เมนู

ข้างหน้า เป็นผู้มีความสำคัญว่า เธอยังนั่งอยู่ที่นี้เอง พูดจาขึ้นตามนัยก่อน
นั้นแล ในเมื่อเธอแม้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำอุปัฏฐากแล้ว กลับไป,
ภิกษุนี้ชื่อว่าผู้มีความสำคัญลับหลังว่าต่อหน้าพูดจา. บุคคลผู้มีความสำคัญใน
ต่อหน้าว่าต่อหน้า และบุคคลผู้มีความสำคัญในลับหลังว่าลับหลัง ผู้ศึกษาพึง
ทราบโดยอุบายนี้แล. และพึงทราบว่า เป็นทุกกฏทุก ๆ คำพูดแก่ภิกษุเหล่านั้น
แม้ทั้ง 4 รูป.

[อธิบายการพรรณนาความตายด้วยกาย]


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งมาติกา 5 มีพรรณนาด้วยกาย
เป็นต้น ที่ท่านพระอุบาลีกล่าวไว้ เพื่อแสดงวิภาคแห่งการพรรณนาความตาย.
ข้อว่า กาเยน วิการํ ทสฺเสติ* มีความว่า เขาจะรู้ได้ว่า เนื้อ
ความนี้ อันบุคคลนี้กล่าวว่า ผู้ใดใช้ศัสตราฆ่าตัวตาย หรือเคี้ยวกินยาพิษ
ตาย หรือเอาเชือกผูกคอตาย หรือกระโดดบ่อเป็นต้นตาย, ได้ยินว่า ผู้นั้น
จะได้ทรัพย์ จะได้ยศ หรือจะไปสวรรค์ ดังนี้ด้วยประการใด, ภิกษุแสดง
ด้วยประการนั้น ด้วยอวัยวะทั้งหลายมีหัวแม่มือ เป็นต้น.
ข้อว่า วาจาย ภณติ ความว่า ภิกษุลั่นวาจา กล่าวเนื้อความนั้น
นั่นแล. วาระที่ 3 เป็นอันกล่าวแล้ว ด้วยอำนาจแห่งวาระทั้ง 2. ทุก ๆ วาระ
ปรับเป็นทุกกฏทุก ๆ ประโยค แห่งการพรรณนา, เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้
พรรณนา ในเพราะทุกข์เกิดขึ้นแก่เขา, เมื่อบุคคลที่ตนเจาะจงทำการพรรณนา
ตายไป เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้พรรณนาในขณะที่พรรณนาทีเดียว. ผู้นั้น ย่อม
ไม่รู้ข้อความนั้น ผู้อื่นรู้แล้วคิดว่า เราได้อุบายเป็นเหตุเกิดความสุขแล้วหนอ
ดังนี้ ตายไปเพราะการพรรณนานั้น ไม่เป็นอาบัติ. เมื่อภิกษุเจาะจงทำการ
//* บาลี เป็น กโรติ.

