เมนู

ได้เสวยทุกข์มีประการดังกล่าวแล้วในสัมปรายภพ เพราะเธอบริโภคก้อนข้าว
ของชาวแว่นแคว้น ซึ่งตนได้มาแล้วด้วยอาการอย่างนั้น. จริงอยู่ อาชีพนี้
จัดเป็นมิจฉาชีพขั้นสุดยอด.

[ปฐมบัญญัติจตุตถปาราชิก]


ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโทษแก่พวกภิกษุผู้ไม่
เห็นโทษในการกระทำความชั่วอย่างนั้นแล้ว จึงทรงติเตียนพวกภิกษุผู้อยู่ริมฝั่ง
แน่น้ำวัคคุมุทา โดยอเนกปริยาย แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ความ
เป็นผู้บำรุงยาก ฯลฯ แล้วทรงรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็แล พวกเธอ
พึงแสดงสิกขาบทนี้ขึ้นอย่างนี้ . . . ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติจตุตถปาราชิก
จึงตรัสว่า โย ปน ภิกฺขุ อนภิชานํ เป็นอาทิ แปลว่า อนึ่ง ภิกษุใด
ไม่รู้เฉพาะ ดังนี้ เป็นต้น.

[อนุบัญญัติจตุตถปาราชิก]


ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติจตุตถปาราชิก ทำให้หนัก-
แน่นขึ้นด้วยอำนาจความขาดมูลอย่างนั้นแล้ว เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุแม้อื่นอีก
ก็เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เพื่อแสดงความเกิดขึ้นแห่งเรื่องสำคัญ
ว่าได้บรรลุนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึงได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ก็
สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย
ด้วยประการอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อทิฏฺเฐ ทิฏฺฐสญฺญิโน ความว่า
(ภิกษุทั้งหลาย) เป็นผู้มีความสำคัญในพระอรหัตผล อันตนมิได้เห็นด้วย
ญาณจักษุเลยว่าได้เห็น ด้วยคำว่า พระอรหัตผล อันเราทั้งหลายเห็นแล้ว.
ในพระอรหัตผลที่ตน ยังมิได้ถึงเป็นต้น ก็นัยนี้. แต่มีความแปลกกันดังต่อไปนี้:-

บทว่า อปฺปตฺเต ความว่า ที่ตนยังมิได้ถึง ด้วยอำนาจความเกิดขึ้น
ในสันดานของตน.
บทว่า อนธิคเต ได้แก่ ที่ตนยังมิได้บรรลุ ด้วยมรรคภาวนา. ความว่า
อันตนยังไม่ได้ บ้าง.
บทว่า อสจฺฉิกเต ได้แก่ ที่ตนยังมิได้แทงตลอด หรือยังมิได้ทำ
ให้ประจักษ์ ด้วยอำนาจการพิจารณา.
บทว่า อธิมาเนน ได้แก่ ด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุ. อธิบายว่า
ด้วยความสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราได้บรรลุแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ความว่า
ด้วยความถือตัวยิ่ง คือ ด้วยมานะที่แข็งกระด้าง.
สองบทว่า อญฺญํ พฺยากรึสุ ความว่า ได้พยากรณ์พระอรหัตผล
คือ ได้บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ! พวกเราได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว
กิจที่ควรทำ พวกเราได้ทำเสร็จแล้ว. เพราะยังละกิเลสไม่ได้ด้วยมรรค จิต
ของเธอเหล่านั้น ผู้ข่มกิเลสไว้ได้ ด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนาอย่างเดียว
โดยสมัยต่อมา คือ ในเวลาประกอบพร้อมด้วยปัจจัยเห็นปานนั้น ย่อมน้อมไป
เพื่อความกำหนัดบ้าง อธิบายว่า ย่อมน้อมไปเพื่อต้องการความกำหนัด. ใน
บททั้งหลายนอกนี้ ก็นัยนี้ .
ข้อว่า ตญฺจ โข เอตํ อพฺโพหาริกํ มีความว่า ก็แล การ
พยากรณ์ พระอรหัตนี้นั้น ของเธอเหล่านั้น เป็นอัพโพหาริกยังไม่ถึงโวหาร
ในการเป็นเหตุให้บัญญัติอาบัติ, อธิบายว่า ยังไม่เป็นองค์แห่งอาบัติ.
ถามว่า ก็ ความสำคัญว่าได้บรรลุนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ใคร ? ไม่เกิด
ขึ้นแก่ใคร ?

