เมนู

แต่โรคที่เกิดขึ้นเพราะหลุมพราง เป็นของมีกำลังกว่า, แม้เมื่อผู้นั้นตายเพราะ
โรคที่เกิดขึ้นนั้น ภิกษุขุดหลุมพราง ย่อมไม่พ้น. ถ้าโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง
เป็นของมีกำลังไซร้, เมื่อผู้นั้นตายเพราะโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง เธอรอดตัว.
เมื่อผู้นั้นตายด้วยโรคทั้ง 2 ชนิด ไม่พ้น. มนุษย์ผู้ผุดเกิด ในหลุมพราง ครั้น
เกิดแล้ว ไม่สามารถจะขึ้นได้ ก็ตายไป, เป็นปาราชิกเหมือนกัน.

[มติพระเถระสองรูปในการขุดหลุมพราง]


พระอุปติสสเถระ กล่าวว่า เมื่อยักษ์เป็นต้น ตกไปตายในหลุม
พรางที่ภิกษุขุดไว้เจาะจงมนุษย์ ไม่เป็นอาบัติ. ในมนุษย์เป็นต้นแม้ตายอยู่ใน
หลุมพราง ที่ภิกษุขุดไว้เจาะจงยักษ์เป็นต้น ก็นัยนั่นแล. แต่เป็นทุกกฏทีเดียว
แก่ภิกษุผู้ขุดเจาะจงยักษ์เป็นต้น เพราะการขุดบ้าง เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่
ยักษ์เป็นต้นเหล่านั้นบ้าง. เพราะ (ยักษ์เป็นต้น) ตายเป็นถุลลัจจัยหรือปาจิตตีย์
ตามอำนาจแห่งวัตถุทีเดียว. สัตว์ตกลงในหลุมพรางที่ภิกษุขุดไว้มิได้เจาะจง
โดยรูปยักษ์ หรือรูปเปรตตายไป โดยรูปสัตว์ดิรัจฉาน, ก็รูปที่ตกไป ย่อม
เป็นประมาณ; เพราะฉะนั้น จึงเป็นถุลลัจจัย.
พระปุสสเทวเถระ กล่าวว่า รูปที่ตายเป็นประมาณ; เพราะฉะนั้น จึง
เป็นปาจิตตีย์. แม้ในสัตว์ตกไปด้วยรูปสัตว์ดิรัจฉาน แล้วตายด้วยรูปยักษ์และ
รูปเปรต ก็นัยนั่นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ขุดหลุมพรางขายหรือให้เปล่าซึ่งหลุมพราง
แก่ภิกษุอื่น, ภิกษุนั้นแลยังต้องอาบัติ และมีข้อผูกพันทางกรรม เพราะมีผู้ตก
ตายเป็นปัจจัย, ผู้ที่ได้หลุมพรางไป ไม่มีโทษแล. ภิกษุผู้ได้ไปแล้วคิดว่า
หลุมอย่างนี้ สัตว์ผู้ตกไปยังอาจขึ้นได้ จักไม่พินาศ จักทรงตัวขึ้นได้ง่าย จึง
ทำหลุมพรางนั้นให้ลึกลงไป หรือให้ตื้นขึ้น ให้ยาวออกไป หรือให้สั้นเข้า
ให้กว้างออกไป หรือให้แคบเข้า ต้องอาบัติ และมีข้อผูกพันทางกรรมด้วยกัน

แม้ทั้ง 2 รูป. เมื่อเกิดวิปฏิสารขึ้นว่า คนสัตว์จะตายกันมาก จึงกลบหลุมพราง
ให้เต็มด้วยดิน. ถ้าสัตว์ไร ๆ ยังตกไปในดินตายได้, แม้กลบให้เต็มแล้ว ก็
ไม่พ้น. เมื่อฝนตกมีโคลน, แม้เมื่อสัตว์ไร ๆ ติดตายในโคลนนั้น, ต้นไม้ล้ม
ก็ดี ลมพัดก็ดี น้ำฝนตกก็ดี พัดพาคนไป หรือพวกขุดแผ่นดินเพื่อเหง้ามัน
ขุดเป็นหลุมบ่อไว้ในที่นั้น, ถ้าสัตว์ไร ๆ ติดหรือตกไปตายในหลุมนั้น ภิกษุ
ผู้เป็นต้นเดิมยังไม่พ้น. แต่ในโอกาสนั้น ภิกษุให้ทำบึงหรือสระบัวใหญ่ให้
ประดิษฐานเจดีย์ ปลูกต้นโพธิ์หรือให้สร้างวัด หรือให้ทำทางเกวียนแล้วจึง
พ้นได้. แม้ในกาลใด ต้นไม้เป็นต้น ในหลุมพรางอันถูกกลบเต็มทำให้แน่น
แล้วรากต่อรากเกี่ยวพ้นกัน, เกิดชาตปฐพี, แม้ในกาลนั้นก็พ้นได้. ถ้าแม้น
แม้น้ำหลากมาลบล้างหลุมพรางเสีย, แม้อย่างนั้น จึงพ้นได้แล.
กถาว่าด้วยหลุมพรางเท่านี้ก่อน.

[ว่าด้วยการดักบ่วงของภิกษุ]


ก็พึงทราบวินิจฉัย แม้ในบ่วงเป็นต้น อันอนุโลมแก่หลุมพรางนั่น
ดังต่อไปนี้:- ภิกษุรูปไค ดัดบ่วงไว้ก่อน ด้วยคิดว่า สัตว์ทั้งหลายจักติดใน
บ่วงนี้ตาย เมื่อบ่วงพอพ้นไปจากมือ พึงทราบว่าเป็นปาราชิก อนันตริยกรรม
ถุลลัจจัย และปาจิตตีย์ แก่ภิกษุรูปนั้นแน่นอน ด้วยอำนาจสัตว์ที่ติด (บ่วง).
ในบ่วงที่ภิกษุทำเจาะจงไว้ มีวินิจฉัยดังนี้:- บ่วงที่ภิกษุดักเจาะจง
สัตว์ตัวใดไว้ เพราะสัตว์เหล่าอื่นจากสัตว์ตัวนั้นมาติด ไม่เป็นอาบัติ. แม้เมื่อ
ภิกษุจำหน่ายบ่วงไป ด้วยมูลค่าหรือให้เปล่งก็ตาม ข้อผูกพันทางกรรม ย่อม
มีแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมเช่นกัน. ถ้าภิกษุผู้ได้บ่วงไป ดักบ่วงเคลื่อนที่ได้ไว้
หรือเห็นพวกสัตว์เดินไปข้าง ๆ จึงทำรั้วกั้นไว้ ต้อนสัตว์ให้เข้าไปตรงหน้า
หรือจัดคันบ่วงไว้ให้แข็งแรง หรือผูกเชือกบ่วงไว้ให้มั่นขึ้น หรือตอกหลักไว้