เมนู

ข้อว่า ตํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง เข้าใจบุคคล
ที่ภิกษุผู้สั่ง สั่งให้ปลงเสียจากชีวิต แต่ไพล่ไปปลงบุคคลอื่นเช่นนั้นจากชีวิต
เสีย, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมไม่เป็นอาบัติ.
ข้อว่า อญฺญํ มญฺญมาโน ตํความว่า ภิกษุรูปใด อันภิกษุผู้สั่ง
สั่งไว้แล้ว, เธอเห็นบุคคลผู้เป็นสหายที่มีกำลังของภิกษุผู้สั่งนั้น ซึ่ง ยืนอยู่ใน
ที่ใกล้ จึงคิดว่า บุคคลผู้นี้ ย่อมขู่ด้วยกำลังของภิกษุผู้สั่งนี้, เราจะปลงบุคคล
นี้จากชีวิตเสียก่อน เมื่อจะประหาร เข้าใจว่าเป็นบุคคลที่สั่งให้ฆ่านอกนี้แน่นอน
ซึ่งเปลี่ยนกันมายืนอยู่ในที่นั้นแทนว่า เป็นสหาย จึงได้ปลงเสียจากชีวิต, เป็น
ปาราชิกด้วยกันทั้ง 2 รูป.
ข้อว่า อญฺญํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง คิด
โดยนัยก่อนนั่นแหละว่า เราจะปลงบุคคลผู้เป็นสหายคนนี้ ของภิกษุผู้สั่งนั้น
จากชีวิตเสียก่อน แล้วก็ปลงบุคคลผู้เป็นสหายนั่นแลจากชีวิต เป็นปาราชิกแก่
ภิกษุผู้รับสั่งนั้นเท่านั้น.

[อาณัตติกประโยคเรื่องสั่งทูตต่อ]


ในคำเป็นต้นว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ในนิเทสวารแห่งบทว่า
ด้วยการนำคำสั่งสืบ ๆ กันมาแห่งทูต มีวินิจฉัยดังนี้:- พึงเห็นว่าอาจารย์
รูปหนึ่ง อันเตวาสิก 3 รูป มีชื่อว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต และสังฆรักขิต.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ภิกฺขุ ภิกฺขุํ อาณาเปติ ความว่า
อาจารย์มีความประสงค์จะให้ฆ่าบุคคลบางคน จึงบอกเนื้อความนั้น แล้วสั่ง
พระพุทธรักขิต.
สองบทว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ความว่า (อาจารย์สั่งว่า)
ดูก่อนพุทธรักขิต ! คุณจงไปบอกเนื้อความนั่นแก่พระธรรมรักขิต.

ข้อว่า อิตฺถนฺนาโม อิตฺถนฺนามสฺส ปาวทตุ ความว่า แม้
พระธรรมรักชิต ก็บอกแก่พระสังฆรักขิต (ต่อไป).
ข้อว่า อิตฺถนฺนาโม อิตฺถนฺนามํ ชีวิตา โวโรเปตุ ความว่า
พระธรรมรักขิตถูกท่านสั่งไว้อย่างนั้นแล้ว ก็สั่งท่านพระสังฆรักขิต (ต่อไป)
ว่า จงปลงบุคคลชื่อนี้เสียจากชีวิต, เพราะว่าบรรดาเราทั้ง 2 ตัวท่านเป็นคน
ผู้มีชาติกล้าหาญ สามารถในกรรมนี้.
ข้อว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เป็นอาบัติทุกกฏแก่อาจารย์
ผู้สั่งอยู่อย่างนั้นก่อน.
ข้อว่า โส อิตรสฺส อาโรเจติ ความว่า พระพุทธรักขิตบอก
พระธรรมรักขิต พระธรรมรักขิต บอกพระสังฆรักขิตว่า อาจารย์ของพวกเรา
สั่งอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงปลงบุคคลชื่อนี้เสียจากชีวิต. ได้ยินว่า บรรดา
เราทั้ง 2 ตัวท่านเป็นบุรุษผู้กล้าหาญ เป็นทุกกฏ แม้แก่เธอเหล่านั้น ด้วย
การบอกต่อกันไปอย่างนั้นเป็นปัจจัย.
สองบทว่า วธโก ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า พระสังฆรักขิตรับว่า
ดีละ ผมจักปลง.
ชื่อว่า มูลฏฺฐสฺส อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส มีความว่า ครั้นเมื่อ
คำสั่งนั้น พอพระสังฆรักขิตรับแล้ว เป็นถุลลัจจัยแก่อาจารย์, แต่มหาชนอัน
อาจารย์นั้นซักนำในความชั่วแล้วแล.
สองบทว่า โส ตํ ความว่า ถ้าภิกษุนั้น คือพระสังฆรักขิตปลง
บุคคลนั้น เสียจากชีวิตไซร้, เป็นปาราชิกทั้งหมด คือทั้ง 4 คน และไม่ใช่
เพียง 4 คนอย่างเดียว, เมื่อทำไม่ให้ลักลั่น สั่งตามลำดับโดยอุบายนี้ สมณะ
ทั้งร้อย หรือสมณะตั้งพันก็ตาม เป็นปาราชิกด้วยกันทั้งหมด.

