เมนู

สองบทว่า เอวํ วเทยฺย แปลว่า พึงกล่าวอย่างนี้. ถามว่า พึงกล่าว
อย่างไร ? แก้ว่า พึงกล่าวว่า แน่ะท่าน! ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้
ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น. ส่วนในบทภาชนะ ท่านพระอุบาลีเถระมิได้
ยกบทว่า เอวํ วเทยฺย นี้ขึ้นเลย ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรม
เหล่านั้น ดังนี้ เพื่อแสดงอาการที่ภิกษุผู้กล่าวเป็นเหตุให้ท่านเรียกชื่อว่า ย่อม
กล่าวว่า แนะท่าน ! ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น
ได้กล่าวว่าเห็น
ข้อว่า ตุจฺฉํ มุสา วิลปึ มีคำอธิบายว่า ข้าพเจ้าได้พูด คือได้
กล่าวพล่อย ๆ โดยเว้นจากประโยชน์แห่งคำพูด เป็นเท็จเปล่า ๆ โดยความ
ประสงค์จะลวง. ส่วนในบทภาชนะ แห่งบทนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ กล่าว
คำเป็นต้น ไว้ว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อย ๆ ดังใน ก็เพื่อแสดงเพียงเนื้อความ ด้วย
บทและพยัญชนะอย่างอื่น.
สองบทว่า ปุริเม อุปาทาย ความว่า เทียบบุคคลผู้ต้องปาราชิก
ทั้ง 3 ก่อน ๆ. คำที่เหลือ ชื่อว่าปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว
ในเบื้องต้น และเพราะมีเนื้อความชัดเจน ฉะนี้แล.

[อธิบายบทภาชนีย์]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่ทรงอุเทศไว้ตามลำดับ
บทอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ มีพระประสงค์จะทรงตั้งบทภาชนะนั้นแลในฐานเป็น
มาติกาอีก แล้วแสดงอุตริมนุสธรรมโดยพิสดาร แสดงประเภทอาบัติ เพื่อถือ
เอาใจความโดยอาการทั้งปวง จึงตรัสคำว่า ฌานนั้น ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน
เป็นอาทิ เพราะเหตุว่า ในบทภาชนีย์ในหนหลัง ได้ทรงแสดงอุตริมนุสธรรม
ไว้แต่โดยย่ออย่างนี้ว่า ฌานวิโมกข์ สมาธิสมาบัติ ญาณทัสสนะ ฯลฯ ความ

