เมนู

ส่วนพระอาจารย์บางพวก แสดงพระสูตรทั้งหลายเป็นต้นว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องอื่นยังมีอยู่อีก สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีฤทธิ์ ถึงความ
เป็นผู้มีความชำนาญแห่งจิต ย่อมเป็นผู้เพ่งเล็งทารกที่อยู่ในท้องของหญิงอื่น
ด้วยใจอันลามกว่า ทำไฉนหนอ หญิงคนนี้ไม่พึงตลอดทารกที่อยู่ในท้องนั้น
โดยความสวัสดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็เป็นการเบียดเบียนสัตว์ที่
อยู่ในครรภ์ ดังนี้ แล้วกล่าวถึงกรรม คือการเบียดเบียนสัตว์อื่น แม้ด้วย
ภาวนามยฤทธิ์, และปรารถนาความพินาศไปแห่งฤทธิ์ พร้อมกับการเบียดเบียน
สัตว์อื่นเหมือนการแตกแห่งหม้อน้ำ ที่เขาโยนขึ้นไปบนเรือนที่ถูกไฟไหม้
ฉะนั้น. คำที่กล่าวมานั้น เป็นแค่เพียงความปรารถนาของเกจิอาจารย์เหล่านั้น
เท่านั้น. เพราะเหตุไร ?. เพราะไม่สมด้วย กุสลัตติกะ เวทนัตติกะ
วิตักกัตติกะ และปริตตัตติกะ,
ข้อนี้อย่างไร ?. ก็ชื่อว่าภาวนามยฤทธิ์นี้
ในกุสลัทติกะ เป็นทั้งกุศลด้วย เป็นทั้งอัพยากฤตด้วย, ปาณาติบาตเป็นอกุศล,
ในเวทนัตติกะ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข ; ปาณาติบาตสัมปยุตด้วยทุกข์ ใน
วิตักกัตติกะ เป็นอวิตักกอวิจาร, ปาณาติบาตเป็นสวิตักกสวิจาระ, ในปริต-
ตัตติกะเป็นมหัคคตะ, ปาณาติบาต เป็นปริตตะ

[อธิบายวัตถุที่เป็นเครื่องประหาร]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย นี้ดัง
ต่อไปนี้:- เครื่องประหารใด ย่อมนำเสีย ; เหตุนั้น เครื่องประหารนั้น
ชื่อว่า สิ่งนำเสีย. ถามว่า นำเสียซึ่งอะไร ? ตอบว่า นำเสียซึ่งชีวิต. อีก
อย่างหนึ่ง เครื่องประหารใด อันบุคคลพึงนำไป ; เหตุนั้น เครื่องประหารนั้น
ชื่อว่าสิ่งอันบุคคลพึงนำไป อธิบายว่า ; เครื่องประหารอันบุคคลพึงจัดเตรียม
ไว้ ศัสตรานั้นด้วย เป็นสิ่งนำเสียด้วย ; เหตุนั้น ชื่อศัสตราอันนำเสีย.

บทว่า อสฺส ได้แก่ กายของมนุษย์.
บทว่า ปริเยเสยฺย มีความว่า พึงทำโดยประการที่ตนจะได้. อธิบาย
ว่า พึงจัดเตรียมไว้. ด้วยคำว่า สตฺถหารกํ สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถาวรประโยค. เมื่อจะถือเอาเนื้อความแม้โดย
ประการอื่นจากนี้แล้ว ภิกษุจะพึงเป็นปาราชิกด้วยเหตุสักว่า ศัสตราอันตนแสวง
หามาแล้วเท่านั้น. อันที่จริง ข้อนั้นไม่ถูก แต่ในพระบาลี ท่านพระอุบาลี
เถระ ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะทั้งปวง เพื่อจะแสดงเฉพาะศัสตราที่สงเคราะห์เข้า
ในถาวรประโยค ในคำว่า สตฺถหารกํ นี้ เท่านั้น จึงกล่าวไว้ในบทภาชนะ
ว่า อสึ วา ฯ เป ฯ รชฺชํ วา ดังนี้. บรรดาเครื่องประหารเหล่านั้น เครื่อง
ประหารที่มีดมชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากที่กล่าวแล้ว พึงทราบว่า
เป็นศัสตรา. และพึงทราบว่า สงเคราะห์ไม้ค้อน ก้อนหิน ยาพิษและเชือก
เข้าเป็นศัสตราด้วย เพราะเป็นเครื่องผลาญชีวิตให้พินาศ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มรณวณฺณํ วา นี้ ดังต่อไปนี้:- ภิกษุ
แม้แสดงโทษในความเป็นอยู่ โดยนัยมีคำว่า จะมีประโยชน์อะไร ด้วยความ
เป็นอยู่อันชั่วช้าลามกเช่นนี้ ของท่านผู้ไม่ได้เพื่อบริโภคโภชนะอันดี ดังนี้เป็น
ต้น แม้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความตาย โดยนัยมีคำว่า อุบาสก ! ท่านแล
เป็นผู้ทำกรรมงามไว้แล้ว ฯลฯ บาปท่านไม่ได้ทำเลย ความตายของท่านดีกว่า
ความเป็นอยู่ ท่านทำกาละจากอัตภาพนี้แล้ว ฯลฯ จักยังตนให้เที่ยวไป คือ
จักมีนางอัปสรแวดล้อม ถึงความสุข อยู่ในสวนนันทวัน ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า
พรรณนาคุณแห่งความตายทีเดียว. ฉะนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวบท-
ภาชนะแยกออกเป็น 2 ส่วนว่า ชี้โทษในความเป็นอยู่ 1 สรรเสริญคุณใน
ความตาย 1.

