เมนู

สิกขาบทวิภังค์


[233] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มี
ธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง . . .ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถ-
กรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด
ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้.
บทว่า ไม่รู้เฉพาะ คือ ไม่รู้ ไม่เห็น กุศลธรรมในตน ซึ่งไม่มี
ไม่เป็นจริง ไม่ปรากฏ ว่าข้าพเจ้ามีกุศลธรรม.
บทว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
ญาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำให้แจ้งซึ่งผล การละกิเลส ความเปิดจิต
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.

บทว่า น้อมเข้ามาในตน ได้แก่ น้อมกุศลธรรมเหล่านั้นเข้ามาในตน
หรือน้อมตนเข้าไปในกุศลธรรมเหล่านั้น.
บทว่า ความรู้ ได้แก่ วิชชา 3.
บทว่า ความเห็น โดยอธิบายว่า อันใดเป็นความรู้ อันนั้นเป็น
ความเห็น อันใดเป็นความเห็น อันนั้น เป็นความรู้.
บทว่า กล่าวอวด คือ บอกแก่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต.
คำว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนั้น ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ความว่า ข้าพเจ้า
รู้ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเห็นธรรมเหล่านั้น อนึ่ง ข้าพเจ้ามีธรรมเหล่านี้ และ
ข้าพเจ้าเห็นชัดในธรรมเหล่านี้.
[234] บทว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น คือ เมื่อขณะคราวครู่หนึ่งที่
ภิกษุกล่าวอวดนั้นผ่านไปแล้ว.
บทว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตาม คือ มีบุคคลเชื่อในสิ่งที่ภิกษุ
ปฏิญาณแล้ว โดยถามว่า ท่านบรรลุอะไร ได้บรรลุด้วยวิธีไร เมื่อไร ที่ไหน
ท่านละกิเลสเหล่าไหนได้ ท่านได้ธรรมหมวดไหน.
บทว่า ไม่ถือเอาตาม คือ ไม่มีใคร ๆ พูดถึง.
บทว่า ต้องอาบัติแล้ว ความว่า ภิกษุมีความอยากอันลามก อัน
ความอยากครอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง
ย่อมเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก.
บทว่า มุ่งความหมดจด คือ ประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์ หรือประสงค์
จะเป็นอุบายสก หรือประสงค์จะเป็นอารามิก หรือประสงค์จะเป็นสามเณร.
คำว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็น
อย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น
ความว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้า

ไม่เห็นธรรมเหล่านั้น อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีธรรมเหล่านั้น และข้าพเจ้าไม่เห็นชัด
ในธรรมเหล่านี้.
คำว่า ข้าพเจ้าพูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ ความว่า ข้าพเจ้า
พูดพล่อย ๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง พูดสิ่งที่ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้ได้พูดแล้ว.
บทว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ ยกเสียแต่เข้าใจว่าตนได้
บรรลุ.
[235] บทว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบถึงภิกษุรูป
ก่อน ๆ.
บทว่า เป็นปาราชิก ความว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะ
งอกอีก ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแหละ มีความอยากอันลามก อันความ
อยากรอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง
ย่อมไม่ เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่ กรรมที่
พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ทาสังวาสมิได้.

บทภาชนีย์


[236] ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่ 1. ฌาน 2. วิโมกข์
3. สมาธิ 4. สมาบัติ 5. ญาณทัสสนะ 6. มรรคภาวนา 7.
การทำให้แจ้งซึ่งผล 8. กรละกิเลส 9. ความเปิดจิต 10. ความ
ยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.