แก้ว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกก่อน. จริงอยู่ พระอริยสาวก
นั้น มีโสมนัสเกิดขึ้นแล้วด้วยญาณเป็นเครื่องพิจารณา มรรค ผล นิพพาน
กิเลสที่ละได้แล้ว และกิเลสที่ยังเหลือ เป็นผู้ไม่มีความสงสัยในการแทงตลอด
อริยคุณ ; เพราะเหตุนั้น มานะ (ความถือตัว) จึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวก
ทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น ด้วยอำนาจความถือว่า เราเป็นพระสกทาคามี
เป็นต้น. และไม่เกิดขึ้นแม้แก่บุคคลผู้ทุศีล. เพราะว่า บุคคลผู้ทุศีลนั้น เป็น
ผู้หมดความหวังในการบรรลุ อริยคุณทีเดียว. ทั้งไม่เกิดขึ้นแม้แก่ผู้มีศีล ซึ่งสละ
กรรมฐานเสีย แล้วตามประกอบเหตุแห่งความเกียจคร้าน มีความเป็นผู้ยินดี
ในความหลับนอนเป็นต้น. แต่จะเกิดขึ้นแก่ท่านผู้เริ่มเจริญวิปัสสนา มีศีล
บริสุทธิ์ดี ไม่ประมาทในกรรมฐาน ข้ามพ้นความสงสัยแล้ว เพราะกำหนดนาม
รูป จับปัจจัยได้ ยกไตรลักษณ์ขึ้นพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่. และความ
สำคัญว่าได้บรรลุเกิดขึ้นแล้ว ย่อมพักบุคคล ผู้ได้สมถะล้วน ๆ หรือผู้ได้วิปัสสนา
ล้วน ๆ เสียในกลางคัน. จริงอยู่ บุคคลนั้น เมื่อไม่เห็นความฟุ้งขึ้นแห่งกิเลส
ตลอด 10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 30 ปีบ้าง ย่อมเข้าใจว่า เราเป็นพระโสดาบัน
หรือว่า เราเป็นพระสาทกคามี หรือว่า เราเป็นพระอนาคามี. แต่ความสำคัญ
ว่าได้บรรลุนั้น ย่อมตั้งบุคคลผู้ได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนาไว้ ในพระอรหัตผล
ทีเดียว. จริงอยู่ บุคคลนั้นข่มกิเลสทั้งหลายได้ด้วยกำลังสมาธิ กำหนดสังขาร
ทั้งหลายได้ดีด้วยกำลังวิปัสสนา; เพราะฉะนั้น กิเลสทั้งหลายจึงไม่ฟุ้งขึ้นตลอด
60 ปีบ้าง 80 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง, ความเที่ยวไปแห่งจิต เป็นเหมือนของ
พระขีณาสพฉะนั้น. บุคคลนั้น เมื่อไม่เห็น ความฟุ้งขึ้นแห่งกิเลสตลอดราตรี
นานด้วยอาการอย่างนั้น ไม่หยุดในกลางคันเลย จึงสำคัญว่า เราเป็นพระ-
อรหันต์ ฉะนี้แล.

บทว่า อนภิชานํ ได้แก่ ไม่รู้เฉพาะ. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุนี้ ไม่รู้
จริง กล่าวอวดอยู่, อุตริมนุสธรรมนั้น ไม่เกิดขึ้นในสันดานของเธอ ทั้งเธอ
ก็มิได้ทำให้แจ้งด้วยญาณ จึงชื่อว่าไม่มีจริง; เพราะฉะนั้น ในวาระแจกบท
ว่า อนภิชานํ นั้น ท่านพระอุบาลีกล่าวว่า (อุตริมนุสธรรม) ไม่มีจริง ไม่
เป็นจริงหาไม่ได้แล้ว จึงกล่าวว่า (ภิกษุ) ไม่รู้อยู่ ดังนี้.
บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ แปลว่า ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่งคือ
ท่านผู้ได้ฌาน และพระอริยเจ้าทั้งหลาย.
บทว่า อตฺตูปนายิกํ มีอรรถวิเคราะห์ว่า ภิกษุย่อมน้อมอุตริมนุส-
ธรรมนั้นเข้ามาในตน หรือว่า ย่อมน้อมตนเข้าไปในอุตริมนุสธรรมนั้น ;
เพราะเหตุนั้น อุตริมนุสธรรมนั้นจึงชื่อว่า อัตตูปนายิกะ. (ภิกษุกล่าวอวด)
อุตริมนุสธรรมนั้น เป็นที่น้อมเข้ามาในตน หรือว่าเป็นที่น้อมตนเข้าไปหา.
เชื่อมความว่า ภิกษุทำอย่างนี้กล่าวอวด แต่ในวาระแจกบท เพราะเหตุที่ท่าน
พระอุบาลีกล่าวธรรมหลายประการ มีฌานเป็นต้นไว้ อย่างนี้ว่า ฌาน วิโมกข์
สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ ฯลฯ ( การยังมรรคให้เจริญ การทำให้แจ้งซึ่งผล
การละกิเลส ความที่จิตปราศจากนิวรณ์ ) ความยินดียิ่งในเรือนว่างเปล่า ชื่อ
ว่าอุตริมนุสธรรม. ดังนี้ ; เพราะฉะนั้น เมื่อท่านจะแสดงความที่ อุตริมนุส-
ธรรมนั้น เป็นธรรมที่น้อมเข้ามาในตน ด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
จึงได้กระทำนิเทศเป็นพหุวจนะว่า ภิกษุย่อมน้อมกุศลธรรมเหล่านั้นมาใน
ตน, ก็ดี. ในบรรดาการน้อม 2 อย่างนั้น เมื่อภิกษุอวดว่า ธรรมเหล่านี้
ย่อมปรากฏในข้าพเจ้า พึงทราบว่า ชื่อว่า น้อม (ธรรมเหล่านั้น) เข้ามาใน
ตน. เมื่ออวดว่า ข้าพเจ้า ย่อมปรากฏในธรรมเหล่านี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
น้อมตนเข้าไปในธรรมเหล่านั้น.

พึงทราบความเชื่อมอรรถแห่งบทในคำว่า อลมริยญาณทสฺสนํ นี้
อย่างนี้ คือ ปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถ
ว่ารู้, ชื่อว่า ทัสสนะ เพราะอรรถว่า เห็น เพราะกระทำซึ่งธรรมให้เป็นประดุจ
เห็นด้วยจักษุ ; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณทัสสนะ. ญาณทัสสนะ อย่างประเสริฐ
คือ อย่างบริสุทธิ์อย่างสูงสุด; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อริยญาณทัสสนะ.
ญาณทัสสนะอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ คือ แกล้วกล้า สามารถกำจัดกิเลส
มีอยู่ในอุตริมนุสธรรมต่างประเภท มีฌานเป็นต้นนี้ หรือว่าญาณทัสสนะอย่าง
ประเสริฐ อย่างสามารถ เป็นของแห่งอุตริมนุสธรรมนั้น; เพราะเหตุนั้น
อุตริมนุสธรรมนั้น จึงชื่อว่า มีความรู้เห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ. ภิกษุ
ไม่รู้จริง กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันมีความรู้เห็นอย่างประเสริฐ อย่าง
สามารถนั้น.
ในบทภาชนะนั้น อุตริมนุสธรรมนั้น ท่านเรียกว่า อลมริยญาณ-
ทัสสนา ด้วยญาณทัสสนะใด, เพื่อแสดงญาณทัสสนะนั้นนั่นแล ท่านพระ
อุบาลีจึงกล่าวบทภาชนะ ด้วยวิชชาเป็นใหญ่ว่า ญาณ นั้น ได้แก่ วิชชา 3.
ทัสสนะ นั้น คือ ญาณอันใด ทัสสนะก็อันนั้น ทัสสนะอันใด ญาณก็อัน
นั้น. แต่ในบทว่า ญาณํ นี้ ปัญญาแม้ทั้งหมดที่เป็นมหัคคตและโลกุตระ พึง
ทราบว่า ญาณ.
บทว่า สมุทาจเรยฺย ความว่า พึงอวดอุตริมนุสธรรม มีประการ
ดังกล่าวแล้ว ทำให้น้อมเข้ามาในตน. ส่วนบทว่า อิตฺถิยา วา เป็นต้น ชี้
ถึงบุคคลที่ภิกษุจะพึงอวด. จริงอยู่ เมื่ออวดอุตริมนุสธรรมแก่บุคคลเหล่านี้ ย่อม
เป็นอันอวด. เมื่ออวดแก่เทวดา มาร พรหมหรือแม้แก่เปรต ยักษ์ และ
สัตว์ดิรัจฉาน หาเป็นอันอวดไม่ แล.