คำว่า มรณาย วา สมาทเปยฺย มีความว่า พึงแนะนำให้ฉวย
เอาอุบาย เพื่อประโยชน์แก่ความตาย. ส่วนคำว่า ท่านจงตกบ่อตายหรือว่าจง
ตกเหวตาย เป็นต้น แม้ที่พระอุบาลีเถรมิได้กล่าวไว้ ในคำมีอาทิว่า สตฺถํ
วา อาหร
ดังนี้ ทั้งหมด ก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้วโดยใจความนั้น
เอง เพราะเป็นคำซึ่งมีนัยดังกล่าวแล้วข้างหน้า. จริงอยู่ ใคร ๆ ก็ไม่สามารถ
กล่าวคำชักชวนทุกอย่างโดยสิ้นเชิงได้.
บทว่า อิติ จิตฺตมโน มีความว่า เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนั้น
อธิบายว่า เธอมีจิตหมายความตาย มีใจหมายความตายดังกล่าวแล้วในคำนี้ว่า
ความตายของท่านดีกว่าความเป็นอยู่ ก็เพราะในบทว่า จิตฺตมโน นี้ มนศัพท์
ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงใจความแห่งจิตตศัพท์ แต่จิตและใจ แม้ทั้ง 2 นี้
โดยใจความ ก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง ; เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความไม่ต่าง
กัน โดยใจความแห่งจิตและใจนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า ธรรม-
ชาติอันใด เป็นจิต ธรรมชาติอันนั้น ก็คือใจ, ธรรมชาติอันใดเป็นใจ ธรรม-
ชาติอันนั้น ก็คือจิต. ส่วนเนื้อความยังไม่ได้กล่าวก่อน แม้เพราะถอนอิติศัพท์
ออกเสีย. อิติศัพท์ พึงชักมาด้วยอำนาจเป็นเจ้าหน้าที่ในบทว่า จิตฺดสงฺกปฺโป
นี้.
จริงอยู่ บทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นี้ แม้ไม่ได้ตรัสอย่างนี้ว่า อิติ-
จิตฺตสงฺกปฺโป
ก็พึงทราบว่า เป็นอันตรัสแล้วโดยความเป็นเจ้าหน้าที่นั่นเอง.
จริงอย่างนั้น เมื่อท่านจะแสดงเฉพาะเนื้อความนั้น แห่งบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป
นั้น จึงกล่าวว่าคำว่า มรณสญฺญี (มีความหมายในอันตาย) เป็นอาทิ. แต่คำ
ว่า สงฺกปฺโป นี้ ในบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นั้น มิได้เป็นชื่อของวิตก อันที่
แท้ คำนั้นเป็นคำเรียกกรรมเพียงการจัดแจง และการจัดแจงนั้นย่อมถึงความ

