำความ
ปรารถนาไว้.
ข้อว่า เอวํ มํ ชโน สมฺภาเวสฺสติ มีความว่า (ภิกษุรูปใดรูป
หนึ่ง อยู่ในป่าด้วยตั้งใจว่า), ชนจักยกย่องเราผู้อยู่ในป่า ในความเป็นพระ
อรหันต์ หรือในภูมิแห่งพระเสขะ ด้วยวิธีอย่างนี้. แต่กาลนั้นไป เราจักเป็น
ผู้อันชาวโลกสักการะ เคารพนับถือ บูชา.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เมื่อเธอ เดินไปด้วย
ตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจักอยู่ในป่า เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ย่างเท้า. ในกิจทั้งปวง มี
การสร้างกุฎี เดินจงกรม นั่ง และนุ่งห่มเป็นต้นในป่า เป็นทุกกฏ ทุก ๆ
ประโยค เหมือนอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้นภิกษุไม่ควรอยู่ในป่า ด้วยความตั้ง
ใจอย่างนั้น. จริงอยู่ เมื่ออยู่ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น จะได้รับความยกย่อง
หรือไม่ก็ตาม ย่อมต้องทุกกฏ. ส่วนภิกษุใด สมาทานธุดงค์แล้ว คิดว่า เรา
จักรักษาธุดงค์ หรือว่า เมื่อเราพักอยู่ในแดนบ้าน จิตย่อมฟุ้งซ่าน, ป่าเป็น
ที่สบาย ดังนี้ จึงเป็นผู้มีความประสงค์จะอยู่ป่าอันหาโทษมิได้ด้วยทำความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบรรลุบรรดาวิเวกทั้ง 3 อย่างใดอย่างหนึ่งในป่าแน่
แท้ ดังนี้ ก็ดี ว่า เราเข้าไปสู่ป่ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว จักไม่
ออกมา ดังนี้ ก็ดี ว่า ชื่อว่าการอยู่ป่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ

และเมื่อเราพักอยู่ในป่า เพื่อนพรหมจารีมากหลาย จักละทิ้งแดนบ้านแล้ว อยู่ป่า
เป็นวัตร ดังนี้ก็ดี ; ภิกษุนั้น ควรอยู่ในป่า.
ในเรื่องที่ 3 มีวินิจฉัยดังนี้ :- เป็นทุกกฏทุก ๆ ประโยค ตั้งต้นแต่
กิจ คือการนุ่งห่ม ด้วยตั้งใจว่า เราจักวางอิริยาบถ มีการก้าวไปเป็นต้น
เที่ยวบิณฑบาต จนกระทั่งถึงการขบฉันเป็นที่สุด, เธอจะได้รับความยกย่อง
หรือไม่ก็ตาม เป็นทุกกฎทั้งนั้น แต่ภิกษุผู้เข้าไปบิณฑบาต ด้วยอิริยาบถที่น่า
เลื่อมใส มีการก้าวไปและถอยกลับเป็นต้น เพื่อบำเพ็ญขันธกวัตรและเสขิยวัตร
ให้บริบูรณ์ หรือเพื่อถึงความเป็นทิฏฐานุคติ แก่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
เป็นผู้อันวิญญูชนทั้งหลายไม่พึงติเตียนแล.
ในเรื่องที่ 4 และที่ 5 เพราะภิกษุมิได้กล่าวว่าเรา โดยนัยดังกล่าวไว้
แล้วในคำนี้ว่า ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน จึงไม่เป็นปาราชิก. จริงอยู่
เมื่อภิกษุอวดอุตริมนุสธรรมเป็นที่น้อมเข้ามาในตนเท่านั้น ท่านจึงปรับเป็น
ปาราชิก. คำเป็นต้นว่า (ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง) เดินจงกรมด้วยตั้งใจว่า . . .
ดังนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.
ในเรื่องละสังโยชน์ มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุกล่าวว่า สังโยชน์
ทั้งหลาย เราละได้แล้ว ก็ดี ว่า สังโยชน์ทั้ง 10 เราละได้แล้วก็ดี ว่า สังโยชน์
ข้อหนึ่ง เราละได้แล้ว ก็ดี การละกิเลสนั่นแหละเป็นอันเธอบอกแล้ว ; เพราะ
เหตุนั้น จึงเป็นปาราชิก.
ในเรื่องธรรมในที่ลับ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า รโห อุลฺลปติ*
ความว่า ภิกษุอยู่ในที่ลับ พูดว่า เราเป็นพระอรหันต์ ดังนี้, แต่ไม่ได้ทำ
การคิดด้วยใจเลย ; เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ท่านจึงปรับเป็นทุกกฏ เรื่อง
วิหาร และเรื่องบำรุง มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
//* บาลี. มหา. วิ. 1/204 เป็น รโหคโต . . . . อุลฺลปติ.

