เมนู

ปัจจัย 4 ย่อมตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาและบิดาของภิกษุสงฆ์. ถ้าในตระกูลนั้น
มีคนบางคน เป็นไข้, ชนทั้งหลายเรียนขอเพื่อประโยชน์แก่ผูเป็นไข้นั้นว่า
ท่านขอรับ ! ขอพระคุณท่านทำเภสัชให้ ด้วยความวิสาสะเถิด, ไม่ควรให้
ทั้งไม่ควรทำเลย. ก็ถ้าพวกเขารู้สิ่งที่ควร เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
เขาปรุงเภสัชอะไรแก้โรคชื่อโน้น ? ภิกษุจะตอบว่า เขาเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้ ทำ
(เภสัช) ดังนี้ ก็ควร. ก็ภิกษุถูกคฤหัสถ์เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !
มารดาของกระผมเป็นไข้ ขอได้โปรดบอกเภสัชด้วยเถิด ดังนี้ ไม่ควรบอก.
แต่ควรสนทนาถ้อยคำกะกันและกันว่า อาวุโส ! ในโรคชนิดนี้ ของภิกษุ
ชื่อโน้น เขาปรุงเภสัชอะไรแก้ ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เขาเอาสิ่งนี้และนี้
ปรุงเภสัช ขอรับ ! ฝ่ายชาวบ้าน ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ย่อมปรุงเภสัชแก่
มารดา; ข้อที่ภิกษุสนทนากันนั้น ย่อมควร.

[เรื่องพระมหาปทุมเถระสนทนาเรื่องยาแก้โรค]


ได้ยินว่า แม้พระมหาปทุมเถระ เมื่อพระเทวีของพระเจ้าวสภะเกิด
ประชวรพระโรคขึ้น ก็ถูกนางนักสนมคนหนึ่งมาเรียนถาม ท่านก็ไม่พูดว่า
ไม่รู้ ได้สนทนากับพวกภิกษุเหมือนอย่างที่กล่าวมาแล้วนนี้แล. ข้าราชบริพาร
ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ได้ปรุงเภสัชถวายแด่พระเทวีพระองค์นั้น. และเมื่อ
พระโรคสงบลงแล้ว ข้าราชบริพารได้บรรทุกผอบเภสัชให้เต็มพร้อมทั้งไตร
จีวรและกหาปณะ 300 นำไปวางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ แล้ว เรียนว่า ท่าน
เจ้าข้า ! โปรดทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด. พระเถระคิดว่า นี้ชื่อว่าเป็นส่วน
ของอาจารย์ แล้วให้ไวยาจักรรับไว้ด้วยอำนาจเป็นของกับปิยะ ได้ทำการบูชา
ด้วยดอกไม้แล้ว. ภิกษุควรปฏิบัติในเภสัชอย่างนี้ก่อน.