เมนู

กถาว่าด้วยปัจจัยปฏิสังยุตตวาร


แม้ในวาระการอวดเกี่ยวด้วยปัจจัย พึงทราบประเภทแห่งวารเปยยาล
ทั้งหมด และอรรถแห่งบทที่มาในเบื้องต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ แล้ว
ทราบลำดับพระบาลี อย่างนี้ก่อน. ก็ในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ ท่านกล่าววาร
กำหนดด้วยปฐมาวิภัตติ 5 เหล่านั้นว่า
1. ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน
2. ภิกษุใด บริโภคจีวรของท่าน
3. ภิกษุใด ฉันบิณฑบาตของท่าน
4. ภิกษุใด ใช้สอยเสนาสนะของท่าน
5. ภิกษุได บริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่าน
ดังนี้, กล่าววารกำหนดด้วยตติยาวิภัตติ 5 มีว่า วิหารของท่าน อันภิกษุใดใช้
สอยแล้ว เป็นต้น, กล่าววารกำหนดด้วยทุติยาวิภัตติ 5 มีว่า ท่านอาศัยภิกษุใด
จึงได้ถวายวิหาร ดังนี้ เป็นต้นพึงทราบประเภทแห่งวารเปยยาล ในทุก ๆ
บท มีปฐมฌานเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้ในเบื้องต้นพร้อมกับบทสุญญาคาร ที่
กล่าวแล้วในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ด้วยอำนาจแห่งวารเหล่านั้น.
ในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ว่า ก็เพราะภิกษุกล่าว
โดยอ้อมอย่างนี้ว่า ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน, วิหารของท่าน อันภิกษุ
ใดอยู่แล้ว, ท่านอาศัยภิกษุใด จึงได้ถวายวิหาร, และเพราะเธอไม่ได้กล่าวว่า
เรา ในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ แม้เมื่อกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม แก่บุคคลผู้
เข้าใจทันที จึงเป็นถุลลัจจัย กล่าวอวด แก่บุคคลผู้ไม่เข้าใจทันที จึงเป็น
ทุกกฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงประเภทแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจความ
พิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จะทรงแสดงอนาบัติ จึงตรัสคำว่า อนาปตฺติ
อธิมาเนน เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิมาเนน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้อวด ด้วยสำคัญว่าตนได้บรรลุ.
บทว่า อนุลฺลปนาธิปฺปายสฺส มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้
มิได้ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร ด้วยความเป็นผู้หลอกลวง ไม่ประสงค์จะอวด พยากรณ์
พระอรหัตผล ในสำนักของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย. ภิกษุบ้าเป็นต้น มีนัย
ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั้นนั่นแล. อนึ่ง พวกภิกษุผู้จำพรรษาใกล้ฝั่งแม่น้ำ
วัคคุมุทา ผู้เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้, ไม่เป็นอาบัติแก่เธอเหล่านั้น ฉะนี้
แล.
ปทภาชนียวรรณนา จบ

(จตุตถปาราชิกสิกขาบท มีสมุฏฐาน 3)


ในสมุฏฐานเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 คือ
เกิดแต่กายกับจิตของภิกษุผู้อวดอยู่ ด้วยหัวแม่มือ 1 เกิดแต่วาจากับจิตของ
ภิกษุผู้อวดด้วยการเปล่งวาจา 1 เกิดแต่กายวาจากับจิต ของภิกษุผู้ทำอยู่ทั้ง 2
อย่าง 1 เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะเป็นโลกวัชชะ เป็นกายกรรม
วจีกรรม เป็นอกุศลจิต มีเวทนา 3. จริงอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวอวดทั้งที่มีโสมนัส
รื่นเริงใจก็มี กลัวอวดก็มี มีตนเป็นกลางอวดก็มี.