เมนู

[เรื่องผีเข้าสิงภิกษุ]


ในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิง

มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ได้ให้การประหาร (แก่ภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิ่งนั้น ) ด้วยคิดว่า จักขับไล่ยักษ์ให้
หนีไป. ภิกษุนอกจากนี้ คิดว่า คราวนี้ ยักษ์นี้ ไม่สามารถจะทำพิรุธได้,
เราจักฆ่ามันเสีย ได้ให้การประหาร. และในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิงเรื่อง
แรกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีความประสงค์
จะให้ตาย เพราะเหตุนั้น ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้นั่นแล ภิกษุจึงไม่ควร
ให้การประหารแก่ภิกษุผู้ถูกผีสิง, แต่พึงเอาใบตาลหรือเส้นด้ายพระปริตรผูกไว้
ที่มือหรือเท้า. พึงสวดพระปริตรทั้งหลาย มีรัตนสูตรเป็นต้น พึงทำธรรมกถา
ว่า ท่านอย่าเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีล ดังนี้.
เรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนแล้ว. ก็คำที่พึง
กล่าวในเรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้นนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วแล.

[เรื่องภิกษุตัดต้นไม้]


เรื่องตัดต้นไม้ ก็เช่นเดียวกับเรื่องผูกร่างร้าน. แต่มีความแปลกกัน
ดังต่อไปนี้:- ภิกษุใด แม้ถูกต้นไม้ล้มทับแล้ว ยังไม่มรณภาพ และเธอ
สามารถจะตัดต้นไม้หรือขุดแผ่นดินแล้วออกไปโดยข้าง ๆ หนึ่งได้, และในมือ
ของเธอก็มีมีดและจอบ *อยู่ ภิกษุแม้นั้นควรสละชีวิตเสีย. และไม่ควรตัดต้นไม้
หรือไม่ควรขุดดิน. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุเมื่อทำอย่างนั้น ย่อม
ต้องปาจิตตีย์ ย่อมหักรานเสียซึ่งพุทธอาณา ย่อมไม่ทำศีลให้มีชีวิตเป็นทีสุด;
เพราะเหตุนั้น ถึงแม้ชีวิตก็ควรสละเสีย แต่ไม่ควรสละศีล; ครั้นภิกษุคำนวณ
ได้รอบคอบดังกล่าวมาแล้วนี้ ไม่พึงทำ (การตัดต้นไม้และขุดดิน) ด้วยอาการ
//* กธารี ผึ่งถากไม้, ขวานโยน, จอบ.

อย่างนี้. การตัดต้นไม้หรือขุดดิน แล้วนำภิกษุนั้นออก ย่อมควรแก่ภิกษุ
รูปอื่น. ถ้าเธอจะพึงถูกเขากลิ้งต้นไม้ไปด้วยครกยนต์นำออก ควรตัดเอา
ต้นไม้นั้นนั่นเอง ใช้เป็นครกแล. พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า จะตัดเอาต้นไม้
แม้อื่นก็ควร. พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ในการผูกพะอง (บันได) ช่วยคน
แม้ผู้ตกลงไปในบ่อเป็นต้นให้ขึ้นได้ก็นัยนี้เหมือนกัน, ภิกษุไม่ควรตัดภูตคาม
ทำพะองด้วยตนเอง. การทำ (พะอง) แล้วยกขึ้น ย่อมสมควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น.

[เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์เผาป่า]


ในเรื่องเผาป่า มีวินิจฉัยดังนี้:- สองบทว่า ทายํ ลิมฺเปสุํ*
ความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้จุดไฟในป่า. ก็ในเรื่องเผาป่านี้ บัณฑิตพึง
ทราบว่าเป็นปาราชิกเป็นต้น โดยสมควรแก่วัตถุแห่งปาราชิก อนันตริยกรรม
ถุลลัจจัย และปาจิตตีย์ ด้วยอำนาจประโยคที่เจาะจงและไม่เจาะจง และความ
เป็นกองอกุศล โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล, พระอรรถกถาจารย์กล่าว
ไว้ในสังเขปอรรถกถาว่า ก็เมื่อภิกษุเผาด้วยคิดว่า หญ้าสดและไม้เจ้าป่าทั้งหลาย
จงถูกไฟไหม้ เป็นปาจิตตีย์, เมื่อเผาด้วยคิดว่า เครื่องอุปกรณ์ไม้ทั้งหลาย
จงพินาศไป เป็นทุกกฏ, เมื่อเผาแม้ด้วยความประสงค์จะเล่น ก็เป็นทุกกฏ.
เมื่อเผาด้วยคิดว่า ไม้สดและไม้แห้งชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอินทรีย์และไม่มี
อินทรีย์ก็ตามจงถูกไฟไหม้ พึงทราบว่า เป็นปาราชิก ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
และทุกกฏ ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ. ก็การจุดไฟรับและทำการป้องกัน พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้ว. เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุเห็นไฟที่พวก
วนกรรมิกชนจุด หรือเกิดขึ้นเองในป่ากำลังลุกลามมา แล้วจุดไฟรับไฟซึ่งจะ
เป็นเหตุให้ไฟลุกลามมาบรรจบกันเข้าไหม้เชื้อหมดแล้วดับไป ด้วยทั้งใจว่า
กระท่อมหญ้าทั้งหลาย อย่าพินาศ ดังนี้ ย่อมควร. การที่ภิกษุจะทำแม้เครื่อง
//* บาลี เป็น อาลิมฺเปสุํ.