พรรณนาแก่คน 2 คน รู้คนเดียวแล้วตายไป เป็นปาราชิก, ทั้ง 2 คนตาย
เป็นปาราชิกด้วย เป็นกองอกุศลด้วย. ในบุคคลมากหลาย ก็นัยนี้, ภิกษุ
เที่ยวพรรณนาความคายไม่เจาะจง บุคคลใด ๆ รู้การพรรณนานั้น แล้วตายไป,
บุคคลนั้น ๆ ทั้งหมด เป็นอันภิกษุรูปนั้น ฆ่าแล้ว.
[อธิบายพรรณนาความตายด้วยทูตและหนังสือ]
ในการพรรณนาด้วยทูต มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นทุกกฏเมื่อภิกษุเพียง
แต่บอกข่าว่า ท่านจงไปสู่เรือน หรือบ้านชื่อโน้น แล้วพรรณนาคุณความ
ตาย แก่บุคคลมีชื่ออย่างนั้นนั่นแล. ทูตอันตนส่งไป เพื่อประโยชน์แก่บุคคลใด
เพราะทุกข์เกิดแก่บุคคลนั้น เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม, เพราะเขาตาย
เป็นปาราชิก. ทูตคิดว่า บัดนี้เรารู้ทางสวรรค์นี้แล้ว ไม่บอกแก่บุคคลนั้น
บอกแก่ญาติหรือสายโลหิตของตน, เมื่อเขาตาย เป็นผิดสังเกต, ภิกษุผู้เป็น
ต้นเดิมรอดตัวไป. ทูตคิดอย่างนั้นแล ทำกิจที่กล่าวไว้ในการพรรณนาเสียเอง
ตายไป, ผิดที่หมายเหมือนกัน. แต่เมื่อภิกษุบอกข่าวไม่เจาะจง เป็นปาณาติ
บาตประมาณเท่าจำนวนมนุษย์ที่ตายไป ด้วยการพรรณนาของทูต. ถ้ามารดา
และบิดาตายไป เป็นอนันตริยกรรมด้วย.
ในเลขาสังวรรณนา มีวินิจฉัยดังนี้:-
ข้อว่า เลขํ ฉินฺทติ มีความว่า ภิกษุเขียนหนังสือลง (จารึกอักษรลง)
ที่ใบไม้หรือที่ใบลานว่า ผู้ใด ใช้ศัสตราฆ่าตัวตาย หรือกระโดดเหวตาย
หรือตายด้วยอุบายอย่างอื่น มีการกระโดดเข้าไฟและกระโดดน้ำเป็นต้น, ผู้นั้น
จะได้สิ่งนี้ หรือว่า ฯ ล ฯ เป็นความชอบของผู้นั้น. แม้ในการเขียนหนังสือ
ที่ไม่เจาะจงนี้ บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นทุกกฏ ถุลลัจจัย และปาราชิก
โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

แต่เมื่อภิกษุเขียนหนังสือเจาะจง คนเขียนเจาะจงบุคคลใด เพราะ
ผู้นั้นนั่นแลตาย เป็นปาราชิก, เมื่อเขียนหนังสือเจาะจงบุคคลหลายคนเป็น
ปาณาติบาต มีประมาณเท่าจำนวนคนที่ตายไป, เพราะมารดาและบิดาตาย
เป็นอนันตริยกรรม. แม้ในหนังสือที่เขียนไม่เจาะจง ก็นัยนี้แล. ภิกษุ เมื่อ
เกิดความเดือดร้อนขึ้นว่า คนสัตว์เป็นอันมากจะตาย จึงเผาใบลานนั้นเสีย
หรือทำโดยประการที่อักษรทั้งหลายจะไม่ปรากฏ ย่อมพ้นได้. ถ้าใบลานนั้น
เป็นของคนอื่น, ภิกษุจะเขียนหนังสือเจาะจงก็ตาม หรือเขียนไว้ไม่เจาะจง
ก็ตาม หรือเขียนไว้ไม่เจาะจงก็ตาม วางไว้ในที่ ๆ ตนถือเอามา ย่อมพ้น.
ถ้าใบลานนั้น ย่อมเป็นของที่เขาซื้อมาด้วยมูลค่า, เธอให้ใบลานแก่เจ้าของ
ใบลานแล้ว ให้มูลค่าแก่เหล่าชนผู้ที่ตนรับเอามูลค่าจากมื้อแล้ว ย่อมพ้นได้.
ถ้าภิกษุมากรูปด้วยกันเป็นผู้มีอัธยาศัยร่วมกันว่า พวกเราจักเขียนพรรณนาคุณ
ความตาย ดังนี้, รูปหนึ่งขึ้นค้นตาลแล้ว ตัดใบตาล. รูปหนึ่งนำมา, รูป
หนึ่งทำให้เป็นใบลาน, อีกรูปหนึ่งเขียน. อีกรูปหนึ่ง ถ้า เป็นการเขียนด้วย
เหล็กจาร ก็เอาเขม่าทา: ครั้นทาเขม่าแล้ว จัดใบลานั้นเข้าเป็นผูก, เธอ
ทั้งหมดเทียวเอาไปวางไว้ที่สภา หรือที่ร้านตลาด หรือในสถานที่ ๆ ประชาชน
เป็นอันมากผู้แตกตื่นเพื่อดูหนังสือประชุมกัน. ประชาชนอ่านหนังสือนั้นแล้ว,
ถ้าตายไปคนเดียวไซร้, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด. ถ้าตายไปมากคนไซร้,
ก็มีนัยเช่นเดียวกันกับที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่เมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้น ถ้า
ภิกษุเหล่านั้น เอาใบลานนั้นเก็บไว้ในหีบ, และมีผู้อื่นพบเห็นใบลานนั้นแล้ว
นำออกมาแสดงแก่ชนเป็นอันมากอีก, เธอทั้งหมดนั้น จะไม่รอดตัวเลย, หีบ
จงยกไว้. ถ้าแม้นพวกเธอเหวี่ยงใบลานนั้นลงไป หรือล้างในแม่น้ำหรือทะเล
เสีย หั่นเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ หรือใส่ไฟเผาเสีย ก็ยังไม่รอดตัวตราบเท่า

