เมนู

บรรดาประโยคเจาะจงและไม่เจาะจงนั้น พึงทราบวินิจฉัยในประโยค
เจาะจง ดังต่อไปนี้:- ภิกษุประหารเจาะจงผู้ใด ด้วยการตายของผู้นั้นนั่นแล
ภิกษุนั้นย่อมถูกกรรมผูกพัน. ในประโยกที่ไม่เจาะจงอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง จง
ตาย ดังนี้ ด้วยการตายของผู้ใดผู้หนึ่ง เพราะการประหารเป็นปัจจัย ภิกษุ
ย่อมถูกกรรมผูกพัน. ทั้ง 2 ประโยคผู้ถูกประหารจะตายในขณะพอถูกประหาร
หรือจะตายในภายหลังด้วยโรคนั้นก็ตามที ภิกษุย่อมถูกกรรมผูกพันในขณะที่ผู้
ตายถูกประหารนั่นเอง. แต่เมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความประสงค์เพื่อการตาย
เมื่อผู้ถูกประหารไม่ตายด้วยการประหารนั้น จึงให้การประหารด้วยจิตดวงอื่น
ต่อไป ถ้าผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารครั้งแรก แม้ในภายหลัง ภิกษุถูก
กรรมผูกพันในเวลาประหารครั้งแรกเท่านั้น ถ้าตายด้วยการประหารครั้งที่ 2
ไม่มีปาณาติบาต. แม้เมื่อผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารทั้ง 2 ครั้ง ภิกษุก็
ถูกกรรมผูกพันแท้ ด้วยการประหารครั้งแรกนั่นเอง. เมื่อไม่ตายด้วยการ
ประหารทั้ง 2 คราวก็ไม่มีปาณาติเหมือนกัน. ในการที่คนแม้มากให้
การประหารแก่บุคคลผู้เดียว ก็นัยนี้ ถึงในการที่คนมากคนให้การประหารแม้
นั้น ผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารของผู้ใด กรรมพันธ์ ย่อมมีแก่ผู้นั้นเท่า
นั้น ฉะนี้แล.

[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นเป็นอนันตริยกรรมและปาราชิก]


อนึ่ง ในอธิการแห่งตติยปาราชิกนี้ เพื่อความฉลาดในกรรมและอาบัติ
พึงทราบแม้หมวด 4 ว่าด้วยเรื่องแพะ. จริงอยู่ ภิกษุรูปใด สำรวจดูแพะซึ่ง
นอนอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยคิดในใจว่า เราจักมาฆ่าในเวลากลางคืน. และ
มารดาหรือบิดาของภิกษุนั้นหรือพระอรหันต์ห่มผ้ากาสาวะสีเหลือง แล้ว นอน
อยู่ในโอกาสที่แพะนอน. เธอเวลากลางคืน ทำในในว่า เราจะฆ่าแพะให้

ตาย ดังนี้ จึงฆ่ามารดาบิดาหรือพระอรหันต์ตาย. เพราะมีเจตนาอยู่ว่า เรา
จะฆ่าวัตถุนี้ให้ตาย เธอจึงเป็นผู้ฆ่าด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้อง
ปาราชิกด้วย. มีคนอาคันตุกะอื่นบางคนนอนอยู่. เธอทำในใจว่า เราจะฆ่า
แพะให้ตาย จึงฆ่าคนอาคันตุกะนั้นตาย จัดเป็นฆาตกรด้วย ต้องปาราชิกด้วย
แต่ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม. มียักษ์หรือเปรตนอนอยู่. เธอนั้นทำในใจว่า
เราจะฆ่าแพะให้ทาย จึงฆ่ายักษ์หรือเปรตนั้นตาย, เป็นเฉพาะฆาตกร ไม่ถูก
ต้องอนันตริยกรรมและไม่ต้องปาราชิก แต่เป็นถุลลัจจัย. ไม่มีใคร ๆ อื่นนอน
อยู่ มีแต่แพะเท่านั้น. เธอฆ่าแพะตัวนั้นตาย เป็นฆาตกรด้วย ต้องปาจิตตีย์
ด้วย. ภิกษุใดทำในใจว่า เราจะฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์ คนใดคนหนึ่ง
ให้ตาย ดังนี้แล้ว ก็ฆ่าบรรดาท่านเหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคนหนึ่งให้ตาย
ภิกษุนั้น เป็นฆาตกรด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้องปาราชิกด้วย. เธอ
ทำในใจว่า เราจักฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์เหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคน
หนึ่งให้ตาย แล้วก็ฆ่าอาคันตุกะคนอื่นตาย หรือฆ่ายักษ์เปรตหรือแพะตาย.
ผู้ศึกษาหญิงทราบ (อาบัติคือปาราชิก ถุลลัจจัยและปาจิตตีย์) โดยนัยดังกล่าว
แล้วในก่อนนั่นแล. แต่โนวิสัยแห่งการฆ่าสัตว์มีอาคันตุกะเป็นต้นนี้ เจตนา
ย่อมเป็นของทารุณ แล.

[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นในกองฟางไม่ต้องปาราชิก]


ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ ผู้ศึกษาควรทราบเรื่องทั้งหลายแม้เหล่าอื่น
มีกองฟางเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุใด ทำในใจว่า เราจักเช็คดาบหรือที่เปื้อนT
เลือด แล้วสอดเข้าไปในกองฟาง ฆ่ามารดาก็ดี บิดาก็ดี พระอรหันต์ก็ดี
คนอาคันตุกะก็ดี ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งนอนอยู่ในกองฟาง
นั้นตาย ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจแห่งโวหาร เรียกว่า ฆาตกร ได้ แต่เพราะ