เมนู

ภิกษุทั้งหลาย จงมาเพื่อเป็นบริวาร (เพื่อน) ของคนตาย, ไม่ควรไป. ภิกษุ
จะไปด้วยมุ่งกรรมฐานเป็นหลักว่า เราจักกลับได้มรณสติ เพราะเห็นกระดูกใน
ป่าช้า และเพราะเห็นอสุภ ดังนี้ ควรอยู่. ภิกษุควรปฏิบัติในพระปริตร ดัง
พรรณนามาฉะนี้.

[ว่าด้วยเรื่องอนามัฏฐบิณฑบาต]


ส่วนในบิณฑบาต มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า อนามัฏฐบิณฑบาต
ควรให้แก่ใคร ไม่ควรให้แก่ใคร ? แก้ว่า ควรให้แก่มารดาและบิดาก่อน. ก็หาก
ว่า บิณฑบาตนั้น จะเป็นของมีราคาตั้งกหาปณะ ก็ไม่จัดว่าเป็นการยังศรัทธา-
ไทยให้ตกไป, ควรให้แม้แก่คนเหล่านี้ คือ พวกคนบำรุงมารดาบิดา ไวยาจักร
คนปัณฑุปลาส. บรรดาคนเหล่านั้น สำหรับคนปัณฑุปลาส จะใส่ในภาชนะ
ให้ ก็ควร. เว้นคนปัณฑุปลาสนั้นเสีย จะใส่ในภาชนะให้แก่คฤหัสถ์เหล่าอื่น
แม้เป็นมารดาบิดา ก็ไม่ควร. เพราะว่า เครื่องบริโภคของบรรพชิตทั้งอยู่ใน
ฐานเป็นเจดีย์ของพวกคฤหัสถ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอนามัฏฐบิณฑบาตนี้พึง
ให้แก่โจรผู้ลือชื่อบ้าง ทั้งแก่อิสรชนบ้าง ผู้มาถึงเข้า. เพราะเหตุไร ? เพราะ
เหตุว่า ชนเหล่านั้นแม้เมื่อไม่ให้ ก็โกรธว่า ไม่ให้ แม้เมื่อจับต้องให้ ก็
โกรธว่า ให้ของเป็นเดน. ชนเหล่านั้น โกรธแล้วย่อมปลงจากชีวิตเสียบ้าง
ย่อมทำอันตรายแก่พระศาสนาบ้าง. ก็ในข้อนี้ พึงแสดงเรื่องพระเจ้าโจรนาคผู้
เทียวปรารถนาราชสมบัติ (เป็นอุทาหรณ์). ภิกษุควรปฏิบัติในบิณฑบาต ดัง
พรรณนามาฉะนี้.

[ว่าด้วยเรื่องปฏิสันถาร]


ส่วนในปฏิสันถาร มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า ปฏิสันถาร ควรทำ
แก่ใคร ไม่ควรทำแก่ใคร แก้ว่า ชื่อว่าปฏิสันถาร อันภิกษุควรทำทั้งนั้นแก่

ผู้ใดผู้หนึ่งที่มาถึงวิหาร จะเป็นคนจรมา คนเข็ญใจเป็นโจร หรือเป็นอิสรชน
ก็ตาม. ถามว่า พึงทำอย่างไร. แก้ว่า เห็นอาคันตุกะ หมดเสบียงลง มา
ถึงวิหาร พึงให้น้ำดื่มก่อน ด้วยกล่าวว่า เชิญดื่มน้ำเถิด, พึงให้น้ำมันทาเท้า.
อาคันตุกะมาในกาลพึงให้ข้าวยาคูและภัต. อาคันตุกะมาในเวลาวิกาล ถ้า
ข้าวสารมี พึงให้ข้าวสาร, ไม่ควรพูดว่า ท่านมาถึงในคราวมิใช่เวลา, จงไป
เสีย. พึงให้ที่นอน. ไม่หวังความตอบแทนเลย ควรทำกิจทุกอย่าง. ไม่ควร
ให้ความคิดเกิดขึ้นว่า ธรรมดามนุษย์ ผู้ให้ปัจจัย 4, เมื่อเราทำการสงเคราะห์
อยู่อย่างนี้ จักเลื่อมใสทำอุปการะบ่อย ๆ. ถึงแม้วัตถุของสงฆ์ ก็ควรให้แก่
พวกโจรได้. และเพื่อแสดงอานิสงส์ปฏิสันถาร พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าว
เรื่องไว้หลายเรื่อง ในมหาอรรถกถา โดยพิสดารมีอาทิอย่างนี้ คือ เรื่องพระ
เจ้าโจรนาค เรื่องพระเจ้ามหานาคผู้เสด็จไปชมพูทวีปพร้อมกับพระราชภาดา-
เรื่องอำมาตย์ 4 นาย ในรัชสมัยแห่งพระเจ้าปิตุราช เรื่องอภัยโจร.

[เรื่องพระอภัยเกระทำปฏิสันถารกับอภัยโจร]


บรรดาเรื่องเหล่านั้น จะแสดงเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้:- ดังได้สดับมา
ในเกาะสิงหล โจรชื่ออภัย มีบริวารประมาณ 500 คน ตั้งค่ายอยู่ ณ ที่แห่ง
หนึ่ง ทำประชาชนให้อพยพไปตลอด (ที่มีประมาณ) 3 โยชน์โดยรอบ. ชาว
เมืองอนุราธบุรี ข้ามแม่น้ำกฬัมพนทีไม่ได้. ในทางไปเจติยคิรีวิหาร ขาดการ
สัญจรไปมาของประชาชน. ต่อมาวันหนึ่งโจรได้ไปด้วยหมายใจว่า จักปล้น
เจติยคิรีวิหาร. พวกคนวัด เห็นจึงบอกแก่พระทีฆภาณกอภัยเถระ.
พระเถระถามว่า เนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น มีไหม ?
พวกคนวัด. มี ขอรับ !
พระเถระ. พวกท่านจงให้แก่พวกโจร.