เมนู

กถาว่าด้วยผู้มีความประสงค์จะกล่าว


เนื้อความแห่งบทว่า ตีหากาเรหิ เป็นอาทิ และประเทศแห่งวาร
เปยยาลทั้งปวง แม้ในวัตถุกามวาร พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสุทธิกวารนี้
แล. ก็วัตตุกามวารนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อกันโอกาสของบาปบุคคลทั้ง
หลายอย่างเดียว ผู้แสวงหาช่องอย่างนี้ว่า คำนี้ใดเล่า เราประสงค์จะกล่าวคำ
อื่น กล่าวผิดเป็นคำอื่น ; เพราะฉะนั้นอาบัติจึงไม่มีแก่เรา. เหมือนอย่างว่า
ภิกษุปรารถนาจะกล่าวว่า พุทธํ ปจฺจกฺขามิ เมื่อกล่าวบทใดบทหนึ่ง บรรดา
บทสำหรับบอกลาสิกขามีว่า ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ เป็นต้น ย่อมเป็นผู้บอก
ลาสิกขาแล้วแท้ เพราะบทเหล่านั้นหยั่งลงในเขต ฉันใดแล, ข้อนี้ก็ฉันนั้น
ภิกษุผู้ใคร่จะกล่าวบทใดบทหนึ่งบทเดียว บรรดาบทอุตริมนุสธรรมมีปฐมฌาน-
เป็นต้น แม้เมื่อกล่าวบทใดบทหนึ่งอย่างอื่นจากบทนั้น ย่อมเป็นปาราชิกที
เดียว เพราะบทนั้นหยั่งลงในเขต. แม้ถ้าเธอกล่าวแก่ผู้ใด, ผู้นั้น ย่อมรู้ความ
นั้นในขณะนั้นทันที. ก็แล ลักษณะแห่งการรู้ในการอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่
มีจริงนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในการบอกลาสิกขานั่นแล. แต่ความแปลก
กัน มีดังต่อไปนี้ :- การบอกลาสิกขา ย่อมไม่ถึงความสำเร็จด้วยหัตถมุทธา
(ไม่สำเร็จได้ด้วยการกระดิกหัวแม่มือ) การอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริงนี้
ย่อมหยั่งลง (สู่ความสำเร็จ) แม้ด้วยหัตถมุทธา. จริงอยู่ ภิกษุใดอวดดอุตริม-
นุสธรรมที่ไม่มีจริงด้วยความเคลื่อนไหวแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ มีหัตถวิการ
(แกว่งมือ) เป็นต้น แก่บุคคลผู้ยืนอยู่ในคลองแห่งวิญญัติ. และบุคคลนั้น
รู้ใจความนั้นได้, ภิกษุนั้น เป็นปาราชิกแท้. แต่ถ้าเธอบอกแก่ผู้ใด, ผู้นั้น
ไม่เข้าใจ หรือถึงความสงสัยว่า ภิกษุนี้ พูดอะไร ? หรือพิจารณานานจึงรู้ใน

ภายหลัง ย่อมถึงความนับว่า ผู้ไม่เข้าใจทันทีเหมือนกัน. เมื่อภิกษุบอกแก่
บุคคลผู้ไม่เข้าใจทันทีอย่างนั้น เป็นถุลลัจจัย. ส่วนบุคคลใดไม่รู้จักอุตริมนุส-
ธรรมมีฌานเป็นต้นด้วยตนเองด้วยอำนาจการได้บรรลุ หรือด้วยอำนาจการเรียน
และการสอบถามเป็นต้น ได้ยินแต่เพียงคำว่า ฌาน หรือว่า วิโมกข์ อย่าง
เดียวเท่านั้น. ถึงบุคคลนั้น เมื่อภิกษุนั้นบอกแล้ว ถ้ารู้ได้แม้เพียงเท่านี้ว่า
ได้ยินว่า ภิกษุนี้กล่าวว่า เราเข้าฌานแล้ว ดังนี้ ย่อมถึงความนับว่า รู้ เหมือน
กัน, เมื่อภิกษุบอกแก่บุคคลนั้น เป็นปาราชิกแท้. ความแปลกกัน ด้วยอำนาจ
บุคคลผู้เดียว สองคน หรือมากคน ที่ภิกษุกำหนดไว้หรือมิได้กำหนดไว้แม้
ทั้งหมดนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว ในกถาว่าด้วยการบอกลาสิกขานั้นแล
ด้วยประการฉะนี้.
วัตตุกามวารกถา จบ

กถาว่าด้วยปัจจัยปฏิสังยุตตวาร


แม้ในวาระการอวดเกี่ยวด้วยปัจจัย พึงทราบประเภทแห่งวารเปยยาล
ทั้งหมด และอรรถแห่งบทที่มาในเบื้องต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ แล้ว
ทราบลำดับพระบาลี อย่างนี้ก่อน. ก็ในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ ท่านกล่าววาร
กำหนดด้วยปฐมาวิภัตติ 5 เหล่านั้นว่า
1. ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน
2. ภิกษุใด บริโภคจีวรของท่าน
3. ภิกษุใด ฉันบิณฑบาตของท่าน
4. ภิกษุใด ใช้สอยเสนาสนะของท่าน
5. ภิกษุได บริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่าน
ดังนี้, กล่าววารกำหนดด้วยตติยาวิภัตติ 5 มีว่า วิหารของท่าน อันภิกษุใดใช้
สอยแล้ว เป็นต้น, กล่าววารกำหนดด้วยทุติยาวิภัตติ 5 มีว่า ท่านอาศัยภิกษุใด
จึงได้ถวายวิหาร ดังนี้ เป็นต้นพึงทราบประเภทแห่งวารเปยยาล ในทุก ๆ
บท มีปฐมฌานเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้ในเบื้องต้นพร้อมกับบทสุญญาคาร ที่
กล่าวแล้วในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ด้วยอำนาจแห่งวารเหล่านั้น.
ในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ว่า ก็เพราะภิกษุกล่าว
โดยอ้อมอย่างนี้ว่า ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน, วิหารของท่าน อันภิกษุ
ใดอยู่แล้ว, ท่านอาศัยภิกษุใด จึงได้ถวายวิหาร, และเพราะเธอไม่ได้กล่าวว่า
เรา ในปัจจัยปฏิสังยุตตวารนี้ แม้เมื่อกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม แก่บุคคลผู้
เข้าใจทันที จึงเป็นถุลลัจจัย กล่าวอวด แก่บุคคลผู้ไม่เข้าใจทันที จึงเป็น
ทุกกฏ.