เมนู

[เรื่องภิกษุผู้บุตรผลักภิกษุผู้บิดาล้มตาย]


ในเรื่องแรก (ซึ่งมีอยู่) ในเรื่องพวกพระขรัวตา มีวินิจฉัยดังนี้:-
(ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดา) ว่า ท่านอย่าได้ทำให้ภิกษุสงฆ์เป็นกังวล
ดังนี้ จึงผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไป.
ในเรื่องที่ 2 มีวินิจฉัยดังนี้:- (ภิกษุผู้บุตรถูกเพื่อนพรหมจารี)
กล่าวล้อเลียนอยู่ทั้งในท่ามกลางสงฆ์บ้าง ในท่ามกลางคณะบ้างว่า บุตรของ
พระเถระแก่ อึดอัดอยู่ด้วยคำพูดนั้นจึงได้ผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไปด้วยคิดว่า
พระขรัวตานี้ จงตายเสียเถิด.
ในเรื่องที่ 3 มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้บุตร เพราะ
ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ภิกษุผู้บิดานั้น. 3 เรื่องถัดจากนั้นไป มีเนื้อความชัดเจน
ทั้งนั้น.

[เรื่องภิกษุฉันบิณฑบาตเจือยาพิษตาย]


ในเรื่องบิณฑบาตเจือด้วยยาพิษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุผู้บำเพ็ญ
สาราณียธรรมนั้น ถวายบิณฑบาตส่วนเลิศแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเสียก่อน
จึงฉัน. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า ได้ถวายบิณฑบาต
นั้น ทำให้เป็นต้นส่วนเลิศ.
บทว่า อคฺคการิกํ ได้แก่ บิณฑบาตที่ตนได้มาครั้งแรก ซึ่งทำให้
เป็นส่วนเลิศ, อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า บิณฑบาตที่ยอดเยี่ยมคือที่ประณีต ๆ.
ก็กิริยาที่ทำให้เป็นส่วนเลิศ กล่าวคือการให้ของภิกษุ นั้นใคร ๆ ไม่อาจถวาย
ได้. จริงอยู่ถึงบิณฑบาต (ตามปกติ) เธอก็ได้ถวายตั้งต้นแต่อาสนะพระเถระ
ลงไป.

สองบทว่า เต ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุเหล่านั้น คือ ผู้ฉันบิณฑบาต
ตั้งต้นแต่อาสนะพระเถระลงไป. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้มรณภาพทั้งหมด
ทุกรูป. คำที่เหลือในเรื่องนี้ ชัดเจนทั้งนั้น. อันภิกษุได้บิณฑบาตที่ประณีต
โดยเคารพ ในตระกูลพวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่มีศรัทธายังไม่ได้พิจารณา ตนเองไม่
ควรฉันด้วย ทั้งไม่ควรถวายแก่ภิกษุเหล่าอื่นด้วย. ภิกษุได้ภัตตาหารหรือของ
ควรขบฉันแม้สิ่งใด ที่เป็นของค้างคืนมาจากตระกูลมิจฉาทิฏฐินั้น, ภัตตาหาร.
เป็นต้นแม้นั้น ไม่ควรฉัน. เพราะว่า ตระกูลเหล่านั้น ย่อมถวายแม้วัตถุที่
เขาไม่ได้เอาอะไรปิดไว้ ซึ่งมีงูและแมลงป่องเป็นต้นนอนทับอยู่ เป็นของที่
จะต้องทิ้งเป็นธรรมดา. ภิกษุไม่ควรรับบิณฑบาตแม้ที่เปื้อนด้วยวัตถุ มีของ
หอมและขมิ้นเป็นต้น จากตระกูลมิจฉาทิฏฐินั้น. จริงอยู่ ตระกูลมิจฉาทิฏฐิ
เหล่านั้น ย่อมสำคัญซึ่งภัตตาหารอันตนเอาเช็ดถูที่มีโรคในร่างกายแล้วเก็บไว้ว่า
เป็นของควรถวายแล.

[เรื่องภิกษุทดลองยาพิษ]


ในเรื่องทดลองยาพิษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุเมื่อจะทดลอง จึง
ทดลองทั้ง อย่าง (ทดลองยาพิษและบุคคล) คือ ทดลองยาพิษด้วยคิดว่า
ยาพิษขนานนี้ จะสามารถฆ่าบุคคลคนนี้ตายหรือไม่หนอ ? หรือทดลองบุคคล
ด้วยคิดว่า บุคคลนี้ ดื่มยาพิษขนานนี้แล้วจะพึงตายหรือไม่หนอ ? เมื่อภิกษุ
ให้ยาพิษด้วยความประสงค์จะทดลองแม้ทั้ง 2 อย่าง เขาจะตายหรือไม่ก็ตาม
เป็นถุลลัจจัย. แต่เมื่อภิกษุให้ยาพิษ ด้วยคิดอย่างนี้ว่า ยาพิษขนานนี้จงฆ่า
บุคคลนี้ให้ตาย หรือว่า บุคคลคนนี้ ดื่มยาพิษขนานนี้แล้ว จงตาย ดังนี้,
ถ้าบุคคลนั้นตาย เป็นปาราชิก, ถ้าไม่ตาย เป็นถุลลัจจัย.