เมนู

ธรรมดาของตน, ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุกล่าวด้วยทั้งใจว่า ผู้นี้ได้ฟังสัคคกถานี้
แล้วจักทำบุญ บุคคลนอกนี้ฟังสัคคกถานั้นแล้ว กลั้นใจทำกาลกิริยา, ไม่เป็น
อาบัติ (แก่ผู้กล่าว).
ในการบอก มีวินิจฉัยดังนี้ :- สองบทว่า ปุฏฺโฐ ภณติ มีความ
ว่า ภิกษุถูกเขาถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ; บุคคลตายอย่างไร จึงจะได้ทรัพย์
หรือจะเกิดขึ้นในสวรรค์ ? ดังนี้ จึงบอก.
ในการพร่ำสอน มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อปฏฺโฐ ได้แก่ ไม่
ถูกเขาถามอย่างนั้น บอกเสียเองนั่นแล.
สังเกตกรรมและนิมิตกรรม พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ใน
อทินนาทานกถา.

[ว่าด้วยอนาปัตติวาร]


พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงประเภทของอาบัติโดยประการต่าง ๆ อย่าง
นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอนาบัติ จึงกล่าวคำว่า อนาปตฺติ อสญฺจิจฺจ
เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสญฺจิจฺจ ได้แก่ ไม่ได้คิดว่า เราจัก
ฆ่าผู้นี้ ด้วยความพยายามนี้. จริงอยู่ เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายามที่
ตนไม่ได้คิดทำอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติ. ประหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุ ! ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่แกล้ง.
บทว่า อชานนฺตสฺส ได้แก่ ไม่รู้ว่า ผู้นี้จักตายด้วยความพยายามนี้.
เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายาม ไม่เป็นอาบัติ. ดังพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ไนเรื่องบิณฑบาตเจือด้วยยาพิษว่า ดูก่อนภิกษุ ! ไม่ต้องอาบัติแก่
เธอผู้ไม่รู้.

ข้อว่า น มรณาธิปฺปายสฺส ได้แก่ ไม่ปรารถนาจะให้ตาย. จริงอยู่
ผู้อื่นจะตายด้วยความพยายามใด, ครั้นเมื่อผู้นั้น แม้ถูกฆ่าตายด้วยความพยายาม
นั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่เธอผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย. ภิกษุ
บ้าเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล. ก็แลภิกษุทั้งหลายผู้ฆ่ากันและกัน
เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุเหล่านั้น. แต่คงเป็นอาบัติ
แก่ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีภิกษุผู้พรรณนาคุณความตายเป็นต้นแล.
ปทภาชนียวรรณนา จบ

[ตติยปาราชิกสิกขาบท มีสมุฏฐาน 3]


ในสมุฏฐานเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน 3
คือ เกิดแต่กายกับจิต 1 เกิดแต่วาจากับจิต 1 เกิดแต่กายวาจากับจิต 1,
เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ เป็นกายกรรม
วจีกรรม เป็นอกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา. จริงอยู่ ถ้าแม้นพระราชาเสด็จขึ้น
สู่พระที่บรรทมอันทรงสิริ เสวยสุขในราชสมบัติอยู่ เมื่อราชบุรุษกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ! โจรถูกนำมาแล้ว ตรัสทั้งที่ทรงรื่นเริงแลว่า จงไปฆ่ามัน
เสียเถิด พระราชานั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ตรัสด้วยพระหฤทัยอิงโทมนัส
นั่นแล. แต่พระหฤทัยที่อิงโทมนัสนั้น อันปุถุชนทั้งหลายรู้ได้ยาก เพราะ
เจือด้วยความสุข และเพราะไม่ติดต่อกัน (ในวิถีแห่งโทมนัส) ด้วยประการ
ฉะนั้นแล.