สงเคราะห์ด้วยความหมาย ความจงใจ และความประสงค์ในอรรถนี้ ; เพราะ
เหตุนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ชื่อว่าผู้มีจิตตสังกัปปะ เพราะ
อรรถวิเคราะห์ว่า เธอมีความจัดแจงแปลก คือมีประการต่าง ๆ. จริงอย่างนั้น
แม้บทภาชนะแห่งบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นั้น ท่านพระอุบาลีเถระ ก็กล่าว
ด้วยอำนาจแห่งความหมาย ความจงใจ และความประสงค์. แต่ในอธิการนี้
วิตก พึงทราบว่า เป็นความประสงค์.
สองบทว่า อุจฺจาวเจหิ อากาเรหิ มีความว่า ด้วยอุบายทั้งหลาย
ที่ใหญ่และใหญ่โดยลำดับ. บรรดาการพรรณนาคุณความตายและการชักชวน
ในความตายเหล่านั้น ในการพรรณนาคุณความตายก่อน อวจาการตา พึง
ทราบ ด้วยอำนาจการชี้โทษในความเป็นอยู่ อุจฺจาการตา พึงทราบ ด้วย
อำนาจการสรรเสริญคุณแห่งความตาย. ส่วนในการชักชวน อุจฺจาการตา พึง
ทราบ ด้วยอำนาจการชักชวนในความตาย เพราะเหตุทั้งหลาย มีกำมือและ
ปรบเข่าเป็นต้น อวจาการตา พึงทราบ ด้วยอำนาจการใส่ยาพิษเข้าในเล็บ
มือ ของบุคคลผู้บริโภคร่วมกัน แล้วชักชวนในความตายเป็นต้น.
ในคำว่า โสพฺเภ วา นรเก วา ปปาเต วา นี้มีวินิจฉัยดังนี้:-
บ่อที่ลึก ซึ่งมีตลิ่งชันโดยรอบชื่อว่า โสพภะ. ที่ชื่อว่า นรก ได้ แก่ ชอก
ใหญ่ที่เกิดเองโดยแท้ ในเมื่อพื้นดินแตกระแหงในที่นั้น ๆ อันเป็นที่ซึ่งช้างตก
ไปบ้าง พวกโจรแอบซ่อนอยู่บ้าง. ที่ชื่อว่า ปปาตะ ได้แก่ ประเทศที่ขาด
แหว่งข้างเดียว ในระหว่างภูเขา หรือในระหว่างบนบก.
สองบทว่า ปุริเม อุปาทาย ความว่า ทรงเทียบเคียงบุคลผู้เสพ
เมถุนธรรมและผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ แล้วต้องอาบัติปาราชิก. คำ
ที่เหลือ ปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในก่อน และเพราะมีเนื้อ
ความตื้น ฉะนี้แล.

[อธิบายมาติกาในบทภาชนีย์]


ท่านพระอุบาลีเถระ ครั้นจำแนกสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อุเทศไว้แล้วตามลำดับบทอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะตั้งมาติกาแสดงมนุสสวิคคห-
ปาราชิกโดยพิสดารไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สามํ อธิฏฺฐาย ดังนี้อีก เพื่อให้
ภิกษุทั้งหลายถือเอานัยโดยอาการทุกอย่าง และเพื่อป้องกันโอกาสของปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต เพราะเหตุว่า มนุสสวิคคหปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงในบทภาชนีย์ในหนหลัง โดยสังเขปเท่านั้น ไม่ได้ทรงยกอาบัติขึ้น
ปรับแล้ววางแบบแผนไว้โดยพิสดาร และภิกษุทั้งหลาย ไม่สามารถจะถือเอา
นัยไว้โดยอาการทั้งปวง ในเนื้อความที่ทรงแสดงไว้โดยสังเขป ทั้งแม้ปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต ก็มีโอกาส จึงกล่าวคำว่า สามนฺติ สยํ หนติ ดังนี้
เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น มีถ้อยคำสำหรับวินิจฉัยพร้อมด้วยการพรรณนาบทที
ยังไม่ง่าย ดังต่อไปนี้:-
บทว่า กาเยน ความว่า ด้วยมือ เท้า กำมือ หรือเข่า หรือด้วยอวัยวะ
น้อยใหญ่ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า กายปฏิพทฺเธน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีดาบเป็นต้น
ที่ไม่พ้นจากกาย.
บทว่า นิสฺสคฺคิเยน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีลูกศรและหอก
เป็นต้น ที่พ้นจากกาย หรือจากของที่เนื่องด้วยกาย ด้วยลำดับแห่งคำเพียง
เท่านี้ ประโยคทั้ง 2 คือ สาหัตถิกประโยคและนิสสัคคิยประโยคเป็นอันท่าน
กล่าวแล้ว. ในประโยคทั้ง 2 นั้น แต่ละประโยคมี 2 อย่าง โดยจำแนกเป็น
ประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง.