เมนู

เขื่องเกินไป จึงทำให้เล็กลง หรือบางไป จึงทำให้หนา หรือหนาไป จึงทำ
ให้บางลง แล้วลนให้ร้อนด้วยไฟ ทำให้แล่นไปข้างล่างหรือข้างบน; เป็น
ปาราชิกแม้แก่ภิกษุรูปนั้น. เธอเห็นว่า ก้อนยาพิษนี้ วางไว้ในที่ไม่เหมาะ
จึงถากใสให้บางทุกส่วนทีเดียว แล้วเช็ดถู (ให้เกลี้ยง) เอาวางไว้ในที่อื่น.
เมื่อภิกษุปรุงเภสัชด้วยตนเอง แล้วแทรกยาพิษเข้าด้วย ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม
ย่อมไม่พ้น เมื่อตนเองไม่ได้ทำ ย่อมพ้น, แต่ถ้าภิกษุรูปนั้นเห็นว่า ยาพิษนี้
มีน้อยเกินไป จึงนำเอายาพิษแม้อื่นมาเติมใส่ไว้ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุเจ้าของ
ยาพิษซึ่งเป็นเหตุให้เขาตาย. ถ้าเขาตายไปเพราะยาพิษซึ่งเป็นของภิกษุแม้ทั้ง
2 รูป ก็เป็นปาราชิกแก่เธอแม่ทั้ง 2 รูป. ภิกษุเห็นว่า ยาพิษนี้ หมดฤทธิ์
กล้าแล้ว จึงนำยาพิษนั้นออกเสีย แล้ววางยาพิษของตนเองไว้แทน; เป็น
ปาราชิกแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม รอดตัวไป.

[ลอบวางอาวุธไว้ใต้เตียงหรือตั่ง]


สองบทว่า ทิพฺพลํ วา กโรติ ความว่า ภิกษุตัดเตียงและตั่งภาย-
ใต้แม่แคร่ หรือตัดหวายและเชือกที่เขาร้อยไว้ ทำให้เหลือไว้นิดหน่อยเท่านั้น
จึงสอดอาวุธไว้ภายใต้, เธอตัดส่วนอื่นแม้แห่งวัตถุ มีกระดานสำหรับพิงเป็น
ต้น ซึ่งมีต้นไม้และกระดานสำหรับยึดเหนี่ยวในที่จงกรมเป็นที่สุดออก แล้ว
เอาอาวุธสอดไว้ภายใต้ ด้วยหวังว่า คนจักตกตายที่อาวุธนี้. ภิกษุนำเตียงตั่ง
หรือกระดานสำหรับพิงมาวางไว้ ใกล้บ่อเป็นต้น โดยประการที่คนพอนั่งหรือพิง
ที่เตียงเป็นต้นนั้นก็จะตกลงไป, หรือทำสะพานสำหรับเดินไปมาบนบ่อเป็นต้น
ให้ชำรุดไว้, เมื่อภิกษุทำอยู่อย่างนั้น เป็นทุกกฏ เพราะทำ, เป็นถุลลัจจัย
เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่คนนอกนี้, เป็นปาราชิก ในเพราะเขาตาย. ภิกษุ
นำเอาภิกษุด้วยกันไปแล้วพักไว้บนริมปากบ่อเป็นต้น ด้วยคิดว่า เธอเห็นแล้ว

สะทกสะทาน เพราะกลัว จักตกตาย ดังนี้ เป็นทุกกฏ. เธอตกไปอย่างนั้น
จริง ๆ, เป็นถุลลัจจัย เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้น, เป็นปาราชิก ในเพราะเขา
ตาย. ตนเองผลักภิกษุรูปนั้นให้ตกไป, ใช้ผู้อื่นให้ผลักตกไป, ผู้อื่นมิได้สั่ง
เลย ผลักให้ตกไปตามธรรมดาของตน อมนุษย์ผลักให้ตกลงไป, ตกไปเพราะ
ถูกลมพัด, ตกไปตามธรรมดาของตน ; เป็นปาราชิก ในเพราะผู้นั้นตาย
ทุกกรณี. เพราะเหตุไร. เพราะผู้ตายอยู่ใกล้ริมปากบ่อเป็นต้น ด้วยประโยค
ของภิกษุผู้เป็นต้นเดิมนั้น.

[ว่าด้วยการลอบวางดาบไว้]


การวาง (ดาบเป็นต้น) ไว้ในที่ใกล้ ชื่อว่า การลอบวาง. ในการ
ลอบวางนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุใดพรรณนาคุณแห่งความตาย โดยนัย
เป็นต้นว่า ผู้ใดตายด้วยดาบนี้, ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ก็ดี พูดว่า ผู้ต้องการตาย
จงตายด้วยดาบนี้ ก็ดี พูดว่า ผู้ต้องการตาย จงให้เขาฆ่าด้วยดาบนี้ ก็ดี แล้ว
ลอบวางดาบไว้, เป็นทุกกฏแก่ภิกษุรูปนั้น ในการลอบวางไว้. บุคคลผู้อยาก
จะตาย จะใช้ดาบนั้นประหารตนเองก็ตาม ผู้มีความประสงค์จะใช้ให้คนอื่นฆ่า
จงเอาดาบนั้นประหารคนอื่นก็ตาม, แม้ด้วยการประหารทั้ง 2 วิธี เป็นถุลลัจจัย
แก่ภิกษุผู้ลอบวาง เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น, เป็นปาราชิก ใน
เพราะเขาตาย. เมื่อภิกษุวางไว้ไม่เจาะจงเป็นกองอกุศล ในเพราะคนสัตว์เป็น
อันมากตาย, เป็นปาราชิกเป็นต้น ในเพราะวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น. ภิกษุ
นั้น เมื่อเกิดความเดือนร้อนขึ้นจึงเก็บดาบไว้ในที่ ๆ ตนรับมา ย่อมพ้น.
ดาบเป็นของที่เธอรับซื้อมา, เธอคืนดาบให้แก่เจ้าของดาบ ให้มูลค่าแก่เหล่า
ชนผู้ที่ตนรับเอามูลค่ามาจากมือของเขาแล้ว ย่อมพ้น. ถ้าภิกษุเอาแท่งโลหะ
ผาลไถหรือจอบไปให้ช่างทำเป็นดาบไซร้, ถือเอาภัณฑะใดมาให้ทำดาบ ครั้น