เมนู

ได้กล่าวสรรเสริญด้วยอำนาจแห่งชื่อทีเดียว อย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อพุทธรักขิต
ได้ปฐมฌาน ชื่อธรรมรักขิต ได้ทุติยฌานดังนี้เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น ข้อว่า เอโสเยว โข อาวุโส เสยฺโย
ความว่า การช่วยอำนวยกิจการ และการนำข่าวสาส์นไปด้วยความเป็นทูต มี
ข้าศึกมาก มีการแข่งดีกันมาก ทั้งเป็นของไม่สมควรแก่สมณะ , ส่วนข้อที่พวก
เราพากันกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นั้นแล เป็นสิ่งที่
น่าสรรเสริญกว่า คือ ยอดเยี่ยมกว่าได้แก่ ดีกว่ากิจทั้งสองนั้น เป็นไหนๆ. ท่าน
กล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? กล่าวไว้ว่า ข้อที่พวกเราจักพากันกล่าวชมอุตริมนุส-
ธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ ผู้ถามถึง หรือผู้มิได้ถามถึงภิกษุผู้นั่งพัก
อิริยาบถอยู่หรือโดยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อโน้นนี้ ได้ปฐมฌาน นี้แลประ
เสริฐที่สุด.

[อธิบายศัพท์กิริยาอนาคต]


ก็ เมื่อความสัมพันธ์ด้วยกิริยาอนาคต ไม่มี ภิกษุเหล่านั้น จักกล่าว
ชมคุณนั้น ในขณะนั้นไม่ได้เลย, เพราะเหตุนั้น เนื้อความที่ท่านมิได้แต่ง
ปาฐะที่เหลือ กล่าวไว้ว่า ภาสิโต ภวิสฺสโต จึงไม่ถูก ; เพราะฉะนั้น ใน
บทว่า ภาสิโต นี้ บัณฑิตควรทำไห้มีความสัมพันธ์ด้วยกิริยาอนาคต แล้ว
พึงทราบอรรถอย่างนี้ว่า คุณอย่างใด จักเป็นสิ่งที่พวกเรากล่าวชมอย่างนั้น
คุณอย่างนั้นต้องประเสริฐที่สุด. แต่นักศึกษา ควรแสวงหาลักษณะจากคัมภีร์
ศัพทศาสตร์.
สองบทว่า วณฺณวา* อเหสุํ ความว่า วรรณะแห่งสรีระที่ใหม่เอี่ยม
อย่างอื่นนั่นแล เกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น ได้เป็นผู้มีน้ำนวล
ด้วยวรรณะนั้น
//* บาลีเป็น วณฺณวนฺโต