ยินดีเฉพาะในสุญญาคาร ไม่ได้ทรงยกอาบัติเป็นแบบไว้โดยพิสดาร. และ
เมื่อแสดงเนื้อความไว้แต่โดยย่อแล้ว ผู้ศึกษาทั้งหลายไม่อาจถือเอาใจความได้
โดยถี่ถ้วน.
ในคำว่า ปฐมชฺฌานํ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- อัปปมัญญา-
ฌาน มีเมตตาฌานเป็นต้นก็ดี อสุภฌานเป็นต้นก็ดี อานาปานัสสติสมาธิฌาน
ก็ดี โลกิยฌานก็ดี โลกุตรฌานก็ดี สงเคราะห์เข้าด้วยปฐมฌานเป็นต้น นั่นแล :
เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุอวดว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้วก็ดี . . .ข้าพเจ้าเข้า
จตุตถฌานแล้วก็ดี อวดว่าข้าพเจ้าเข้าเมตตาฌานก็ดี . . . ข้าพเจ้าเข้าอุเบกขา
ฌานก็ดี ข้าพเจ้าเข้าอสุภฌานแล้วก็ดี ข้าพเจ้าเข้าอานาปานัสสติสมาธิฌาน
แล้วก็ดี ข้าพเจ้าเข้าโลกิยฌานแล้ว ก็ดี ข้าพเจ้าเข้าโลกุตรฌานแล้วก็ดี พึง
ทราบว่า เป็นปาราชิกทั้งนั้น.
อริยมรรค ที่พ้นด้วยดี หรือที่พ้นจากกิเลสมีอย่างต่าง ๆ เพราะฉะนั้น
อริยมรรคนั้น จึงชื่อว่าวิโมกข์. ก็แล วิโมกข์นี้นั้น ท่านเรียกว่า สุญญต
วิโมกข์ เพราะเปล่าจากราคะ โทสะ และโมหะ, ท่านเรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์
เพราะไม่มีนิมิตด้วยนิมิต คือ ราคะ โทสะ และโมหะ, ท่านเรียกว่า อัปป-
ณิหิตวิโมกข์ เพราะไม่มีที่ตั้ง คือ ราคะ โทสะ และโมหะ. ธรรมชาติที่ชื่อว่า
สมาธิ เพราะอรรถว่า ตั้งจิตไว้เสมอ คือ ตั้งจิตไว้ในอารมณ์. ที่ชื่อว่า
สมาบัติ เพราะเป็นธรรมชาติ ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายพึงเข้า. บทที่เหลือใน
คำเหล่านี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็อริยมรรคเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในติกะเหล่านั้น ด้วยหมวด 3 แห่งวิโมกข์ และด้วยหมวด 3 แห่งสมาธิ-
ผลสมาบัติ ตรัสไว้ด้วยหมวด 3 แห่งสมาบัติ. ในบทเหล่านั้น ภิกษุถือเอา
บทอันใดอันหนึ่งเพียงบทเดียว กล่าวว่า ข้าพเจ้า มีปกติได้ธรรมนี้ ย่อมเป็น
ปาราชิกแท้.

ที่ชื่อว่า วิชชา 3 ได้แก่ บุพเพนิวาสานุสติ ทิพยจักษุ อาสวักขย-
ญาณแล. ในวิชชา 3 นั้น เมื่อภิกษุถือเอาชื่อแม้แห่งวิชชาอันหนึ่งอวดว่า-
ข้าพเจ้า มีปกติได้วิชชานี้ ย่อมเป็นปาราชิกแท้. แต่ในสังเขปอรรถกถา
ท่านกล่าวว่า เมื่อภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้ามีปกติได้วิชชาทั้งหลาย ดังนี้ก็ดี
กล่าวว่า ข้าพเจ้า มีปกติได้วิชชา 3 ดังนี้ก็ดี ย่อมเป็นปาราชิกเหมือนกัน.
มรรคภาวนา ได้กล่าวแล้วในบทภาชนะ. โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ที่
สัมปยุตด้วยมรรค เป็นโลกุตระแท้ ท่านประสงค์เอาในบทว่า มรรคภาวนา
นี้ เพราะเหตุนั้น ในมหาอรรถกถา ท่านจึงกล่าวว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุ
ผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้ามีปกติได้สติปัฏฐานที่เป็นโลกุตระ ข้าพเจ้า มีปกติได้
สัมมัปปธาน. . . อิทธิบาท . . . อินทรีย์ . . . พละ . . .โพชฌงค์. . . อริยมรรค
มีองค์ 8 ทีเป็นโลกุตระ.
ส่วนในมหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุกล่าวด้วยอำนาจ
ส่วนอันหนึ่ง ๆ อย่างนั้นว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้สติปัฏฐาน ดังนี้ก็ดี ด้วย
อำนาจธรรมอย่างหนึ่ง ๆ ในส่วนเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติ
ได้กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน ดังนี้ก็ดี เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แม้คำที่ท่าน
กล่าวไว้ในมหาปัจจรี เป็นต้นนั้น ย่อมสมกัน. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุ
ที่ท่านกล่าวหมายเอาสติปัฏฐาน ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งมรรคเหมือนกัน. แม้ใน
การทำให้แจ้งซึ่งผล ก็พึงทราบว่า เป็นปาราชิก ด้วยอำนาจแห่งผลอันหนึ่ง ๆ.
เฉพาะความละกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในหมวด 3 มีคำว่า ราคสฺส
ปหานํ เป็นต้น. ก็การละกิเลสนั้น เว้นมรรคเสียแล้ว ย่อมไม่มี, จริงอยู่ การละ
ราคะ และโทสะ ย่อมมีด้วยมรรคที่ 3, การละโมหะ ย่อมมีด้วยมรรคที่ 4 ;
เพราะเหตุนั้น จึงเป็นปาราชิก แม้แก่ภิกษุผู้กล่าวคำเป็นต้นว่า ราคะ ข้าพเจ้า

