เมนู

ท่าน ดีกว่าความเป็นอยู่. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ท่านเป็นผู้ทำกาละแล้ว
คือมีกาละอันทำแล้ว อธิบายว่าทำกาลกิริยา คือตายแล้วจากโลกนี้ ต่อจาก
ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ และท่านเข้าถึงแล้วอย่างนั้น จัก
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 คือส่วนแห่งวัตถุกาม 5 มีรูปเป็นที่น่าชอบใจ
เป็นต้น อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น ยังอัตภาพให้เที่ยวไป ; อธิบาย
ว่า จักเป็นผู้ประกอบพร้อม คือถึงความพรั่งพร้อม (ด้วยกามคุณ 5 คือส่วน
แห่งวัตถุกาม 5 อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น) จักเที่ยวไปข้างนี้และ
ข้างนี้ คือจักอยู่ หรือจักอภิรมย์.
บทว่า อสปฺปายานิ ความว่า โภชนาหารเหล่าใด ยังตนให้ถึง
ความสิ้นไปแห่งชีวิตอย่างเร็วพลัน โภชนาหารเหล่านั้น จักว่าไม่เกื้อกูล คือ
ไม่ทำความเจริญให้.

[อธิบายสัญจิจจศัพท์]


ศัพท์ว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นศัพท์หนุนสัญจิจจบท ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ในมาติกาว่า สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ศัพท์ว่า สํ
ในบทว่า สญฺจิจฺจ นั้นเป็นอุปสรรค . คำว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นคำบ่งถึง
บุพกาลกิริยา รวมกับ สํ อุปสรรคนั้น. ใจความแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น
ว่า จงใจ คือแกล้ง. ก็ภิกษุใดแกล้งปลง, ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้อยู่ คือรู้พร้อมอยู่
และการปลงนั้นของภิกษุนั้น เป็นความแกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด ; เพราะเหตุ
นั้น เพื่อจะไม่ทำความเอื้อเฟื้อในพยัญชนะ แสดงแต่ใจความเท่านั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวบทภาชนะแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น อย่างนี้ว่า รู้อยู่
รู้พร้อมอยู่ แกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด.
บรรดาบทเหล่นั้น บทว่า ชานนฺโต คือ รู้อยู่ว่า สัตว์มีปราณ.

บทว่า สญฺชานนฺโต คือ รู้พร้อมอยู่ว่า เราจะปลงเสียจากชีวิต.
อธิบายว่า รู้อยู่พร้อมกับอาการที่รู้ว่า สัตว์มีปราณนั้นนั่นเอง.
บทว่า เจจฺจ ความว่า จงใจ คือ ปักใจ ด้วยอำนาจเจตนาจะฆ่า.
บทว่า อภิวิตริตฺวา ความว่า ส่งจิตที่หมดความระแวงสงสัยไปย่ำยี
ด้วยอำนาจความพยาบาท.
ด้วยบทว่า วิติกฺกโม มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความล่วงละเมิด
แห่งจิตหรือบุคคล ซึ่งเป็นไปแล้วอย่างนั้น นี้เป็นความอธิบายสุดยอดแห่ง
สัญจิจจ ศัพท์.

[อธิบายปฐมจิตของมนุษย์ผู้เริ่มลงสู่ครรภ์]


บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ กล่าวคำเป็นต้นว่า ชื่อว่ากายมนุษย์
เพื่อจะแสดงอัตภาพของมนุษย์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคำว่า ปลงกาย
มนุษย์เสียจากความเป็นอยู่ นี้ ตั้งแต่แรก.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า (ปฐมจิต) อันใด (เกิดขึ้นแล้ว)
ในท้องแห่งมารดา ท่านพระอุบาลีเถระกล่าว เพื่อแสดงอัตภาพอันละเอียดที่สุด
ด้วยอำนาจแห่งเหล่าสัตว์ผู้นอนในครรภ์. ปฏิสนธิจิต ชื่อจิตดวงแรก. บทว่า
ผุดขึ้น ได้แก่เกิด. คำว่า วิญญาณดวงแรก มีปรากฏ นี้ เป็นคำไข ของ
คำว่า จิตดวงแรก ที่ผุดขึ้น นั้นนั่นแหละ. บรรดาคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า
จิตดวงแรก (ที่ผุดขึ้น) ในท้องมารดา นั่นแหละ เป็นอันท่านแสดงปฏิสนธิ
ของสัตว์ผู้มีขันธ์ 5 แม้ทั้งสิ้น. เพราะเหตุนั้น กายมนุษย์อันเป็นที่แรกที่สุดนี้
คือ จิตดวงแรกนั้น 1 อรูปขันธ์ 3 ที่เกี่ยวเกาะด้วยจิตนั้น 1 กลลรูปที่เกิด
พร้อมกับจิตนั้น 1. บรรดาอรูปขันธ์ และกลลรูปแห่งจิตดวงแรกนั้น รูป
3 ถ้วน ด้วยอำนาจแห่งกาย 10 วัตถุ 10 และภาวะ 10 แห่งสตรีและบุรุษ,