เมนู

คิดว่า ท่านผู้สั่งนี้แหละ เป็นเช่นนี้, สำหรับภิกษุผู้สั่ง เป็นทุกกฏ, ภิกษุผู้ฆ่า
เป็นปาราชิก. ภิกษุผู้สั่ง สั่งหมายเอาตนเอง, ภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ ฆ่าคนอื่น
เช่นนั้นตาย ; ภิกษุผู้สั่งย่อมพ้น (จากอาบัติ), เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ฆ่าเท่านั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะไม่ได้กำหนดโอกาสไว้. แต่ถ้าภิกษุผู้สั่ง
แม้เมื่อสั่งหมายเอาตนเองก็กำหนดโอกาสไว้ว่า ท่านจงฆ่าบุคคลชื่อเห็นปานนี้
ซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะพระเถระ หรือบนอาสนะพระมัชฌิมะ ในที่พักกลางคืน
หรือที่พักกลางวัน ชื่อโน้น ให้ตาย, แต่ในโอกาสนั้น มีภิกษุรูปอื่นนั่งแทนอยู่,
ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าภิกษุผู้ที่มานั่งอยู่นั้นตาย, ภิกษุผู้ฆ่า ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ)
แน่, ภิกษุผู้สั่ง ก็ไม่พ้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะได้กำหนด
โอกาสไว้. แต่ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าเขาตาย เว้นจากโอกาสที่กำหนดไว้ ภิกษุ
ผู้สั่ง ย่อมพ้น (จากอาบัติ), นัยดังอธิบายมานี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้
เป็นหลักฐานดี ในมหาอรรถกถา, เพราะฉะนั้น ความไม่เอื้อเฟื้อในนัยนี้
บัณฑิตจึงไม่ควรทำ ฉะนี้แล.
อาณัตติกปโยคกถา ด้วยอำนาจมาติกาว่าอธิฏฐาย จบ

กถาว่าด้วยการสั่งทูต


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยใน 4 วาระมีว่า ภิกฺขุ ภิกฺขุํ อาณาเปติ
เป็นต้น ที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ เพื่อแสดงไขบทมาติกาว่า ทูเตน นี้.
ข้อว่า โส ตํ มญฺญมาโน ความว่า ภิกษุรูปใด อันภิกษุผู้สั่ง
บอกว่า บุคคลชื่อนี้, ภิกษุผู้รับสั่งรูปนั้น เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ จึงปลงบุคคล
นั้นนั่นเองเสียจากชีวิต เป็นปาราชิกด้วยกันทั้ง 2 รูป.

ข้อว่า ตํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง เข้าใจบุคคล
ที่ภิกษุผู้สั่ง สั่งให้ปลงเสียจากชีวิต แต่ไพล่ไปปลงบุคคลอื่นเช่นนั้นจากชีวิต
เสีย, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมไม่เป็นอาบัติ.
ข้อว่า อญฺญํ มญฺญมาโน ตํความว่า ภิกษุรูปใด อันภิกษุผู้สั่ง
สั่งไว้แล้ว, เธอเห็นบุคคลผู้เป็นสหายที่มีกำลังของภิกษุผู้สั่งนั้น ซึ่ง ยืนอยู่ใน
ที่ใกล้ จึงคิดว่า บุคคลผู้นี้ ย่อมขู่ด้วยกำลังของภิกษุผู้สั่งนี้, เราจะปลงบุคคล
นี้จากชีวิตเสียก่อน เมื่อจะประหาร เข้าใจว่าเป็นบุคคลที่สั่งให้ฆ่านอกนี้แน่นอน
ซึ่งเปลี่ยนกันมายืนอยู่ในที่นั้นแทนว่า เป็นสหาย จึงได้ปลงเสียจากชีวิต, เป็น
ปาราชิกด้วยกันทั้ง 2 รูป.
ข้อว่า อญฺญํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง คิด
โดยนัยก่อนนั่นแหละว่า เราจะปลงบุคคลผู้เป็นสหายคนนี้ ของภิกษุผู้สั่งนั้น
จากชีวิตเสียก่อน แล้วก็ปลงบุคคลผู้เป็นสหายนั่นแลจากชีวิต เป็นปาราชิกแก่
ภิกษุผู้รับสั่งนั้นเท่านั้น.

[อาณัตติกประโยคเรื่องสั่งทูตต่อ]


ในคำเป็นต้นว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ในนิเทสวารแห่งบทว่า
ด้วยการนำคำสั่งสืบ ๆ กันมาแห่งทูต มีวินิจฉัยดังนี้:- พึงเห็นว่าอาจารย์
รูปหนึ่ง อันเตวาสิก 3 รูป มีชื่อว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต และสังฆรักขิต.
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ภิกฺขุ ภิกฺขุํ อาณาเปติ ความว่า
อาจารย์มีความประสงค์จะให้ฆ่าบุคคลบางคน จึงบอกเนื้อความนั้น แล้วสั่ง
พระพุทธรักขิต.
สองบทว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ความว่า (อาจารย์สั่งว่า)
ดูก่อนพุทธรักขิต ! คุณจงไปบอกเนื้อความนั่นแก่พระธรรมรักขิต.