เมนู

ปัจจัย 4 ย่อมตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาและบิดาของภิกษุสงฆ์. ถ้าในตระกูลนั้น
มีคนบางคน เป็นไข้, ชนทั้งหลายเรียนขอเพื่อประโยชน์แก่ผูเป็นไข้นั้นว่า
ท่านขอรับ ! ขอพระคุณท่านทำเภสัชให้ ด้วยความวิสาสะเถิด, ไม่ควรให้
ทั้งไม่ควรทำเลย. ก็ถ้าพวกเขารู้สิ่งที่ควร เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
เขาปรุงเภสัชอะไรแก้โรคชื่อโน้น ? ภิกษุจะตอบว่า เขาเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้ ทำ
(เภสัช) ดังนี้ ก็ควร. ก็ภิกษุถูกคฤหัสถ์เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
มารดาของกระผมเป็นไข้ ขอได้โปรดบอกเภสัชด้วยเถิด ดังนี้ ไม่ควรบอก.
แต่ควรสนทนาถ้อยคำกะกันและกันว่า อาวุโส ! ในโรคชนิดนี้ ของภิกษุ
ชื่อโน้น เขาปรุงเภสัชอะไรแก้ ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เขาเอาสิ่งนี้และนี้
ปรุงเภสัช ขอรับ ! ฝ่ายชาวบ้าน ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ย่อมปรุงเภสัชแก่
มารดา; ข้อที่ภิกษุสนทนากันนั้น ย่อมควร.

[เรื่องพระมหาปทุมเถระสนทนาเรื่องยาแก้โรค]


ได้ยินว่า แม้พระมหาปทุมเถระ เมื่อพระเทวีของพระเจ้าวสภะเกิด
ประชวรพระโรคขึ้น ก็ถูกนางนักสนมคนหนึ่งมาเรียนถาม ท่านก็ไม่พูดว่า
ไม่รู้ ได้สนทนากับพวกภิกษุเหมือนอย่างที่กล่าวมาแล้วนนี้แล. ข้าราชบริพาร
ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ได้ปรุงเภสัชถวายแด่พระเทวีพระองค์นั้น. และเมื่อ
พระโรคสงบลงแล้ว ข้าราชบริพารได้บรรทุกผอบเภสัชให้เต็มพร้อมทั้งไตร
จีวรและกหาปณะ 300 นำไปวางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ แล้ว เรียนว่า ท่าน
เจ้าข้า ! โปรดทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด. พระเถระคิดว่า นี้ชื่อว่าเป็นส่วน
ของอาจารย์ แล้วให้ไวยาจักรรับไว้ด้วยอำนาจเป็นของกับปิยะ ได้ทำการบูชา
ด้วยดอกไม้แล้ว. ภิกษุควรปฏิบัติในเภสัชอย่างนี้ก่อน.

[เรื่องสวดพระปริตร]


ก็ในพระปริตร

มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุถูกชาวบ้านอาราธนาว่า
โปรดทำพระปริตรแก่คนไข้เถิด ขอรับ ! ดังนี้ ไม่ควรทำ, แต่เมื่อเขาอาราธนา
ว่า โปรดสวดเถิด, ควรทำ. ถ้าแม้ภิกษุนั้น มีความวิตกว่า ธรรมดามนุษย์
ทั้งหลาย ย่อมไม่รู้, เมื่อเราไม่ทำ จักเป็นผู้เดือดร้อน ดังนี้, ก็ควรทำ.
ส่วนภิกษุถูกอาราธนาว่า โปรดทำน้ำพระปริตร เส้นด้ายพระปริตรให้เถิด ดัง
นี้ ควรเอามือ (ของตน) กวนน้า ลูบคลำเส้นด้าย ของมนุษย์เหล่านั้นแล
ให้ไป. ถ้าภิกษุให้น้ำจากวิหาร หรือเส้นด้ายซึ่งเป็นของ ๆ ตน เป็นทุกกฏ.
พวกชาวบ้านนั่งถือน้ำและเส้นด้าย กล่าวอยู่ว่า ขอนิมนต์สวดพระปริตร ดัง
นี้ควรทำ, ถ้าเขาไม่รู้ ควรบอกให้. พวกชาวบ้านตรวจน้ำทักษิโณทก* ลง
และวางเส้นด้ายไว้ใกล้เท้าทั้งหลายของพวกภิกษุผู้นั่งอยู่แล้ว ก็ไป ด้วยเรียน
ว่า ขอนิมนต์ทำพระปริตรสวดพระปริตรเถิด ดังนี้, ภิกษุไม่พึงชักเท้าออก
เพราะว่า พวกชาวบ้านจะเป็นผู้มีความเดือดร้อน. พวกชาวบ้านส่งคนไปยัง
วิหาร เพื่อประโยชน์แก่คนไข้ ภายในบ้านด้วยสั่งว่า ขอภิกษุทั้งหลาย โปรด
สวดพระปริตร ดังนี้, ภิกษุควรสวด. เมื่อโรคหรือความจัญไร เกิดขึ้นใน
พระราชมณเฑียรเป็นต้น ภายในบ้าน อิสระชนมีกษัตริย์เป็นต้น รับสั่งให้
อาราธนาภิกษุมาแล้ว นิมนต์ให้สวด (พระปริตรเป็นต้น). ภิกษุพึงสวดพระ
สูตรทั้งหลาย มีอาฏานาฏิยสูตรเป็นต้น. แม้เมื่อพวกชาวบ้านส่งคนไปนิมนต์
ว่า ขอภิกษุทั้งหลาย จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมแก่คนไข้เถิด หรือว่า
จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมที่พระราชวังหลวง หรือที่เรือนของอำมาตย์เถิด
ดังนี้ ภิกษุควรไปให้สิกขาบท ควรกล่าวธรรม. พวกชาวบ้านนิมนต์ว่า ขอ
//* อุทกนฺติ ทกฺขิโณทกํ. บทว่า อุทกํ ได้แก่ น้ำทักษิโณทก. สารัตถทีปนี 2/427.