เมนู

ชอบใจ, กลิ่นอันเกิดแต่รากไม้มีกฤษณาและกำยานเป็นต้น พึงทราบว่า เป็น
กลิ่นที่ชอบใจ รสอันเกิดแต่รากไม้ที่ปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นรสที่ไม่
ชอบใจ, รสอันเกิดแต่รากไม้ที่ไม่ปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นรสที่ชอบใจ,
ความสัมผัสยาพิษ และสัมผัสหมามุ้ยใหญ่เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นโผฏฐัพพะ
ที่ไม่ชอบใจ, ความสัมผัสผ้าที่ทอในเมืองจีน ขนปีกหงส์และนุ่นสำลีเป็นต้น
พึงทราบว่า เป็นโผฏฐัพพะที่ชอบใจ.

[การนำธรรมารมณ์เข้าไป]


ในการนำธรรมเข้าไป มีวินิจฉัยดังนี้:- เทศนาธรรม พึงทราบว่า
ธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมารมณ์แล อันต่างกันด้วยความวิบัติในนรก และ
สมบัติในสวรรค์ ด้วยอำนาจแห่งเทศนา (ก็พึงทราบว่า ธรรม).
บทว่า เนรยิกสฺส ได้แก่ กล่าวกถาพรรณนาเรื่องนรก มีเครื่อง
จองจำ 5 อย่าง และเครื่องกรรมกรณ์เป็นต้น แก่สัตว์ผู้เสียสังวร ทำบาปไว้
ซึ่งควรเกิดในนรก. ถ้าเขาฟังนิรยกถานั้นตกใจตาย, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
กล่าว. แต่ถ้าแม้เขาฟังแล้ว ตายไปตามธรรมดาของตน, ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุ
แสดงนิรยกถาด้วยตั้งใจว่า ผู้นี้ได้ฟังนิรยกถามนี้แล้ว จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้
จักงด จักเว้น บุคคลนอกนี้ ฟังนิรยกถานั้นตกใจตาย, ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า สคฺคกถํ ได้แก่ กล่าวกถาพรรณนาสมบัติแห่งของมีวิญญาณ
มีเทพนาฎกาเป็นต้น และแห่งของไม่มีวิญญาณมีสวนนันทนวันเป็นต้น. บุคคล
นอกนี้ได้ฟังสัคคกถานั้น น้อมใจไปในสวรรค์ต้องการได้สมบัตินั้นเร็ว ๆ ยัง
ทุกข์ให้เกิดขึ้น ด้วยใช้ศัสตราประหารกินยาพิษ อดอาหาร และกลั้นลม
อัสสาสะปัสสาสะเป็นต้น, เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้กล่าว, เขาตายไป เป็น
ปาราชิกแก่ภิกษุผู้กล่าว. แต่ถ้าแม้เขาฟังแล้ว ตั้งอยู่ตลอดอายุแล้วจึงตายตาม

ธรรมดาของตน, ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุกล่าวด้วยทั้งใจว่า ผู้นี้ได้ฟังสัคคกถานี้
แล้วจักทำบุญ บุคคลนอกนี้ฟังสัคคกถานั้นแล้ว กลั้นใจทำกาลกิริยา, ไม่เป็น
อาบัติ (แก่ผู้กล่าว).
ในการบอก มีวินิจฉัยดังนี้ :- สองบทว่า ปุฏฺโฐ ภณติ มีความ
ว่า ภิกษุถูกเขาถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ; บุคคลตายอย่างไร จึงจะได้ทรัพย์
หรือจะเกิดขึ้นในสวรรค์ ? ดังนี้ จึงบอก.
ในการพร่ำสอน มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อปฏฺโฐ ได้แก่ ไม่
ถูกเขาถามอย่างนั้น บอกเสียเองนั่นแล.
สังเกตกรรมและนิมิตกรรม พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ใน
อทินนาทานกถา.

[ว่าด้วยอนาปัตติวาร]


พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงประเภทของอาบัติโดยประการต่าง ๆ อย่าง
นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอนาบัติ จึงกล่าวคำว่า อนาปตฺติ อสญฺจิจฺจ
เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสญฺจิจฺจ ได้แก่ ไม่ได้คิดว่า เราจัก
ฆ่าผู้นี้ ด้วยความพยายามนี้. จริงอยู่ เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายามที่
ตนไม่ได้คิดทำอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติ. ประหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุ ! ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่แกล้ง.
บทว่า อชานนฺตสฺส ได้แก่ ไม่รู้ว่า ผู้นี้จักตายด้วยความพยายามนี้.
เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายาม ไม่เป็นอาบัติ. ดังพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ไนเรื่องบิณฑบาตเจือด้วยยาพิษว่า ดูก่อนภิกษุ ! ไม่ต้องอาบัติแก่
เธอผู้ไม่รู้.