เมนู

[เรื่องสวดพระปริตร]


ก็ในพระปริตร

มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุถูกชาวบ้านอาราธนาว่า
โปรดทำพระปริตรแก่คนไข้เถิด ขอรับ ! ดังนี้ ไม่ควรทำ, แต่เมื่อเขาอาราธนา
ว่า โปรดสวดเถิด, ควรทำ. ถ้าแม้ภิกษุนั้น มีความวิตกว่า ธรรมดามนุษย์
ทั้งหลาย ย่อมไม่รู้, เมื่อเราไม่ทำ จักเป็นผู้เดือดร้อน ดังนี้, ก็ควรทำ.
ส่วนภิกษุถูกอาราธนาว่า โปรดทำน้ำพระปริตร เส้นด้ายพระปริตรให้เถิด ดัง
นี้ ควรเอามือ (ของตน) กวนน้า ลูบคลำเส้นด้าย ของมนุษย์เหล่านั้นแล
ให้ไป. ถ้าภิกษุให้น้ำจากวิหาร หรือเส้นด้ายซึ่งเป็นของ ๆ ตน เป็นทุกกฏ.
พวกชาวบ้านนั่งถือน้ำและเส้นด้าย กล่าวอยู่ว่า ขอนิมนต์สวดพระปริตร ดัง
นี้ควรทำ, ถ้าเขาไม่รู้ ควรบอกให้. พวกชาวบ้านตรวจน้ำทักษิโณทก* ลง
และวางเส้นด้ายไว้ใกล้เท้าทั้งหลายของพวกภิกษุผู้นั่งอยู่แล้ว ก็ไป ด้วยเรียน
ว่า ขอนิมนต์ทำพระปริตรสวดพระปริตรเถิด ดังนี้, ภิกษุไม่พึงชักเท้าออก
เพราะว่า พวกชาวบ้านจะเป็นผู้มีความเดือดร้อน. พวกชาวบ้านส่งคนไปยัง
วิหาร เพื่อประโยชน์แก่คนไข้ ภายในบ้านด้วยสั่งว่า ขอภิกษุทั้งหลาย โปรด
สวดพระปริตร ดังนี้, ภิกษุควรสวด. เมื่อโรคหรือความจัญไร เกิดขึ้นใน
พระราชมณเฑียรเป็นต้น ภายในบ้าน อิสระชนมีกษัตริย์เป็นต้น รับสั่งให้
อาราธนาภิกษุมาแล้ว นิมนต์ให้สวด (พระปริตรเป็นต้น). ภิกษุพึงสวดพระ
สูตรทั้งหลาย มีอาฏานาฏิยสูตรเป็นต้น. แม้เมื่อพวกชาวบ้านส่งคนไปนิมนต์
ว่า ขอภิกษุทั้งหลาย จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมแก่คนไข้เถิด หรือว่า
จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมที่พระราชวังหลวง หรือที่เรือนของอำมาตย์เถิด
ดังนี้ ภิกษุควรไปให้สิกขาบท ควรกล่าวธรรม. พวกชาวบ้านนิมนต์ว่า ขอ
//* อุทกนฺติ ทกฺขิโณทกํ. บทว่า อุทกํ ได้แก่ น้ำทักษิโณทก. สารัตถทีปนี 2/427.

ภิกษุทั้งหลาย จงมาเพื่อเป็นบริวาร (เพื่อน) ของคนตาย, ไม่ควรไป. ภิกษุ
จะไปด้วยมุ่งกรรมฐานเป็นหลักว่า เราจักกลับได้มรณสติ เพราะเห็นกระดูกใน
ป่าช้า และเพราะเห็นอสุภ ดังนี้ ควรอยู่. ภิกษุควรปฏิบัติในพระปริตร ดัง
พรรณนามาฉะนี้.

[ว่าด้วยเรื่องอนามัฏฐบิณฑบาต]


ส่วนในบิณฑบาต มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า อนามัฏฐบิณฑบาต
ควรให้แก่ใคร ไม่ควรให้แก่ใคร ? แก้ว่า ควรให้แก่มารดาและบิดาก่อน. ก็หาก
ว่า บิณฑบาตนั้น จะเป็นของมีราคาตั้งกหาปณะ ก็ไม่จัดว่าเป็นการยังศรัทธา-
ไทยให้ตกไป, ควรให้แม้แก่คนเหล่านี้ คือ พวกคนบำรุงมารดาบิดา ไวยาจักร
คนปัณฑุปลาส. บรรดาคนเหล่านั้น สำหรับคนปัณฑุปลาส จะใส่ในภาชนะ
ให้ ก็ควร. เว้นคนปัณฑุปลาสนั้นเสีย จะใส่ในภาชนะให้แก่คฤหัสถ์เหล่าอื่น
แม้เป็นมารดาบิดา ก็ไม่ควร. เพราะว่า เครื่องบริโภคของบรรพชิตทั้งอยู่ใน
ฐานเป็นเจดีย์ของพวกคฤหัสถ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอนามัฏฐบิณฑบาตนี้พึง
ให้แก่โจรผู้ลือชื่อบ้าง ทั้งแก่อิสรชนบ้าง ผู้มาถึงเข้า. เพราะเหตุไร ? เพราะ
เหตุว่า ชนเหล่านั้นแม้เมื่อไม่ให้ ก็โกรธว่า ไม่ให้ แม้เมื่อจับต้องให้ ก็
โกรธว่า ให้ของเป็นเดน. ชนเหล่านั้น โกรธแล้วย่อมปลงจากชีวิตเสียบ้าง
ย่อมทำอันตรายแก่พระศาสนาบ้าง. ก็ในข้อนี้ พึงแสดงเรื่องพระเจ้าโจรนาคผู้
เทียวปรารถนาราชสมบัติ (เป็นอุทาหรณ์). ภิกษุควรปฏิบัติในบิณฑบาต ดัง
พรรณนามาฉะนี้.

[ว่าด้วยเรื่องปฏิสันถาร]


ส่วนในปฏิสันถาร มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า ปฏิสันถาร ควรทำ
แก่ใคร ไม่ควรทำแก่ใคร แก้ว่า ชื่อว่าปฏิสันถาร อันภิกษุควรทำทั้งนั้นแก่