ละได้แล้ว. เฉพาะโลกุตรจิต กับสมาบัติ พระผู้มีพระภาคตรัสในหมวด 3
มีคำว่า ราคา จิตตํ วินีวรณตา เป็นอาทิ. เพราะเหตุนั้น แม้เมื่อภิกษุ
กล่าวคำเป็นต้นว่า จิตของข้าพเจ้า พรากออกจากราคะ. ก็เป็นปาราชิกเหมือน
กัน. ส่วนในบทภาชนะแห่งบทสุญญาคาร ท่านไม่ประสงค์ปาราชิก ด้วยเพียง
คำที่ไม่เนื่องด้วยฌานว่า ข้าพเจ้ายินดีเฉพาะในสุญญาคาร ; เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นไว้ว่า ข้าพเจ้า ยินดีเฉพาะในสุญญาคาร ด้วยปฐมฌาน.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุใด กล่าวเนื่องด้วยฌานว่า ข้าพเจ้า ยินดีเฉพาะใน
สุญญาคารด้วยฌานชื่อนี้ ภิกษุนี้แหละ พึงทราบว่า เป็นปาราชิก.
ก็ บรรดาวิชชา 8 ที่ตรัสไว้ในพระสูตรทั้งหลาย มีอัมพัฏฐสูตร
เป็นต้น วิชชา 5 เหล่าใด ต่างโดยวิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธี
ทิพโสต และเจโตปริยญาณ ไม่ได้มาแล้วในบทภาชนะ แห่งบทว่า ญาณํ
นี้. บรรดาวิชชา 5 เหล่านั้น เฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว ย่อมไม่เป็นวัตถุแห่ง
ปาราชิก วิชชาที่เหลือ พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก. เพราะเหตุนั้น
เมื่อภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้วิปัสสนา ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มี
ปกติได้วิปัสสนาญาณ ก็ดี ยังไม่เป็นปาราชิก. แต่พระปุสสเทวเถระ กล่าวว่า
วิชชา 4 แม้นอกจากนี้ ไม่สืบเนื่องด้วยญาณ ย่อมไม่เป็นวัตถุแห่งปาราชิก
เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นปาราชิกแม้แก่ภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติ
ได้มโนมัย, ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้อิทธิวิธี, ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้ทิพโสด
ธาตุ, ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้เจโตปริยาย. คำนั้น ถูกพวกอันเตวาสิกของ
ท่านนั้นนั่นเอง ค้านแล้วว่า ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ผู้ชำนาญในอภิธรรม ย่อม
ไม่ทราบธรรมเป็นภูมิอื่น, ขึ้นชื่อว่าอภิญญามีจตุตถฌานเป็นบาท ทั้งเป็น
มหัคคตธรรมด้วย ย่อมสำเร็จได้ด้วยฌานเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุจะ

กล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้มโนมัย, หรือว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้
มโนมยญาณ หรือจะกล่าวโดยประการตามที่ตนมุ่งจะกล่าวก็ตามที, เธอย่อม
ต้องปาราชิกเหมือนกัน. จริงอยู่ ในจตุตถปาราชิกนี้พระนิพานไม่ได้มาใน
พระบาลี แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อภิกษุ กล่าวว่า พระนิพพาน ข้าพเจ้า
บรรลุแล้ว หรือว่า พระนิพพาน ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ย่อมเป็นปาราชิก
เหมือนกัน. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า พระนิพพานเป็นโลกุตรธรรม
ซึ่งมีวัฏฏะอันปล้อนออกแล้ว.
อนึ่ง แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าแทงตลอดสัจจะ 4 (หรือว่า)
สัจจะ 4 อันข้าพเจ้าแทงตลอดแล้ว คงเป็นปาราชิกเหมือนกัน. เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่าคำว่า แทงตลอดสัจจะ เป็นคำยักเรียกมรรค. อนึ่ง ท่านกล่าว
ไว้ในวิภังค์ว่า ปฏิสัมภิทา 3 ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ฝ่าย
กามาวจรกุศล 4 ดวง ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณฝ่ายกิริยา
4 ดวง, อัตถปฏิสัมภิทา ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทเหล่านี้ด้วย ย่อมเกิดขึ้น
ในมรรค 4 ผล 4 ด้วย* เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าเป็น
ผู้มีปกติได้ธัมมปฏิสัมภิทา หรือว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้นิรุตติปฏิสัมภิทา
หรือว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หรือว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มี
ปกติได้โลกิยอัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้ ยังไม่เป็นปาราชิก. แม้เมื่อภิกษุกล่าวคำว่า
ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย อาบัติยังไม่ถึงที่สุดก่อน แต่เมื่อ
เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้มีปกติได้โลกุตรอัตถปฏิสัมภิทา ย่อมเป็นปาราชิก.
ส่วนในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุกล่าวแม้ด้วยความ
ไม่แปลกกันว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้ได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ก็เป็นปาราชิก. แม้
ในกุรุนที ท่านก็กล่าวว่า ย่อมไม่พ้น. แค่ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า
//* อภิ . วิ . 35/414 -415.

ปาราชิก ย่อมไม่มีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อาบัติยังไม่ถึงที่สุดด้วยเหตุเพียงเท่านี้,
ใคร ๆ ไม่อาจทำอรรถกถาอื่นให้เป็นประมาณได้ เพราะท่านได้วิจารณ์ไว้แล้ว
ว่า ภิกษุยังไม่ต้องปาราชิก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ . แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้า
เข้านิโรธสมาบัติ หรือว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้นิโรธสมาบัตินั้น ก็ไม่เป็น
ปาราชิก. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า นิโรธสมาบัติไม่ใช่โลกิยะ ทั้งไม่ใช่
โลกุตระ ฉะนั้นแล.
ในมหาปัจจรีและสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ถ้าบุคคลนั้นมี
ความรำพึงอย่างนี้ว่า พระอนาคามี หรือพระขีณาสพ ย่อมเข้านิโรธได้, จึง
พยากรณ์ด้วยทำไว้ในใจว่า ชนจักรู้เราว่าเป็นผู้ใดผู้หนึ่ง แห่งบรรดาพระ
อนาคามี และพระขีณาสพเหล่านั้น. และเขาก็เข้าใจเธออย่างนั้น, เป็นปาราชิก.
คำนั้น ควรพิจารณาเสียก่อน จึงถือเอา. แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า ในภพที่ล่วง
ไปแล้ว คือ ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นพระโสดาบัน,
ไม่เป็นปาราชิก, จริงอยู่ อาบัติยังไม่ถึงที่สุด เพราะเธออ้างถึงขันธ์ที่ล่วงไป
แล้วแล
ส่วนในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า บางอาจารย์กล่าวว่า เมื่อ
ภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้สมาบัติ 8 ในอดีต ; ไม่เป็นปาราชิก
เพราะสมาบัติ 8 ในอดีตเป็นกุปธรรม, แต่เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติ
ได้สมาบัติ 8 ในภพนี้ ดังนี้. ย่อมเป็นปาราชิก เพราะสมาบัติ 8 ในภพนี้
เป็นอกุปธรรม. แม้คำที่กล่าวไว้ในสังเขปอรรถกถานั้น ท่านก็ค้านไว้ในสังเขป
อรรถกถานั้นนั่นเอง เมื่อภิกษุกล่าวหมายเอาอัตภาพในอดีต ไม่เป็นปาราชิก
ต่อเมื่อกล่าวหมายเอาอัตภาพในปัจจุบันนั่นแหละ จึงเป็น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังบทมาติกา 10 มีฌานเป็นต้นให้
พิสดาร อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ภิกษุผู้อวดอุตริมนุสธรรม ย่อมกล่าวสัมปชาน

