เมนู

ตาย ดังนี้ จึงฆ่ามารดาบิดาหรือพระอรหันต์ตาย. เพราะมีเจตนาอยู่ว่า เรา
จะฆ่าวัตถุนี้ให้ตาย เธอจึงเป็นผู้ฆ่าด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้อง
ปาราชิกด้วย. มีคนอาคันตุกะอื่นบางคนนอนอยู่. เธอทำในใจว่า เราจะฆ่า
แพะให้ตาย จึงฆ่าคนอาคันตุกะนั้นตาย จัดเป็นฆาตกรด้วย ต้องปาราชิกด้วย
แต่ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม. มียักษ์หรือเปรตนอนอยู่. เธอนั้นทำในใจว่า
เราจะฆ่าแพะให้ทาย จึงฆ่ายักษ์หรือเปรตนั้นตาย, เป็นเฉพาะฆาตกร ไม่ถูก
ต้องอนันตริยกรรมและไม่ต้องปาราชิก แต่เป็นถุลลัจจัย. ไม่มีใคร ๆ อื่นนอน
อยู่ มีแต่แพะเท่านั้น. เธอฆ่าแพะตัวนั้นตาย เป็นฆาตกรด้วย ต้องปาจิตตีย์
ด้วย. ภิกษุใดทำในใจว่า เราจะฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์ คนใดคนหนึ่ง
ให้ตาย ดังนี้แล้ว ก็ฆ่าบรรดาท่านเหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคนหนึ่งให้ตาย
ภิกษุนั้น เป็นฆาตกรด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้องปาราชิกด้วย. เธอ
ทำในใจว่า เราจักฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์เหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคน
หนึ่งให้ตาย แล้วก็ฆ่าอาคันตุกะคนอื่นตาย หรือฆ่ายักษ์เปรตหรือแพะตาย.
ผู้ศึกษาหญิงทราบ (อาบัติคือปาราชิก ถุลลัจจัยและปาจิตตีย์) โดยนัยดังกล่าว
แล้วในก่อนนั่นแล. แต่โนวิสัยแห่งการฆ่าสัตว์มีอาคันตุกะเป็นต้นนี้ เจตนา
ย่อมเป็นของทารุณ แล.

[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นในกองฟางไม่ต้องปาราชิก]


ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ ผู้ศึกษาควรทราบเรื่องทั้งหลายแม้เหล่าอื่น
มีกองฟางเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุใด ทำในใจว่า เราจักเช็คดาบหรือที่เปื้อนT
เลือด แล้วสอดเข้าไปในกองฟาง ฆ่ามารดาก็ดี บิดาก็ดี พระอรหันต์ก็ดี
คนอาคันตุกะก็ดี ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งนอนอยู่ในกองฟาง
นั้นตาย ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจแห่งโวหาร เรียกว่า ฆาตกร ได้ แต่เพราะ

ไม่มีวธกเจตนา เธอจึงไม่ถูกต้องกรรม ทั้งไม่ต้องอาบัติ. ส่วนภิกษุใด เมื่อ
กำลังสอด (ดาบหรือหอกนั้น) เข้าไปด้วยอาการอย่างนั้น กำหนดได้ว่าสัมผัส
กับร่างกาย ก็สอดเข้าไปฆ่าให้ตายด้วยคิดว่า ชะรอยจะมีสัตว์อยู่ภายโนจงตาย
เสียเถอะ. กรรมพันธ์ (ข้อผูกพันทางกรรม) และอาบัติของเธอนั้น พึงทราบ
โดยสมควรแก่เรื่องเหล่านั้น. เมื่อภิกษุสอด (ดาบหรือหอกนั้น ) เข้าไปเพื่อ
เก็บไว้ในกองฟางนั้นก็ดี โยนเข้าไปที่พุ่มไม้ป่าเป็นต้น ก็ดี ก็นัยนี้.

[ภิกษุฆ่าพ่อในสนามรบเป็นทั้งปาราชิกและปิตุฆาต]


ภิกษุใด คิดว่า เราจะฆ่าโจรให้ตาย แล้วก็ฆ่าบิดาซึ่งกำลังเดินไปด้วย
เพศเหมือนโจรตาย ภิกษุนั้น ย่อมถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย เป็นปาราชิกด้วย.
ส่วนภิกษุใด เห็นนักรบคนอื่นและบิดาซึ่งกำลังทำงาน (การรบ) อยู่ในเสนา
ฝ่ายข้าศึก จึงยิงลูกศรไปเฉพาะตัวนักรบ ด้วยติดในใจว่า ลูกศรแทงนักรบ
คนนั้นแล้วจักแทงบิดาของเรา. ภิกษุรูปนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นปิติฆาตก์ (ผู้ฆ่า
บิดา) ในเมื่อลูกศรพุ่งไปตามความประสงค์. เธอคิดอยู่ในใจว่า เมื่อนักรบ
ถูกลูกศรแทงแล้ว บิดาของเราก็จักหนีไป ดังนี้แล้วจึงยิงลูกศรไป ลูกศรไม่
พุ่งไปตามความประสงค์ กลับทำให้บิดาตาย เธอรูปนั้น ท่านเรียก ปิตุฆาตก์
(ผู้ฆ่าบิดา) ด้วยอำนาจแห่งโวหาร แต่ไม่เป็นอนันตริยกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
บทว่า อธิฏฺฐิหิตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในที่ใกล้. บทว่า อาณาเปติ
ได้แก่ ภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวหรือไม่เจาะตัว. บรรดาการสั่งเจาะตัวไม่เจาะตัวนั้น
ครั้นหมู่เสนาฝ่ายข้าศึก ปรากฏขึ้นเฉพาะแล้ว เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งไม่เจาะตัว
เลยว่า เธอจงแทงอย่างนี้ จงประหารอย่างนั้น จงฆ่าอย่างนี้ เป็นปาณาติบาต
แก่เธอทั้ง 2 รูป มีประมาณเท่าจำนวนข้าศึกที่ภิกษุผู้รับสั่งฆ่า. บรรดาภิกษุ