ในนิเทศแห่งบทวิสักกิยทูต มีวินิจฉัยดังนี้:-
ข้อว่า โส อญฺญํ อาณาเปติ ความว่า ภิกษุนั้น คือพระพุทธ-
รักขิต ที่อาจารย์สั่งไว้ไม่พบพระธรรมรักขิต หรือเป็นผู้ไม่อยากบอก จึงเข้า
ไปหาพระสังฆรักขิตทีเดียว แล้วทำให้ลักลั่น สั่งว่า อาจารย์ของเราสั่งไว้
อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงปลงบุคคลชื่อนี้เสียจากชีวิต. จริงอยู่ ภิกษุนี้ ท่าน
เรียกว่า วิสักกิยทูต เพราะทำให้ลักสั่นนั่นเอง.
ข้อว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส คือ เป็นทุกกฏแก่พระพุทธรักขิต
เพราะสั่งก่อน.
ข้อว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นั้น พึงทราบว่า
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมทีเดียว ในเมื่อพระสังฆรักขิตรับ. เมื่อเป็น
อย่างนั้น อาบัติในเพราะรับ ไม่พึงมี, แต่แม้ในการรับชักสื่อ และพอใจใน
การตาย ก็ยังเป็นอาบัติ, อย่างไร จะไม่พึงเป็นอาบัติ เพราะรับฆ่าเล่า
เพราะเหตุนั้น ทุกกฏ มีแก่ภิกษุผู้รับนั่นเอง, ด้วยเหตุนั่นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงไม่ตรัสคำว่า มูลฏฺฐสฺส ในนัยนี้. และแม้ในนัยก่อน ก็พึงทราบ
ทุกกฏนี้แก่ภิกษุผู้รับเหมือนกัน. แค่เพราะไม่มีโอกาส จึงไม่ตรัสทุกกฏนี้ไว้.
เพราะฉะนั้น ภิกษุใด ๆ รับ เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น ๆ เพราะมีการรับนั้นเป็น
ปัจจัยแท้, นี้เป็นความชอบใจของเราทั้งหลายในเรื่องนี้แล. เหมือนอย่างว่า
ในมนุสสวิคคหะนี้ฉันใด แม้ในอทินนาทาน ก็ฉันนั้นแล. ก็ถ้าพระสังฆรักขิต
นั้นปลงบุคคลนั้นจากชีวิตได้ไซร้, เป็นปาราชิกทั้ง 2 รูป คือ พระพุทธ-
รักขิตผู้สั่ง และพระสังฆรักขิตผู้ฆ่า, ไม่เป็นอาบัติปาราชิกแก่พระอาจารย์เป็น
ต้นเดิม เพราะการสั่งลักลั่น, ไม่เป็นอาบัติโดยประการทั้งปวงแก่พระธรารม-
รักขิต เพราะไม่รู้. ส่วนพระพุทธรักขิต ทำความสวัสดีแก่ภิกษุทั้ง 2 รูป
แล้วพินาศด้วยตนเอง ฉะนั้นแล.

