เมนู

เล่มนี้ฆ่า ผู้รับสั่งใช้ดาบเล่มอื่นฆ่า หรือถูกสั่งว่า จงเอาคมดาบเล่มเดียวนี้
เท่านั้นฆ่า แต่ภิกษุผู้รับสั่ง ใช้คมคาบนอกนี้หรือใช้ฝ่ามือ หรือใช้จะงอยปาก
หรือใช้ด้ามกระบี่ฆ่า. ย่อมผิด ที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมายและ
ผิดที่หมายในความแตกต่างกันแห่งอาวุธทั้งปวง โดยนัยนี้.

[อธิบายอิริยาบถที่สั่งให้ทำการฆ่า]


ส่วนในอิริยาบถ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจง
ฆ่าบุคคลผู้นั่น ซึ่งกำลังเดินให้ตาย, แต่แม้ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าบุคคลผู้
กำลังเดินไปตาย ย่อมไม่ผิดที่หมาย. เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งว่า ท่านจงฆ่าบุคคล
ผู้กำลังเดินอยู่เท่านั้น ให้ตาย แต่ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าบุคคลผู้นั่งอยู่ตาย. หรือ
ภิกษุผู้สั่ง สั่งว่า ท่านจงฆ่าบุคคลผู้นั่งอยู่เท่านั้น ให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่ง
ฆ่าบุคคลผู้กำลังเดินไปตาย, ย่อมผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมาย
และผิดที่หมาย ในความต่างแห่งอิริยาบถทั้งปวง โดยนัยนี้.

[อธิบายกิริยาพิเศษที่สั่งให้ทำการฆ่า]


แม้ในกิริยาพิเศษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจง
แทงให้ตาย ภิกษุผู้รับสั่งนั้น แทงให้ตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใด
ถูกสั่งว่า จงแทงให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ตัด (ฟัน) ให้ตายเทียว, ย่อม
ผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมายและผิดที่หมาย ในความต่างกัน
แห่งกิริยาพิเศษทั้งปวง โดยนัยนี้.
ส่วนภิกษุรูปใด สั่ง ไม่กำหนด ด้วยอำนาจเพศว่า ท่านจงฆ่าคนผู้ที่
สูง ต่ำ ดำ ขาว ผอม อ้วน ให้ตาย, และภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าคนใดคนหนึ่ง
เช่นนั้นตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. เป็นปาราชิกด้วยกันทั้ง 2 รูป. แต่ถ้าภิกษุ
ผู้สั่งนั้น สั่งหมายเอาตนเอง, และภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าภิกษุผู้สั่งนั้นเองตาย ด้วย

คิดว่า ท่านผู้สั่งนี้แหละ เป็นเช่นนี้, สำหรับภิกษุผู้สั่ง เป็นทุกกฏ, ภิกษุผู้ฆ่า
เป็นปาราชิก. ภิกษุผู้สั่ง สั่งหมายเอาตนเอง, ภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ ฆ่าคนอื่น
เช่นนั้นตาย ; ภิกษุผู้สั่งย่อมพ้น (จากอาบัติ), เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ฆ่าเท่านั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะไม่ได้กำหนดโอกาสไว้. แต่ถ้าภิกษุผู้สั่ง
แม้เมื่อสั่งหมายเอาตนเองก็กำหนดโอกาสไว้ว่า ท่านจงฆ่าบุคคลชื่อเห็นปานนี้
ซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะพระเถระ หรือบนอาสนะพระมัชฌิมะ ในที่พักกลางคืน
หรือที่พักกลางวัน ชื่อโน้น ให้ตาย, แต่ในโอกาสนั้น มีภิกษุรูปอื่นนั่งแทนอยู่,
ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าภิกษุผู้ที่มานั่งอยู่นั้นตาย, ภิกษุผู้ฆ่า ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ)
แน่, ภิกษุผู้สั่ง ก็ไม่พ้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะได้กำหนด
โอกาสไว้. แต่ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าเขาตาย เว้นจากโอกาสที่กำหนดไว้ ภิกษุ
ผู้สั่ง ย่อมพ้น (จากอาบัติ), นัยดังอธิบายมานี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้
เป็นหลักฐานดี ในมหาอรรถกถา, เพราะฉะนั้น ความไม่เอื้อเฟื้อในนัยนี้
บัณฑิตจึงไม่ควรทำ ฉะนี้แล.
อาณัตติกปโยคกถา ด้วยอำนาจมาติกาว่าอธิฏฐาย จบ

กถาว่าด้วยการสั่งทูต


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยใน 4 วาระมีว่า ภิกฺขุ ภิกฺขุํ อาณาเปติ
เป็นต้น ที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ เพื่อแสดงไขบทมาติกาว่า ทูเตน นี้.
ข้อว่า โส ตํ มญฺญมาโน ความว่า ภิกษุรูปใด อันภิกษุผู้สั่ง
บอกว่า บุคคลชื่อนี้, ภิกษุผู้รับสั่งรูปนั้น เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ จึงปลงบุคคล
นั้นนั่นเองเสียจากชีวิต เป็นปาราชิกด้วยกันทั้ง 2 รูป.