เมนู

[เรื่องสอบสวนดูปฏิปทาของภิกษุผู้อ้างตนว่าได้บรรลุธรรม]


ส่วนอาคมนปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นเหตุมาแห่งมรรค) ของภิกษุนี้
ควรสอบสวนให้ขาวสะอาด. ถ้าอาคมนปฏิปทา ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย
ควรกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า โลกุตรธรรม ท่านจะไม่ได้ด้วยปฏิปทานี้ แล้วนำเธอ
ออกไปเสีย. แต่อาคมนปฏิปทาของภิกษุนั้นบริสุทธิ์ ถ้าภิกษุ* นั้นปรากฏใน
ปฏิปทานั้นว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในไตรสิกขา ทั้งหมั่นประกอบธรรมเป็นเครื่อง
ตื่นอยู่ ตลอดราตรีนาน ไม่ข้องอยู่ในปัจจัยทั้ง 4 อยู่ ด้วยใจเสมอด้วยฝ่ายมือ
ในอากาศคำพยากรณ์ของภิกษุนั้น ย่อมเทียบเคียงกับข้อปฏิบัติได้ คือ เป็นเช่น
กับพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า น้ำแม่น้ำคงคากับน้ำแม่น้ำยมุนา เทียบเคียงกัน
ได้ เข้ากันได้ ชื่อแม้ฉันใด , ปฏิปทาที่ให้ถึงพระนิพพาน อันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น ทรงบัญญัติดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน, ทั้งพระ-
นิพพานและปฏิปทาเทียบเคียงกันได้. อีกอย่างหนึ่งแล สักการะอันใคร ๆ ไม่
ควรทำ แม้ด้วยคำพยากรณ์มีประมาณเพียงเท่านี้. เพราะเหตุไร ? เพราะว่า
แม้ภิกษุผู้เป็นปุถุชนบางรูป ก็มีปฏิปทาเป็นเหมือนข้อปฏิบัติของพระขีณาสพ.
เพราะฉะนั้น ภิกษุรูปนั้น อันใครๆ พึงทำให้หวาดสะดุ้งได้ด้วยอุบายนั้น ๆ.
ธรรมดาพระขีณาสพ แม้เมื่ออสนีบาต ผ่าลงมาบนกระหม่อม ก็หามีความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง หรือขนพองสยองเกล้าไม่. ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้ง
ก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น, เธออันภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าว
เตือนว่า ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ แล้วพึงนำออกเสีย. แต่ถ้าภิกษุนั้น
เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาดเสียว เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ย่อมนั่งนิ่ง เหมือนราชสีห์
ฉะนั้น, ภิกษุนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีการพยากรณ์อย่างสมบูรณ์ ย่อมควรรับสักการะ
ที่พระราชาและราชมหาอำมาตย์เป็นต้น ส่งไปถวายโดยรอบ ฉะนี้แล.
//* แปลตามสารัตถทีปนี 2/441.

บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ปรารถนา
ลามก ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุบางรูปในศาสนานี้
เป็นผู้ทุศีลแล ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศีล1 ดังนี้.
บทว่า อิจฺฉาปกโต ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นปาราชิก ถูกความปรารถนา
ลามกนั้นครอบงำ คือย่ำยี.
บทว่า วิสุทธฺาเปกฺโข ได้แก่ ผู้มุ่ง คือต้องการ ปรารถนาความ
บริสุทธิ์เพื่อตน. จริงอยู่ เพราะเหตุที่ภิกษุนี้ ต้องปาราชิกแล้ว ; ฉะนั้นเธอ
ยังดำรงอยู่ในความเป็นภิกษุ เป็นผู้ไม่ควร เพื่อบรรลุคุณธรรมมีฌานเป็นต้น.
แท้จริง ความเป็นภิกษุของเธอ ย่อมเป็นอันตรายต่อสวรรค์ด้วย เป็นอันตราย
ต่อมรรคด้วย. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า คุณเครื่อง
เป็นสมณะ ที่บุคคลลูบคลำไม่ดี ย่อมฉุดคร่าเขาไปในนรก.2 แม้พระดำรัส
อื่นอีกก็ตรัสว่า เพราะว่า สมณธรรมเครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน ยิ่งเกลี่ยธุลีลง3
ดังนี้ ความเป็นภิกษุของเธอ ย่อมชื่อว่าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉะนี้แล.
อนึ่ง ภิกษุผู้ต้องปาราชิกนั้น (ละภิกษุภาวะ) เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็น
อุบาสก เป็นอารามิกะ หรือเป็นสามเณร ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อยังทางสวรรค์
ให้สำเร็จ ด้วยคุณธรรมทั้งหลาย มี ทาน สรณะ ศีล และสังวรเป็นต้น หรือ
ยังทางพระนิพพานให้สำเร็จ ด้วยคุณธรรมทั้งหลาย มีฌานและวิโมกข์เป็นต้น;
เพราะเหตุนั้น ความเป็นคฤหัสถ์เป็นต้นของเธอ จึงชื่อว่าเป็นความบริสุทธิ์.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกเธอว่า ผู้มุ่งความบริสุทธิ์
เพราะเพ่งถึงความบริสุทธิ์นั้น. ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า
วิสุทฺธาเปกฺโข นั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ประสงค์จะ
เป็นคฤหัสถ์.
//1. อภิ. วิ. 35/ 473. 2 - 3. ขุ. ธ. 25 / 65.

สองบทว่า เอวํ วเทยฺย แปลว่า พึงกล่าวอย่างนี้. ถามว่า พึงกล่าว
อย่างไร ? แก้ว่า พึงกล่าวว่า แน่ะท่าน! ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้
ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น. ส่วนในบทภาชนะ ท่านพระอุบาลีเถระมิได้
ยกบทว่า เอวํ วเทยฺย นี้ขึ้นเลย ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรม
เหล่านั้น ดังนี้ เพื่อแสดงอาการที่ภิกษุผู้กล่าวเป็นเหตุให้ท่านเรียกชื่อว่า ย่อม
กล่าวว่า แนะท่าน ! ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น
ได้กล่าวว่าเห็น
ข้อว่า ตุจฺฉํ มุสา วิลปึ มีคำอธิบายว่า ข้าพเจ้าได้พูด คือได้
กล่าวพล่อย ๆ โดยเว้นจากประโยชน์แห่งคำพูด เป็นเท็จเปล่า ๆ โดยความ
ประสงค์จะลวง. ส่วนในบทภาชนะ แห่งบทนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ กล่าว
คำเป็นต้น ไว้ว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อย ๆ ดังใน ก็เพื่อแสดงเพียงเนื้อความ ด้วย
บทและพยัญชนะอย่างอื่น.
สองบทว่า ปุริเม อุปาทาย ความว่า เทียบบุคคลผู้ต้องปาราชิก
ทั้ง 3 ก่อน ๆ. คำที่เหลือ ชื่อว่าปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว
ในเบื้องต้น และเพราะมีเนื้อความชัดเจน ฉะนี้แล.

[อธิบายบทภาชนีย์]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่ทรงอุเทศไว้ตามลำดับ
บทอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ มีพระประสงค์จะทรงตั้งบทภาชนะนั้นแลในฐานเป็น
มาติกาอีก แล้วแสดงอุตริมนุสธรรมโดยพิสดาร แสดงประเภทอาบัติ เพื่อถือ
เอาใจความโดยอาการทั้งปวง จึงตรัสคำว่า ฌานนั้น ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน
เป็นอาทิ เพราะเหตุว่า ในบทภาชนีย์ในหนหลัง ได้ทรงแสดงอุตริมนุสธรรม
ไว้แต่โดยย่ออย่างนี้ว่า ฌานวิโมกข์ สมาธิสมาบัติ ญาณทัสสนะ ฯลฯ ความ