ในนิเทศแห่ง คตปัจจาคตทูต มีวินิจฉัยดังนี้:-
ข้อว่า โส คนฺตฺวา ปุน ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่งนั้น
ไปสู่ที่ใกล้แห่งบุคคลซึ่งคนจะพึงปลงเสียจากชีวิตนั้น เมื่อไม่อาจปลงบุคคลนั้น
จากชีวิต เพราะเขามีการอารักขาจัดไว้ดีแล้วจึงกลับมา.
ข้อว่า ยทา สกฺโกสิ ตทา ตํ มีความว่า ภิกษุผู้สั่งนั้น สั่งใหม่ว่า
ต้องฆ่าในวันนี้ทีเดียวหรือ จึงเป็นอันฆ่า ? ไปเถิด ท่านอาจเมื่อใด จงปลง
เขาเสียจากชีวิต เมื่อนั้น.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เพราะสั่งอีกอย่างนั้น
ย่อมเป็นทุกกฏเหมือนกัน. ก็ถ้าบุคคลนั้น เป็นผู้จะพึงถูกปลงจากชีวิตแน่น
ไซร้, เจตนาที่ยังอรรถให้สำเร็จ ย่อมเป็นเช่นกับผลที่เกิดในลำดับแห่งมรรค;
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สั่งนี้ จึงเป็นปาราชิกในขณะสั่งทีเดียว. ถ้าแม้ภิกษุผู้ฆ่า
จะฆ่าบุคคลนั้นได้ โดยล่วงไป 60 ปีไซร้, และภิกษุผู้สั่ง จะทำกาลกิริยา
หรือสึกเสียในระหว่างนั้น, จักเป็นผู้ไม่ใช่สมณะทำกาลกิริยาหรือสึกแท้. ถ้า
ผู้สั่งหมายเอามารดาบิดา หรือพระอรหันต์ สั่งอย่างนั้นในเวลาเป็นคฤหัสถ์
แล้วจึงบวช, คนผู้รับสั่งฆ่าบุคคลนั้นได้ ในเมื่อผู้สั่งนั้นบวชแล้ว, ผู้สั่ง ย่อม
เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์แต่ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ทีเดียว; เพราะ
เหตุนั้น บรรพชา อุปสมบทของเขา ย่อมไม่ขึ้นเลย. ถ้าแม้บุคคลที่จะพึง
ถูกฆ่า ในขณะสั่งยังเป็นปุถุชนอยู่, แต่เป็นพระอรหันต์ในเวลาที่ถูกผู้รับสั่งฆ่า,
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลที่จะพึงถูกฆ่านั้น ได้การประหารจากผู้รับสั่งแล้วอาศัย
ศรัทธามีทุกข์เป็นมูล เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต แล้วทำกาลกิริยาไป
เพราะอาพาธนั้นนั่นเอง, ผู้สั่ง ย่อมเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ในขณะสั่งนั่นเอง,
ส่วนผู้ฆ่าย่อมเป็นปาราชิก ในขณะทำความพยายามในที่ทั้งปวงทีเดียวแล.

ก็ในบรรดาวาระทั้ง 3 ที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ เพื่อแสดงความถูก
ที่หมายและผิดที่หมาย ในบทมาติกาที่ตรัสด้วยอำนาจทูตทั้งหมดนี้นั้น บัดนี้
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวารก่อน. ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมพูดาคำนั้นเบา ๆ หรือ
เพราะภิกษุผู้รับสั่งนั้นเป็นคนหูหนวก จึงประกาศให้ได้ยินคำสั่งนี้ว่า เธอจง
อย่าฆ่า, ไม่ได้; เพราะเหตุนั้นภิกษุผู้ต้นเดิมจึงไม่พ้น. ในทุติยวาร พ้นได้
เพราะท่านประกาศให้ได้ยิน. ส่วนในตติยวาร แม้ทั้ง 2 รูป ก็พ้นได้ เพราะ
ภิกษุที่เป็นต้นเดิมนั้นประกาศให้ (ภิกษุผู้รับสั่ง) ได้ยิน และเพราะภิกษุผู้รับ
สั่งนอกนี้ ก็รับคำว่า ดีละ แล้วงดเว้นเสีย ฉะนั้นแล.
ทูตกถา จบ

เรื่องที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ


ใน อรโห รโหสัญญินิเทศ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
บทว่า อรโห ได้แก่ ต่อหน้า. บทว่า รโห ได้แก่ ลับหลัง.
บรรดาชน 2 คน (คือ ผู้มีความสำคัญต่อหน้าว่าลับหลัง และผู้มีความสำคัญ
ลับหลังว่าต่อหน้านั้น) ภิกษุใด เมื่อภิกษุผู้มีเวรกัน มาพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย
แล้วนั่งอยู่ข้างหน้านั่นเอง ในเวลาอุปัฏฐาก ไม่ทราบข้อที่เธอมา เพราะโทษ
คือความมืด พอใจความตายของภิกษุผู้มีเวรกันนั้น จึงพูดจาถ้อยคำเช่นนี้ขึ้น
ว่า เจ้าพระคุณ ! ขอให้ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ถูกฆ่า, ทำไมพวกโจร จึงไม่ฆ่ามัน
เสีย, งูจึงไม่กัดมันเสีย, ใคร ๆ จึงไม่เอาศัสตราหรือยาพิษมาวางมันเสีย,
ภิกษุนี้ ชื่อว่าผู้มีความสำคัญต่อหน้าว่าลับหลังพูดจา. อธิบายว่า ผู้มีความ
สำคัญในที่ต่อหน้านั้นว่าลับหลัง. ฝ่ายภิกษุใด เห็นภิกษุผู้มีเวรกันนั้นนั่งอยู่