ในเรื่องทำได้ไม่ยาก มีวินิจฉัยดังนี้ :- ลัทธิ ของภิกษุนั้นมีดังนี้ว่า
พระอริยบุคคลทั้งหลายแล ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า (พึงพูดอย่าง
นั้น). เพราะเหตุนั้น เธอจึงกล่าวว่า เฉพาะท่านที่เป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคเจ้าเท่านั้น พึงพูดอย่างนั้น. ก็แลความประสงค์ของเธอ มีดังนี้ว่า
การที่ภิกษุผู้มีศีล เจริญวิปัสสนาพยากรณ์พระอรหัตผลทำได้ไม่ยากเลย, เธอ
สามารถบรรลุพระอรหัตได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุรูปนั้น จึงกราบทูลว่า
ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะพูดอวด.
ในเรื่องความเพียร มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อาราธนีโย ความ
ว่า สามารถเพื่อยังธรรมให้สัมฤทธิผลได้ คือยังตนให้บรรลุได้. ความว่า
เพื่อให้เกิดได้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในเรื่องความตาย มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุ1 นั้น อาศัยอำนาจแห่ง
ประโยชน์นี้ว่า ท่านผู้มีความเดือดร้อนใจเกิดขึ้น ต้องกลัวแน่, แต่ศีลของ
เราบริสุทธิ์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนใจเลย. เรานั้นจักต้องกลัวต่อ
ความตายทำไม ดังนี้ จึงตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ! ผมย่อมไม่กลัวต่อ
ความตาย. เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีอาบัติแก่ภิกษุนั้น. แม้ในเรื่องความเดือด
ร้อนใจ ก็มีนัยเหมือนกันนี้. 3 เรื่องถัดจากเรื่องความเดือดร้อนใจนั้นไปเป็น
เหมือนเรื่องความเพียรนั่นเอง.
บรรดาเรื่องเวทนา2 ทั้งหลาย พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องทีแรกก่อน :-
ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในอธิวาสนขันติ ด้วยกำลังแห่งความพิจารณา จึงตอบว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย ! อันคนพอดีพอร้าย ไม่สามารถจะอดกลั้นได้. เพราะเหตุนั้น
//1. ไม่ใช่เป็นบทตั้ง เพราะในบาลีไม่มี ควรแก้ไม่ไห้มี อิติ สัพท์ จึงจะถูก.
//2. เทสนาวตฺถูสุ ว่าจะผิด เพราะพูดถึงเรื่อง อดกลั้นเวทนา ฉะนั้น จึงควรแก้เป็น เวทนาวตฺถูสุ
//ดังที่แปลไว้แล้วนั่น.

