เมนู

ไม่เห็นธรรมเหล่านั้น อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีธรรมเหล่านั้น และข้าพเจ้าไม่เห็นชัด
ในธรรมเหล่านี้.
คำว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ ความว่า ข้าพเจ้า
พูดพล่อย ๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง พูดสิ่งที่ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้ได้พูดแล้ว.
บทว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ ยกเสียแต่เข้าใจว่าตนได้
บรรลุ.
[235] บทว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบถึงภิกษุรูป
ก่อน ๆ.
บทว่า เป็นปาราชิก ความว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะ
งอกอีก ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแหละ มีความอยากอันลามก อันความ
อยากรอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง
ย่อมไม่ เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่
พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ทาสังวาสมิได้.

บทภาชนีย์


[236] ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่ 1. ฌาน 2. วิโมกข์
3. สมาธิ 4. สมาบัติ 5. ญาณทัสสนะ 6. มรรคภาวนา 7.
การทำให้แจ้งซึ่งผล 8. กรละกิเลส 9. ความเปิดจิต 10. ความ
ยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.

ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน.
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิต
วิโมกข์.
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิต-
สมาบัติ.
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา 3.
ที่ชื่อว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิ
บาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8.
ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
การทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่ง
อรหัตผล.
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ.
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิต
จากโทสะ ความเปิดจิตจากโมหะ
ที่ชื่อว่า ความยินดีในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ความยินดียิ่ง
ในเรือนอันวางเปล่าด้วยปฐมฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วย
ทุติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน ความยินดียิ่งในเรือน
อันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน.

สุทธิกฌาน


ปฐมฌาน


[237] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ
3 อย่าง คือ 1 เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ 2 กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ
3 ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ 4
อย่างคือ 1 เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ 2 กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ 3
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว 4 อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ 5
อย่าง คือ 1 เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ 2 กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ 3
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว 4 อำพรางความเห็น 5 อำพรางความถูก
ใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ 6
อย่าง คือ 1 เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ 2 กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ 3
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว 4 อำพรางความเห็น 5 อำพรางความ
ถูกใจ 6 อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก.
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ 7
อย่าง คือ 1 เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ 2 กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ 3
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว 4 อำพรางความเห็น 5 อำพรางความถูก
ใจ 6 อำพรางความชอบใจ 7 อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก.