เมนู

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า เป็นโจรเล่า?.
แก้ว่า เพราะว่าภิกษุนี้ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมนั้นแล้ว ถือเอา
ปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะการอวดคุณที่ไม่มีอยู่ ; เพราะเหตุนั้น ปัจจัยเหล่านั้น
ย่อมเป็นอันเธอผู้ถือเอา (ด้วยการอวดธรรมที่ไม่มีอยู่) อย่างนั้น ล่อลวง คือ
ลักฉ้อ เอาด้วยอุบายอันสุขุม. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่ก้อนข้าวของชาว
แว่นแคว้น อันภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมย.
อันเนื้อความในคำว่า ตํ กิสฺส เหตุ นี้ พึงทราบดังต่อไปนี้.
เราได้กล่าวคำใดว่า ภิกษุใด กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่จริง, ภิกษุนี้-
เป็นยอดมหาโจร; ถ้าจะมีผู้โจทก์ท้วงว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? คือ เราได้
กล่าวคำนั้น ด้วยเหตุอะไร ? เราพึงเฉลยว่า เพราะเหตุที่ก้อนข้าวของชาว
แว่นแคว้น อันภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมยแล ภิกษุทั้งหลาย.
อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น เป็นอัน
ภิกษุนั้นฉันแล้ว ด้วยไถยจิต ; เพราะเหตุนั้น เราจึงได้กล่าวคำนั้น .
จริงอยู่ โว ศัพท์ ในคำว่า เถยฺยาย โว นี้ เป็นนิบาตลงใน
อรรถสักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม เหมือน โว ศัพท์ ในคำว่า เย หิ โว
อริยา อรญฺญวนปฏฺฐานิ
เป็นอาทิ แปลว่า จริงอยู่ พระอริยเจ้าทั้งหลายแล
ย่อมเสพราวไพรในป่า. เพราะเหตุนั้น ผู้ศึกษาไม่พึงเห็นเนื้อความแห่ง โว
ศัพท์นั้น อย่างนี้ว่า ตุมฺเหหิ ภุตฺโต แปลว่า อันท่านทั้งหลายฉันแล้ว ดังนี้.

[แก้อรรถนิคมคาถา]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำเนื้อความนั้นนั่นแล ให้
แจ่มแจ้งขึ้นโดยคาถา จึงตรัสพระคาถาว่า อญฺญถา สนฺตํ เป็นต้น .

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อญฺญถา สนฺตํความว่า อันมี
อยู่โดยอาการอื่น ซึ่งมีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น.
บาทคาถาว่า อญฺญถา โย ปเวทเย ความว่า ภิกษุรูปใด พึง
ประกาศด้วยอาการอย่างอื่น ซึ่งมีกายสมาจารบริสุทธิ์เป็นต้น คือให้ชนชาติอื่น
เข้าใจอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่ง โลกุตรธรรมมีอยู่ในภายในของเรา.
ก็แล ครั้นประกาศแล้ว (แสดงตน) ดุจพระอรหันต์ ฉันโภชนะที่เกิดขึ้น
เพราะการประกาศนั้น.
บทว่า นิกจฺจ ในสองบาทคาถาว่า นิกจฺจ กิตวสฺเสว ภุตฺตํ
เถยฺเยน ตสฺส ตํ
นี้ แปลว่า ล่อลวง คือ แสดงตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น
ด้วยอาการอย่างอื่น ได้แก่ แสดงตนซึ่งไม่ใช่พุ่มไม้ และไม่ใช่กอไม้เลย
ให้เป็นเหมือนพุ่มไม้และให้เหมือนกอไม้ เพราะเอากิ่งไม้ ใบไม้ และใบอ่อน
เป็นต้น ปิดบังไว้.
บทว่า กิตวสฺเสว ความว่า ดุจพรานนก ผู้ลวง คือ หลอกจับนก
ตัวที่มาแล้ว ๆ ในป่า ด้วยมีความสำคัญว่า เป็นพุ่มไม้และกอไม้แล้วเลี้ยงชีวิต
ฉะนั้น.
บาทคาถาว่า ภุตฺตํ เถยฺเยน ตสฺส ตํความว่า เมื่อภิกษุแม้นั้น
ผู้ไม่ใช่พระอรหันต์เลย แสดงว่าเป็นพระอรหันต์ ฉันโภชนะที่ตนได้มา,
โภชนะที่เธอฉัน ชื่อว่าเป็นอันเธอฉันแล้ว ด้วยความเป็นขโมย เพราะเธอ
ฉันโภชนะที่ตนล่อลวงมนุษย์ทั้งหลายแล้วได้มา เปรียบเหมือนนายพรานนกผู้
มีเครื่องปกปิด ล่อ คือ ลวงจับนก ฉะนั้น. ก็ภิกษุเหล่าใด เมื่อไม่รู้อำนาจ
แห่งประโยชน์นี้ ย่อมฉันด้วยอาการอย่างนั้น, ภิกษุเป็นอันมาก เมื่อผ้ากาสาวะ
พันคอ มีธรรมเลวทรามไม่สำรวมแล้ว, ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้นย่อมเข้าถึง
ซึ่งนรก เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม.