มุสาวาทใด, เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งสัมปชานมุสาวาทนั้นแล้ว ผูกจักรเปยยาล
ด้วยอำนาจแห่งความพิสดารนั้นนั่นเอง และเพื่อแสดงอาการแห่งการอวด และ
ประเภทแห่งอาบัติ จึงตรัสว่า ตีหากาเรหิ ดังนี้ เป็นอาทิ.

[กถาว่าด้วยสุทธิกมหาวาร]


ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- มหาวาร 3 คือ สุทธิกวาร
(วารกำหนด้วยการอวดล้วน) 1 วัตตุกามวาร (วารกำหนดด้วยภิกษุผู้
ประสงค์จะอวด) 1 ปัจจัยปฏิสังยุตตวาร (วารกำหนดด้วยการอวดอันเกี่ยว
ด้วยปัจจัย) 1 บรรดามหาวาร 3 เหล่านั้น ในสุทธิกวาร 6 บทเหล่านี้ คือ
สมาปชฺชึ สมาปชฺชามิ สมาปนฺโน ลาภิมฺหิ วสิมฺหิ สจฺฉิกตํ มยา
ทรงประกอบบทอันหนึ่ง ๆ 5 ครั้ง อย่างนี้ว่า ด้วยอาการ 3 ด้วยอาการ 4
ด้วยอาการ 5 ด้วยอาการ 6 ด้วยอาการ 7 ในบทอันหนึ่ง ๆ ตั้งต้นแต่
ปฐมฌาน จนถึงบทว่า เปลื้องจิตจากโมหะ ตรัสชื่อว่า สุทธิกนัย. ลำดับนั้น
เมื่อทรงต่อบทอันหนึ่ง ๆ กับด้วยปฐมฌาน อย่างนี้ว่า ซึ่งปฐมฌาน ซึ่ง
ทุติยฌาน ดังนี้ ทรงต่อทุก ๆ บท ตรัสชื่อว่า ขัณฑจักร โดยอรรถอันพิสดาร
นั้นเทียว. อธิบายว่า ขัณฑจักรนั้น ตรัสว่าขัณฑจักร เพราะไม่ทรงนำมา
ประกอบกับฌานมีปฐมฌานเป็นต้นอีก. ลำดับนั้น ทรงต่อบทอันหนึ่ง ๆ กับ
ด้วยทุติยฌาน อย่างนี้ว่า ซึ่งทุติยฌาน ซึ่งตติยฌาน ดังนี้ แล้วทรงนำมา
เชื่อมกับปฐมฌานอีก ตรัสชื่อว่าพัทธจักร โดยอรรถอันพิสดารนั้นเทียว.
ลำดับนั้น ทรงต่อบทอันหนึ่ง ๆ กับด้วยฌาน มีตติยฌานเป็นต้น อย่างเดียว
กับต่อบทหนึ่งๆ กับทุติฌาน แล้วทรงนำมาเชื่อมกับฌานมีทุติยฌานเป็นต้น
อีก ตรัสพัทธจักร 29 แม้อื่น โดยอรรถอันพิสดารนั้นเทียว ให้สำเร็จเป็น
เอกมูลกนัยแล้ว