เมนู

เรื่องการส่งศิลา 3 เรื่อง ถัดจากเรื่องทดลองยาพิษนี้ไป และเรื่อง
ก่ออิฐ เรื่องส่งมีด และเรื่องส่งกลอนอย่างละ 3 เรื่อง มีเนื้อความชัดเจน
ทั้งนั้น. ก็ความแตกต่างแห่งอาบัติและอนาบัตินี้ หามีด้วยอำนาจแห่งศิลา
เป็นต้น อย่างเดียวเท่านั้นไม่. แต่ย่อมมีได้ด้วยอำนาจแม้แห่งวัตถุมีไม้พลอง
ค้อน สิ่ว และฟืนเป็นต้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น วัตถุมีไม้พลองเป็นต้นนั้น
แม้มิได้มาในพระบาลี ก็พึงทราบโดยนัยที่มาแล้วนั่นเอง.

[เรื่องภิกษุผูกร่างร้าน]


ในเรื่องผูกร่างร้าน

มีวินิจฉัยดังนี้:- เตียงเหินฟ้า* ซึ่งเป็นของ
ที่พวกชนผูกไว้ เพื่อประโยชน์แก่การงาน มีเสตกรรม (ฉาบทาสีขาว)
มาลากรรม (เขียนลายดอกไม้) และลดากรรม (เขียนลายเถาวัลย์) เป็นต้น
เขาเรียกว่า ร่างร้าน. ในเรื่องผูกร่างร้านนั้น ภิกษุผู้มีความประสงค์จะให้ตาย
กล่าวหมายเอาสถานที่ซึ่งภิกษุผู้ยืนอยู่ แล้วจะพึงพลัดตกลงกระทบตอ หรือจะ
พึงมรณภาพไป ในบ่อและเหวเป็นต้นว่า อาวุโส ! คุณจงยืนผูกที่ตรงนี้.
ก็บรรดาสถานที่เหล่านั้น ภิกษุบางรูป ย่อมกำหนดที่ข้างบนไว้ด้วย
คิดว่า เขาจักพลัดตกจากที่นี่ตาย บางรูป ย่อมกำหนดที่ข้างล่างไว้ ด้วยคิดว่า
เขาจักพลัดตกตายจากที่นี้ บางรูป ย่อมกำหนดที่แม้ทั้ง 2 แห่ง ด้วยติดว่า
เขาจักพลัดตกจากที่นี้ แล้วตายในที่นี้. บรรดาสถานที่ ๆ ภิกษุกำหนดไว้นั้น
ผู้ใดไม่พลัดตกไปจากที่ ๆ ภิกษุกำหนดไว้ข้างบน พลัดตกไปจากที่อื่นก็ดี,
ไม่พลัดตกไปในที่ ๆ ภิกษุกำหนดไว้ข้างล่าง พลัดตกไปในที่อื่นก็ดี, พลัดตก
พลาดไปในบรรดาที่กำหนดไว้ทั้ง 2 แห่ง แห่งใดแห่งหนึ่งก็ดี, เมื่อผู้นั้นตาย
ชื่อว่าไม่เป็นอาบัติเพราะมีความลักลั่น. แม้ในเรื่องมุงวิหารก็นัยนี้.
//* เตียงที่ผูกไว้บนอากาศ หรือขัดห้างที่เขาทำไว้บนต้นไม้สำหรับพักเพื่อดักยิงสัตว์ เรียกว่า
//เตียงเหินฟัง หรือขัดห้าง.

[เรื่องภิกษุโจนลงเหวทับช่างสานตาย]


ในเรื่องภิกษุกระสัน มีวินิจฉัยดังนี้:- ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเห็น
ความฟุ้งซ่านขึ้นแห่งอกุศลวิตกทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น เมื่อไม่อาจห้ามได้
ทั้งไม่ยินดีในพระศาสนา จึงเป็นผู้มุ่งหน้าไปเพื่อเป็นคฤหัสถ์ แต่ภายหลังคิด
ได้ว่า เราจักตาย ตราบเท่าที่เรายังไม่เสียศีล. คราวนั้นเธอจึงขึ้นภูเขานั้น
แล้วโจนลงไปในเหว ทับช่างสานคนใดคนหนึ่งตาย.
บทว่า วิลิวาการํ แปลว่า ช่างสานไม้ไผ่.
หลายบทว่า น จ ภิกฺขเว อตฺตานํ ปาเตตพฺพํ ความว่า ตน
อันภิกษุไม่พึงให้ตกลงไป. ก็บทว่า อตฺตานํ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ด้วยวิภัตติเปลี่ยนแปลงไป. แต่ในอธิการว่าด้วยการยังตนให้ตกไปนี้ ภิกษุไม่
ควรยังตนให้ตกไปอย่างเดียวก็หาไม่, ถึงบุคคลอื่นก็ไม่ควรฆ่าด้วยความพยายาม
อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ด้วยการอดอาหาร. จริงอยู่ แม้ภิกษุใด อาพาธ
มีความประสงค์จะตาย เมื่อเภสัชและผู้อุปัฏฐากมีอยู่ ก็ตัดอาหารเสีย, ภิกษุ
นั้นต้องทุกกฏทีเดียว. ส่วนภิกษุใด อาพาธหนักเป็นเครื่องผูกพันอยู่นาน
(ต้องรักษาพยาบาลอยู่นาน) ภิกษุทั้งหลายผู้อุปัฏฐากอยู่ ย่อมลำบาก เกลียดชัง
คืออึดอัดอยู่ ด้วยคิดว่า เมื่อไรหนอ ? พวกเราจักพ้นจากภิกษุอาพาธ. ถ้า
ภิกษุนั้น คิดว่า อัตภาพนี้ แม้ถูกประคับประคองไว้ ก็ไม่ดำรงอยู่ และ
ภิกษุทั้งหลายก็ลำบาก แล้วตัดอาหารเสีย ไม่เสพเภสัช, ข้อที่เธอตัดอาหาร
เสียนั้น ย่อมควร. ส่วนภิกษุใดคิดว่า โรคนี้ร้ายแรง, อายุสังขาร ย่อมไม่
ดำรงอยู่, และการบรรลุคุณวิเศษของเรานี้ ย่อมปรากฏ เหมือนอยู่ในเงื้อม
มือแล้ว จึงตัดอาหารเสีย; ข้อที่เธอตัดอาหารเสียนั้น ย่อมควรเหมือนกัน.
แม้เมื่อภิกษุผู้ไม่อาพาธ เกิดความสังเวชขึ้นแล้ว ตัดอาหารเสีย ด้วยหัวข้อ