บทว่า กาสาวกณฺฐา ได้แก่ ผู้มีคอที่พันด้วยผ้ากาสาวะ. มีคำ
อธิบายว่า คุณเครื่องเป็นสมณะ คือ พระอรหัตผล ย่อมไม่มีแก่บุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้น มีแต่การทรงไว้ซึ่งธงชัยแห่งพระอริยะเพียงนี้เท่านั้น. คำว่า
ผู้มีผ้ากาสาวะพันคอ นี้ เป็นชื่อแห่งบรรพชิตผู้ทุศีล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ! ก็แล โคตรภูสงฆ์ทั้งหลาย ผู้มีผ้ากาสาวะ
พันคอ จักมีในกาลอนาคต.
บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ผู้มีธรรมลามก.
บทว่า อสญฺญตา ได้แก่ ผู้ไม่สำรวมทางกายเป็นต้น .
บทว่า ปาปา ได้แก่ บุคคลลามก.
สองบทว่า ปาเปหิ กมฺเมหิ ความว่า เพราะกรรมที่เลวทราม
ทั้งหลาย มีการล่อลวงผู้อื่นเป็นต้นเหล่านั้น อันตนทำแล้ว เพราะไม่เห็นโทษ
ในเวลากระทำ
บาทคาถาว่า นิรยนฺเต อุปปชฺชเรความว่า ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น
ย่อมเข้าถึงทุคติ ที่หมดความแช่มชื่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสพระคาถาว่า เสยฺโย อโยคุโฬเป็นต้น.
พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ถ้าบุคคลผู้ทุศีล ไม่สำรวม
ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร เป็นผู้ลวงโลกด้วยกิริยาหลอกลวงนี้ พึงบริโภค คือ พึง
กลืนกินก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ, การที่ผู้ทุศีลพึงฉันก้อนข้าวของชาว
แว่นแคว้นนี้ 1 การที่บุคคลพึงกินก้อนเหล็กแดงนี้ 1 ใน 2 อย่างนั้น ก้อน
เหล็กเทียว อันภิกษุนั้นบริโภคแล้ว พึงเป็นของประเสริฐกว่า คือ ดีกว่า
และประณีตกว่า ; เพราะว่า ภิกษุนั้นจะไม่เสวยทุกข์ซึ่งมีการกำหนดรู้ได้ยาก
แม้ด้วยสัพพัญญุตญาณ ในสัมปรายภพ เพราะบริโภคก้อนเหล็กแดง, แต่จะ

ได้เสวยทุกข์มีประการดังกล่าวแล้วในสัมปรายภพ เพราะเธอบริโภคก้อนข้าว
ของชาวแว่นแคว้น ซึ่งตนได้มาแล้วด้วยอาการอย่างนั้น. จริงอยู่ อาชีพนี้
จัดเป็นมิจฉาชีพขั้นสุดยอด.

[ปฐมบัญญัติจตุตถปาราชิก]


ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโทษแก่พวกภิกษุผู้ไม่
เห็นโทษในการกระทำความชั่วอย่างนั้นแล้ว จึงทรงติเตียนพวกภิกษุผู้อยู่ริมฝั่ง
แน่น้ำวัคคุมุทา โดยอเนกปริยาย แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ความ
เป็นผู้บำรุงยาก ฯลฯ แล้วทรงรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็แล พวกเธอ
พึงแสดงสิกขาบทนี้ขึ้นอย่างนี้ . . . ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติจตุตถปาราชิก
จึงตรัสว่า โย ปน ภิกฺขุ อนภิชานํ เป็นอาทิ แปลว่า อนึ่ง ภิกษุใด
ไม่รู้เฉพาะ ดังนี้ เป็นต้น.

[อนุบัญญัติจตุตถปาราชิก]


ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติจตุตถปาราชิก ทำให้หนัก-
แน่นขึ้นด้วยอำนาจความขาดมูลอย่างนั้นแล้ว เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุแม้อื่นอีก
ก็เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เพื่อแสดงความเกิดขึ้นแห่งเรื่องสำคัญ
ว่าได้บรรลุนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย จึงได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ก็
สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย
ด้วยประการอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อทิฏฺเฐ ทิฏฺฐสญฺญิโน ความว่า
(ภิกษุทั้งหลาย) เป็นผู้มีความสำคัญในพระอรหัตผล อันตนมิได้เห็นด้วย
ญาณจักษุเลยว่าได้เห็น ด้วยคำว่า พระอรหัตผล อันเราทั้งหลายเห็นแล้ว.
ในพระอรหัตผลที่ตน ยังมิได้ถึงเป็นต้น ก็นัยนี้. แต่มีความแปลกกันดังต่อไปนี้:-