เมนู

โดยเร็วในสนามรบขาด, ตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะ ย่อมวิ่งพล่านไป ภิกษุรูปอื่น
จึงประหารตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะนั้นให้ตกไป, ภิกษุรูปไหนเล่า เป็นปาราชิก
ดังนี้. พระเถระจำนวนครึ่ง กล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ตัดการไป.
พระโคทัตตเถระ ผู้ชำนาญพระอภิธรรม กล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
ตัดศีรษะ, ในการแสดงเนื้อความแห่งเรื่องนี้ บัณฑิตควรกล่าวเรื่องทั้งหลาย
แม้เห็นปานฉะนั้นแล.

[เรื่องภิกษุสั่งให้บุรุษด้วนดื่มเปรียงตาย]


ในเรื่องเปรียง มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อภิกษุสั่งไม่กำหนดว่าพวกท่าน
จงให้บุรุษผู้มือและเท้าด้วนนั้นดื่มเปรียง ดังนี้, เมื่อบุรุษนั้น ถูกพวกญาติ
ให้ดื่มเปรียงชนิดใดชนิดหนึ่งตายไป, ภิกษุท้องปาราชิก. แต่เมื่อภิกษุสั่ง
กำหนดไว้ว่า จงให้ดื่มเปรียงโด เปรียงกระบือเปรียงแพะ หรือสั่งไว้ว่า จง
ให้ดื่มเปรียงที่เย็น เปรียงที่ร้อน เปรียงที่รมควัน ที่ไม่ได้รมควัน เมื่อบุรุษ
นั้นถูกพวกญาติให้ดื่มเปรียงชนิดอื่น จากเปรียงที่ภิกษุสั่งไว้นั้นตายไป เป็น
ผิดสังเกต.

[เรื่องยาดองพิเศษชื่อโลณะโสจิรกะ]


ในเรื่องยาดองโลณะโสจิรกะ

มิวินิจฉัยดังนี้:- เภสัชขนานหนึ่ง
ซึ่งปรุงด้วยข้าวทุกชนิด ชื่อว่า โลณะโสจิรกะ. เมื่อเขาจะทำเภสัชขนานนั้น
เอาน้ำฝาดแห่งผลสมอ มะขามป้อม และสมอพิเภก ธัญชาติทุกชนิด
อปรัณชาติทุกชนิด ข้าวสุกแห่งธัญชาติทั้ง 7 ชนิด ผลทุกชนิดมีผลกล้วย
เป็นต้น ผลไม้ซึ่งงอกในหัวทุกชนิด มีผลแห่งหวาย การเกด และเป้งเป็นต้น
ชิ้นปลาและเนื้อ และเภสัชหลายอย่าง มีน้าผึ้ง น้ำอ้อย เกลือสินเธาว์
เกลือธรรมดา และเครื่องเผ็ดร้อน 3 ชนิดเป็นต้น แล้วใส่รวมกันลง (โนหม้อ)

ปิดฉาบไล้ปากหม้อไว้อย่างดีแล้วเก็บไว้ 1 ปี 2 ปี หรือ 3 ปี ยาโลณะโสจิรกะ
นั้น กลั่นให้มีสีเหมือนรสน้ำชมพู เป็นเครื่องบริโภคอย่างสนิท (เป็นยาแก้โรค
อย่างชะงัด) แห่งบุคคลผู้เป็นโรคลม โรคไอ โรคเรื้อน โรคผอมเหลือง
และบานทะโรคเป็นต้น และเป็นเครื่องดื่มภายหลัง แห่งบุคคลผู้รับประทาน
อาหารแล้ว. เภสัชเป็นเครื่องย่อยอาหารที่บริโภคแล้ว เช่นยาขนานนั้นย่อม
ไม่มี. ก็ยาโลณะโสจิรกะนี้นั้น ย่อมควรแก่ภิกษุทั้งหลายแม้ในปัจฉาภัต.
สำหรับภิกษุผู้อาพาธ จัดเป็นยาตามปกติทีเดียว แต่ผู้ไม่อาพาธต้องผสมกับน้ำ
จึงควร โดยความเป็นเครื่องดื่มและเครื่องบริโภคแล.
ตติยปาราชิกวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

จตุตถปาราชิกกัณฑ์


เรื่องภิกษุพวก ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา


[227] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-
ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคย
เห็นร่วมคบหากัน ๆ จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ก็แลสมัยนั้น วัชชี
ชนบท อัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย ต้องมี
สลากซื่ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำ
ไม่ได้ง่าย จึงภิกษุเหล่านั้นติดกันว่า บัดนี้วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชน
หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย คือมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พวกเราจะพึงเป็น
ผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะ
ไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยอุบายอย่างไรหนอ.
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจง
ช่วยกันอำนวยกิจการอันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์เถิด เมือเป็นเช่นนั้น
พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจักเป็นผู้
พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่
ลำบากด้วยบิณฑบาต.
ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า ไม่ควร ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไร
ด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย
ผิฉะนั้น พวกเราจงช่วยกันนำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์เถิด