คำว่า อิติ ชานามิ อิติ ปสฺสามิ นี้ แสดงอาการอวด. แต่ใน
บทภาชนะแห่งบทว่า อิติ ชานามิ อิติ ปสฺสามิ นั้น คำว่าข้าพเจ้ารู้
ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเห็นธรรมเหล่านี้ นี้ แสดงถึงความเป็นไปแห่งความรู้
และความเห็น ในธรรมมีฌานเป็นต้นเหล่านั้น. คำว่า และธรรมเหล่านี้ มี
แก่ข้าพเจ้า เป็นต้น แสดงความน้อมเข้ามาในตน.
คำว่า โดยสมัยอื่นแต่สมัยนั้น นี้ แสดงถึงสมัยที่ปฏิญญาว่าเป็นอาบัติ.
แต่ภิกษุนี้ต้องปาราชิกในขณะที่อวดทีเดียว. และเธอต้องอาบัติแล้ว ถูกภิกษุ
อื่นโจทก็ตาม ไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมปฏิญญา; เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เธออันผู้ใดผู้หนึ่ง เชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม.

[เหตุที่ให้เชื่อถือมีฐานะ 6 อย่าง]


บรรดาความเชื่อ และไม่เชื่อ นั้น ในความเชื่อ พึงทราบวินิจฉัยก่อน
คือ :-
1. ข้อว่า ท่านได้บรรลุอะไร. ? คือ เป็นคำถามถึงธรรมที่ได้บรรลุ.
มีคำอธิบายว่า บรรดาคุณธรรมมีฌานและวิโมกข์เป็นต้น หรือบรรดามรรค
มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ท่านได้บรรลุอะไร ?
2. ข้อว่า ท่านได้บรรลุด้วยวิธีอะไร ? คือ เป็นคำถามถึงอุบาย.
ความจริงในข้อนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ คือ ท่านทำอนิจจลักษณะให้เป็นธุระ
แล้วจึงได้บรรลุ ? หรือท่านทำบรรดาทุกขลักษณะแลอนัตตลักษณะ อย่างใด
อย่างหนึ่งให้เป็นธุระแล้ว จึงได้บรรลุ ? ท่านตั้งมั่นแล้วด้วยอำนาจสมาธิ หรือ
ตั้งมั่นแล้วด้วยอำนาจวิปัสสนาจึงได้บรรลุ ? อนึ่ง ท่านตั้งมั่นแล้วในรูปธรรม
หรือตั้งมั่นแล้วในอรูปธรรม จึงได้บรรลุ ? ท่านตั้งมั่นแล้วในกายเป็นภายใน
หรือตั้งมั่นแล้วในกายเป็นภายนอก จึงได้บรรลุ. ?