ที่ตัวหนังสือยังปรากฏอยู่ในใบลาน แม้ที่ยังเชื่อมต่อกันได้ ซึ่งล้างไม่ดี หรือ
เผาไม่ดี. แต่เมื่อกระทำโดยประการที่อักษรทั้งหลายจะไม่ปรากฏเลย จึงรอด
ตัวไปได้ แล.

[อธิบายขุดหลุมพรางให้คนตาย]


บัดนี้ จะวินิจฉัยในนิเทศแห่งมาติกามีหลุมพรางเป็นต้น ที่ท่านพระ
อุบาลีกล่าวไว้ เพื่อแสดงวิภาคแห่งถาวรประโยค.
ข้อว่า มนุสฺสํ อุทฺทิสฺส โอปาตํ ขนติ ความว่า ภิกษุขุดหลุม
เจาะจงคนบางคนด้วยทั้งใจว่า ผู้มีชื่อนี้ จะตกไปตาย ในที่ ๆ ผู้นั้น เที่ยวไป
แต่ลำพัง. ก่อนอื่น ถ้าแม้ขุดชาตปฐพี เป็นทุกกฏทุก ๆ ประโยค แก่ภิกษุ
ผู้ขุด เพราะเป็นประโยคแห่งปาณาติบาต เป็นถุลลัจจัย เพราะก่อให้เกิดทุกข์
แก่คนผู้ที่ตนเจาะจงขุดไว้ เป็นปาราชิก เพราะเขาตาย. เมื่อผู้อื่น แม้ตกไป
ตาย ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าขุดไว้ไม่เจาะจงด้วยคิดว่า ผู้ใดใครผู้หนึ่งจักตาย
เป็นปาณาติบาตเท่าจำนวนสัตว์ที่ตกไปตาย เป็นอนันตริยกรรมในเพราะวัตถุ
แห่งอนันตริยกรรม เป็นถุลลัจจัยและปาจิตตีย์ ในเพราะวัตถุแห่งถุลลัจจัย
และปาจิตตีย์.
ถามว่า เจตนาในการขุดหลุมนั้นมีมาก เป็นปาราชิกด้วยเจตนาไหน
แก้ว่า ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาก่อนว่า เมื่อภิกษุขุดหลุม ทั้ง
โดยส่วนลึกทั้งโดยส่วนยาวและกว้าง ได้ประมาณ (ขนาด) แล้ว ถากเซาะกอง
ไว้ ใช้ปุ้งกี๋สำหรับใส่ฝุ่นโกยขึ้น เจตนาที่ยังอรรถให้สำเร็จ ซึ่งเป็นเหตุให้
ตั้งขึ้น เป็นเช่นเดียวกันกับผลในลำดับแห่งมรรค ถ้าแม้นว่าโดยล่วงไปถึงร้อย
ปี จะมีสัตว์ตกลงตายแน่นอน เป็นปาราชิกด้วยเจตนาซึ่งเป็นเหตุให้ตั้งขึ้นนั่น
เอง ส่วนในมหาปัจจรี และในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุใช้