เมนู

จักไม่ปล้นด้วยอาการอย่างนี้ พวกท่านจงประมวลสิ่งของนั้น แม้ทั้งหมดรวม
กันเข้าแล้ว ให้ตีราคา, จงประมวลสิ่งของที่พวกโจรไม่ปล้นไป ด้วยเหตุนั้น
รวมกันเข้าแล้วให้ตีราคา (เทียบกันดู). ทรัพย์ที่พระเถระให้ไปแม้ทั้งหมด
จากทรัพย์ของสงฆ์นั้น มีราคาไม่เท่าเครื่องลาดอันวิจิตด้วยรูปภาพอันงามผืน
หนึ่งในเรือนพระเจดีย์. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ปฏิสันถารที่พระ-
เถระทำแล้ว เป็นอันทำชอบแล้ว, ใคร ๆ ไม่ได้เพื่อจะโจท หรือเพื่อทำให้
ท่านให้การ, ไม่มีสินใช้ หรืออวหาร. ปฏิสันถาร มีอานิสงส์มากอย่างนี้
ภิกษุผู้บัณฑิต กำหนดดังกล่าวมานี้แล้ว ควรทำปฏิสันถาร ฉะนั้นแล.

[เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์จี้ภิกษุสัตตรสวัคคีย์เป็นต้น]


ในเรื่องจี้ด้วยนิ้วมือ มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า อุตฺตสนฺโต ได้
แก่ ผู้เหน็ดเหนื่อย. บทว่า อนสฺสาสโก ได้แก่ ผู้หายใจออกไม่ทัน. ก็แล
อาบัติที่จะพึงมีในเรื่องนี้ ทรงแสดงไว้แล้ว ในพวกขุททกสิกขาบท, เพราะ
เหตุนั้น จึงไม่ตรัสไว้ในสิกขาบทนี้ .
ในเรื่องอันมีในลำดับแห่งเรื่องจี้ ด้วยนิ้วมือนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- บท
ว่า โอตฺถริตฺวา แปลว่า เหยียบแล้ว . ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปนั้นล้มลง
ถูกพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นฉุดลากไปอยู่. ภิกษุรูปหนึ่งขึ้นนั่งทับท้อง
ของเธอ. ภิกษุ 15 รูปแม้ที่เหลือ ก็ช่วยกันทับลงไปที่แผ่นดินจนตาย เหมือน
หินฟ้าถล่มทับมฤคตาย ฉะนั้น. ก็เพราะภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น มีความ
ประสงค์จะลงโทษ หามีความประสงค์จะฆ่าให้ตายไม่; ฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงไม่ปรับเป็นปาราชิก.

[เรื่องภิกษุฆ่ายักษ์ ต้องถุลลัจจัย]


ในเรื่องภิกษุหมอผี

มีวินิจฉัยดังนี้:- สองบทว่า ยกฺขํ มาเรสิ
ความว่า พวกอาจารย์ผู้ขับไล่ภูตผี ต้องการจะปลดเปลื้องบุคคลผู้ถูกยักษ์เข้า
สิง จึงเรียกยักษ์ให้ออกมา แล้วพูดว่า จงปล่อย, ถ้ายักษ์ไม่ปล่อย, อาจารย์
หมอผี ก็เอาแป้งหรือดินเหนียว ทำเป็นรูปหุ่นแล้วตัดอวัยวะมีเมือและเท้าเป็น
ต้นเสีย. อวัยวะใด ๆ ของรูปหุ่นนั้นขาดไป, อวัยวะนั้น ๆ ของยักษ์ ย่อมชื่อ
ว่าเป็นอันหมอผีตัดแล้วเช่นกัน. เมื่อศีรษะ (ของรูปหุ่นนั้น) ถูกตัด แม้
ยักษ์ก็ตาย. ภิกษุหมอผีแม้นั้นได้ฆ่ายักษ์ตาย ด้วยวิธีดังกล่าวมานี้. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรับเป็นถุลลัจจัย. เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้ฆ่า
ยักษ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็หาไม่. จริงอยู่ แม้ภิกษุใด พึงฆ่าท้าวสักกเทวราช
ตาย, ภิกษุแม้นั้นก็ต้องงถุลลัจจัยเหมือนกัน.

[เรื่องส่งภิกษุไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ]


ในเรื่องยักษ์ดุร้าย

มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า

วาฬยกฺขวิหารํ


ความว่า (ส่งไป) สู่วิหารที่มียักษ์ดุร้ายอยู่, จริงอยู่ ภิกษุใด เมื่อไม่ทราบ
วิหารเห็นปานนั้น จึงได้ส่ง (ภิกษุบางรูป) ไป เพื่อต้องการให้พักอยู่อย่าง
เดียว, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุใด มีความประสงค์จะไห้ตาย จึงส่งไป
ภิกษุนั้นต้องปาราชิก ในเพราะภิกษุนอกนี้ตาย ต้องถุลลัจจัย เพราะไม่ตาย.
บัณฑิตพึงทราบความต่างกัน แห่งอาบัติและอนาบัติ แม้ของภิกษุผู้ส่ง (ภิกษุ
อีกรูปหนึ่ง) ไปสู่วิหารที่ร้าย ซึ่งมีพวกมฤคมีราชสีห์และเสือโคร่งที่ดุร้ายเป็น
ต้น หรือมีทีฆชาติทั้งหลายมีงูเหลือมและงูเห่าเป็นต้นอยู่อาศัย เหมือนอย่าง
ภิกษุส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น.