เมนู

ไม่มีวธกเจตนา เธอจึงไม่ถูกต้องกรรม ทั้งไม่ต้องอาบัติ. ส่วนภิกษุใด เมื่อ
กำลังสอด (ดาบหรือหอกนั้น) เข้าไปด้วยอาการอย่างนั้น กำหนดได้ว่าสัมผัส
กับร่างกาย ก็สอดเข้าไปฆ่าให้ตายด้วยคิดว่า ชะรอยจะมีสัตว์อยู่ภายโนจงตาย
เสียเถอะ. กรรมพันธ์ (ข้อผูกพันทางกรรม) และอาบัติของเธอนั้น พึงทราบ
โดยสมควรแก่เรื่องเหล่านั้น. เมื่อภิกษุสอด (ดาบหรือหอกนั้น ) เข้าไปเพื่อ
เก็บไว้ในกองฟางนั้นก็ดี โยนเข้าไปที่พุ่มไม้ป่าเป็นต้น ก็ดี ก็นัยนี้.

[ภิกษุฆ่าพ่อในสนามรบเป็นทั้งปาราชิกและปิตุฆาต]


ภิกษุใด คิดว่า เราจะฆ่าโจรให้ตาย แล้วก็ฆ่าบิดาซึ่งกำลังเดินไปด้วย
เพศเหมือนโจรตาย ภิกษุนั้น ย่อมถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย เป็นปาราชิกด้วย.
ส่วนภิกษุใด เห็นนักรบคนอื่นและบิดาซึ่งกำลังทำงาน (การรบ) อยู่ในเสนา
ฝ่ายข้าศึก จึงยิงลูกศรไปเฉพาะตัวนักรบ ด้วยติดในใจว่า ลูกศรแทงนักรบ
คนนั้นแล้วจักแทงบิดาของเรา. ภิกษุรูปนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นปิติฆาตก์ (ผู้ฆ่า
บิดา) ในเมื่อลูกศรพุ่งไปตามความประสงค์. เธอคิดอยู่ในใจว่า เมื่อนักรบ
ถูกลูกศรแทงแล้ว บิดาของเราก็จักหนีไป ดังนี้แล้วจึงยิงลูกศรไป ลูกศรไม่
พุ่งไปตามความประสงค์ กลับทำให้บิดาตาย เธอรูปนั้น ท่านเรียก ปิตุฆาตก์
(ผู้ฆ่าบิดา) ด้วยอำนาจแห่งโวหาร แต่ไม่เป็นอนันตริยกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
บทว่า อธิฏฺฐิหิตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในที่ใกล้. บทว่า อาณาเปติ
ได้แก่ ภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวหรือไม่เจาะตัว. บรรดาการสั่งเจาะตัวไม่เจาะตัวนั้น
ครั้นหมู่เสนาฝ่ายข้าศึก ปรากฏขึ้นเฉพาะแล้ว เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งไม่เจาะตัว
เลยว่า เธอจงแทงอย่างนี้ จงประหารอย่างนั้น จงฆ่าอย่างนี้ เป็นปาณาติบาต
แก่เธอทั้ง 2 รูป มีประมาณเท่าจำนวนข้าศึกที่ภิกษุผู้รับสั่งฆ่า. บรรดาภิกษุ

ผู้สั่งและผู้รับสั่งนั้น ถ้าภิกษุผู้สั่งมีมารดาและบิดาอยู่ด้วย, เธอผู้สั่ง ย่อมต้อง
อนันตริยกรรมด้วย, ถ้ามีพระอรหันต์อยู่ด้วย, เธอแม้ทั้ง 2 รูป ย่อมต้อง
อนันตริยกรรมด้วย. ถ้าภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นมีมารดาและบิดาอยู่ (ในสนามรบ),
ภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นแล ย่อมต้องอนันตริยกรรม. แต่เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวว่า
เธอจงแทง จงประหารจงฆ่านักรบคนนั้น ผู้สั่ง ต่ำ มีเสื้อสีแดง มีเสื้อสีเขียว
ซึ่งนั่งอยู่บนคอช้าง (หรือ) นั่งอยู่ตรงกลาง (หลังช้าง), ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น
ฆ่านักรบคนนั้นนั่นเอง, เป็นปาณาติบาตแม้ด้วยกันทั้ง 2 รูป, และในเรื่อง
แห่งอนันตริยกรรม ย่อมต้องอนันตริยกรรมด้วยกันทั้ง 2 รูป. ถ้าภิกษุผู้รับ
สั่งฆ่าคนอื่นตาย, ปาณาติบาต ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง. อาณัตติกประโยค
ย่อมเป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วยคำว่า อธิฏฺฐหิตฺวา อาณาเปติ เป็นต้นนั่น.

[ฐานะ 5 และ 6 พร้อมทั้งอรรถาธิบาย]


โนอาณัตติกประโยคนั้น :-
ผู้พิจารณาที่ฉลาด พึงสอบสวน
ฐานะ 5 ประการ คือ วัตถุ กาล โอกาส
อาวุธ และอิริยาบถ แล้วพึงทรงไว้ซึ่ง
อรรถคดี.

อีกนัยหนึ่ง:-
เหตุทำให้การสั่งแน่นอน (สำเร็จได้)
มี 6 อย่างนี้ คือ วัตถุ กาล โอกาส อาวุธ
อิริยาบถ และกิริยาพิเศษ.

บรรดาฐานะมีวัตถุเป็นต้นนั้น ฐานะว่า วัตถุ ได้แก่ สัตว์ที่จะพึง
ถูกฆ่าให้ตาย.