เมนู

[การนำรูปและเสียงเป็นต้นเข้าไป]


ในการนำรูปเข้าไป

มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า อุปสํหรติ ความ
ว่า ภิกษุพักคนอื่นผู้มีรูปไม่น่าพอใจ ไว้ในที่ใกล้ ๆ บุคคลนั้นหรือเธอแปลง
เพศเป็นยักษ์และเปรตเป็นต้น ด้วยตนเองแล้วยืนอยู่ พอเมื่อนำรูปเข้าไป เป็น
ทุกกฏแก่ภิกษุนั้น, เป็นถุลลัจจัย ในการก่อภัยให้เกิดขึ้นแคนอื่น เพราะเห็น
รูปนั้น, เป็นปาราชิก ในเพราะเขาตาย. แต่ถ้ารูปนั้นเอง ย่อมเป็นที่ชอบใจ
ของคนบางคนไซร้, และเขาย่อมซูบผอมตาย เพราะไม่ได้ (รูปนั้น), ย่อม
ผิดสังเกต. แม้ในรูปซึ่งเป็นที่ชอบใจ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ก็บรรดารูปซึ่งเป็นที่ชอบใจเหล่านั้น ว่าโดยพิเศษ รูปบุรุษย่อมเป็น
ที่ชอบใจของเหล่าสตรี และรูปสตรี ย่อมเป็นที่ชอบใจของเหล่าบุรุษ. ภิกษุ
ตกแต่งรูปนั้นแล้วก็นำเข้าไป คือทำเพียงให้เขาเห็นเท่านั้น, แต่ไม่ยอม
ให้แม้เพื่อจะดูนาน ๆ. คนนอกนี้ย่อมซูบผอมตายเพราะไม่ได้ (รูปนั้น), ภิกษุ
เป็นปาราชิก, ถ้าเขาจักใจตาย, ย่อมผิดสังเกต. แต่ถ้าภิกษุไม่พิจารณา
เลยว่า เขาจักตกใจตาย หรือจักซูบผอมตาย เพราะไม่ได้ นำเข้าไปด้วยคิด
อย่างเดียวว่า เขาเห็นแล้ว จักตาย ดังนี้, เมื่อเขาตกใจตาย หรือซูบผอมตาย
เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แม้กิจทั้งหลายมีการนำเสียงเข้าไปเป็นต้น ก็พึงทราบ
โดยอุบายนี้ นั่นแล.
จริงอยู่ ในเสียงเป็นต้นนี้ (มีความแปลกกัน) อย่างเดียวคือ (อารมณ์
ภายนอก) มีเสียงของอมนุษย์เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นเหตุให้เกิดความสะดุ้ง
เป็นสิ่งที่ไม่ชอบใจ, เสียงสตรีและเสียงของนักฟ้อนที่ไพเราะเป็นต้น พึงทราบ
ว่า ทำความชื่นจิตให้ เป็นเสียงที่ชอบใจ, กลิ่นแห่งรากไม้เป็นต้น ของต้น
ไม้ที่มีพิษ ในป่าหิมพานต์และกลิ่นแห่งซากศพ พึงทราบว่า เป็นกลิ่นที่ไม่

ชอบใจ, กลิ่นอันเกิดแต่รากไม้มีกฤษณาและกำยานเป็นต้น พึงทราบว่า เป็น
กลิ่นที่ชอบใจ รสอันเกิดแต่รากไม้ที่ปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นรสที่ไม่
ชอบใจ, รสอันเกิดแต่รากไม้ที่ไม่ปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นรสที่ชอบใจ,
ความสัมผัสยาพิษ และสัมผัสหมามุ้ยใหญ่เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นโผฏฐัพพะ
ที่ไม่ชอบใจ, ความสัมผัสผ้าที่ทอในเมืองจีน ขนปีกหงส์และนุ่นสำลีเป็นต้น
พึงทราบว่า เป็นโผฏฐัพพะที่ชอบใจ.

[การนำธรรมารมณ์เข้าไป]


ในการนำธรรมเข้าไป มีวินิจฉัยดังนี้:- เทศนาธรรม พึงทราบว่า
ธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมารมณ์แล อันต่างกันด้วยความวิบัติในนรก และ
สมบัติในสวรรค์ ด้วยอำนาจแห่งเทศนา (ก็พึงทราบว่า ธรรม).
บทว่า เนรยิกสฺส ได้แก่ กล่าวกถาพรรณนาเรื่องนรก มีเครื่อง
จองจำ 5 อย่าง และเครื่องกรรมกรณ์เป็นต้น แก่สัตว์ผู้เสียสังวร ทำบาปไว้
ซึ่งควรเกิดในนรก. ถ้าเขาฟังนิรยกถานั้นตกใจตาย, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
กล่าว. แต่ถ้าแม้เขาฟังแล้ว ตายไปตามธรรมดาของตน, ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุ
แสดงนิรยกถาด้วยตั้งใจว่า ผู้นี้ได้ฟังนิรยกถามนี้แล้ว จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้
จักงด จักเว้น บุคคลนอกนี้ ฟังนิรยกถานั้นตกใจตาย, ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า สคฺคกถํ ได้แก่ กล่าวกถาพรรณนาสมบัติแห่งของมีวิญญาณ
มีเทพนาฎกาเป็นต้น และแห่งของไม่มีวิญญาณมีสวนนันทนวันเป็นต้น. บุคคล
นอกนี้ได้ฟังสัคคกถานั้น น้อมใจไปในสวรรค์ต้องการได้สมบัตินั้นเร็ว ๆ ยัง
ทุกข์ให้เกิดขึ้น ด้วยใช้ศัสตราประหารกินยาพิษ อดอาหาร และกลั้นลม
อัสสาสะปัสสาสะเป็นต้น, เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้กล่าว, เขาตายไป เป็น
ปาราชิกแก่ภิกษุผู้กล่าว. แต่ถ้าแม้เขาฟังแล้ว ตั้งอยู่ตลอดอายุแล้วจึงตายตาม