จึงไม่มีอาบัติแก่เธอ. ส่วนในเรื่องที่ 2 เป็นถุลลัจจัย เพราะภิกษุนั้นไม่ได้ทำ
การอวดอุตริมนุสธรรมเป็นที่นี้อมเข้ามาในตน กล่าวโดยอ้อมว่า ดูก่อนอาวุโส
ทั้งหลาย ! อันปุถุชนไม่สามารถ (จะอดกลั้นได้).
ในเรื่องพราหมณ์ทั้งหลาย มีวินิจฉัยดังนี้ :- ได้ยินว่า พราหมณ์
คนนั้น ได้กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลาย จงมาเถิดเจ้าข้า ! ดังนี้
อย่างเดียวก็หามิได้, (โดยที่แท้) คำพูดทั้งหมดที่เปล่งออกจากปากของพราหมณ์
นั้น ประกอบด้วยวาทะว่าอรหันต์ทั้งนั้น ดังนี้ว่า ท่านทั้งหลาย จงปูลาดอาสนะ
จงถวายน้ำล้างเท้าแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย, ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย จงล้าง
เท้าเถิด. ก็คำพูดนั้นของพราหมณ์นั้น เป็นการกล่าวด้วยความเลื่อมใส คือ
เป็นคำกล่าวของพราหมณ์ ผู้ถูกกำลังศรัทธาของตนให้ขะมักเขม้นแล้ว เพราะ
ความเป็นผู้มีศรัทธาจิต. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ไม่เป็นอาบัติ เพราะการกล่าวด้วยความเลื่อมใส. อัน
ภิกษุผู้ถูกเขากล่าวอย่างนั้น ไม่ควรเป็นผู้ร่าเริงยินดีเลยบริโภคปัจจัยทั้งหลาย.
ควรทำความเพียร ด้วยคิดอย่างนี้ว่า ก็เราจักบำเพ็ญข้อปฏิบัติ อันจะยังตน
ให้ถึงพระอรหัต ดังนี้แล. เรื่องพยากรณ์อรหัตผลเป็นเหมือนเรื่องละสังโยชน์
นั่นแล.
ในเรื่องครองเรือน มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุนั้น ได้กล่าวว่า ดูก่อน
ผู้มีอายุ ! คนอย่างฉัน ไม่ควรแล ดังนี้ เพราะเธอไม่มีความต้องการ ไม่มี
ความเยื่อใยในเป็นคฤหัสถ์, หาได้กล่าวด้วยความประสงค์จะอวดไม่ .
เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.
ในเรื่องห้ามกาม มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุนั้น เป็นผู้หมดความเยื่อใย
ในวัตถุกามและกิเลสกาม เพราะเล็งเห็นโทษ ที่เป็นโลกีย์นั่นเอง ; เพราะ

ฉะนั้น เธอจึงกล่าวว่า ดูก่อนคุณ ! กามทั้งหลาย ฉันห้ามได้แล้ว ดังนี้
เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.
ก็คำว่า อาวฏา ในคำว่า อาวฏา เม นี้ มีใจความว่า ฉันป้องกัน
ได้แล้ว คือ ห้ามเสียแล้ว ปฏิเสธแล้ว.
ในเรื่องความอภิรมย์ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุนั้น กล่าวว่า ดูก่อน
คุณ ; ฉันยังยินดียิ่ง ด้วยความยินดีอย่างเยี่ยม ดังนี้ เพราะเธอเป็นผู้ไม่กระสัน
และเพราะยังมีความยินดี ในอุเทศและปุจฉาเป็นต้น ในศาสนา หาได้กล่าว
ด้วยความประสงค์จะอวดไม่ ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่เธอ.

[เรื่องตั้งกติกาหลีกไป]


ในเรื่องหลีกไป มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า ภิกษุใด จักหลีกไปจาก
อาวาสนี้ก่อน มีอธิบายว่า เมื่อสงฆ์กำหนดอาวาส มณฑลสีมา หรือสถานที่ใด
ที่หนึ่ง แล้วตั้งกติกาไว้ ภิกษุใดหลีกไปจากสถานที่นั้นก่อน ด้วยคิด ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย จงเข้าใจเราว่า เป็นพระอรหันต์, ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก. ส่วนภิกษุใด
เดินเลยสถานที่นั้นไป ด้วยกิจธุระของอาจารย์และอุปัชฌายะก็ดี ด้วยกรณียะ
เช่นนั้นอย่างอื่น เพื่อภิกขาจาร หรือเพื่อประโยชน์แก่อุเทศและปริปุจฉาก็ดี,
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. ถ้าแม้เมื่อภิกษุนั้น เดินไปด้วยกิจอย่างนั้น ภาย
หลังอิจฉาจารเกิดขึ้นว่า บัดนี้ เราจักไม่ไปในสถานที่นั้น. เพราะว่า ชน
ทั้งหลายจักยกย่องเราว่า เป็นพระอรหันต์ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่เป็นอาบัติ
เหมือนกัน. ฝ่ายภิกษุใด ลุถึงสถานที่นั้น ด้วยกรณียะบางอย่างแล้ว เป็นผู้
ส่งใจไปในที่อื่น ด้วยอำนาจการใฝ่ใจในการสาธยายเป็นต้น หรือถูกโจร
เป็นต้นไล่ติดตาม. หรือเห็นเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว มีประสงค์จะเข้าไปหลบฝน
จึงล่วงเลยสถานที่นั้นไป, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น . แม้ภิกษุผู้ไปด้วยยาน