เมนู

สองบทว่า เอวํ วเทยฺย แปลว่า พึงกล่าวอย่างนี้. ถามว่า พึงกล่าว
อย่างไร ? แก้ว่า พึงกล่าวว่า แน่ะท่าน! ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้
ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น. ส่วนในบทภาชนะ ท่านพระอุบาลีเถระมิได้
ยกบทว่า เอวํ วเทยฺย นี้ขึ้นเลย ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรม
เหล่านั้น ดังนี้ เพื่อแสดงอาการที่ภิกษุผู้กล่าวเป็นเหตุให้ท่านเรียกชื่อว่า ย่อม
กล่าวว่า แนะท่าน ! ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น
ได้กล่าวว่าเห็น
ข้อว่า ตุจฺฉํ มุสา วิลปึ มีคำอธิบายว่า ข้าพเจ้าได้พูด คือได้
กล่าวพล่อย ๆ โดยเว้นจากประโยชน์แห่งคำพูด เป็นเท็จเปล่า ๆ โดยความ
ประสงค์จะลวง. ส่วนในบทภาชนะ แห่งบทนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ กล่าว
คำเป็นต้น ไว้ว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อย ๆ ดังใน ก็เพื่อแสดงเพียงเนื้อความ ด้วย
บทและพยัญชนะอย่างอื่น.
สองบทว่า ปุริเม อุปาทาย ความว่า เทียบบุคคลผู้ต้องปาราชิก
ทั้ง 3 ก่อน ๆ. คำที่เหลือ ชื่อว่าปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว
ในเบื้องต้น และเพราะมีเนื้อความชัดเจน ฉะนี้แล.

[อธิบายบทภาชนีย์]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่ทรงอุเทศไว้ตามลำดับ
บทอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ มีพระประสงค์จะทรงตั้งบทภาชนะนั้นแลในฐานเป็น
มาติกาอีก แล้วแสดงอุตริมนุสธรรมโดยพิสดาร แสดงประเภทอาบัติ เพื่อถือ
เอาใจความโดยอาการทั้งปวง จึงตรัสคำว่า ฌานนั้น ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน
เป็นอาทิ เพราะเหตุว่า ในบทภาชนีย์ในหนหลัง ได้ทรงแสดงอุตริมนุสธรรม
ไว้แต่โดยย่ออย่างนี้ว่า ฌานวิโมกข์ สมาธิสมาบัติ ญาณทัสสนะ ฯลฯ ความ