เมนู

ท่าน ดีกว่าความเป็นอยู่. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ท่านเป็นผู้ทำกาละแล้ว
คือมีกาละอันทำแล้ว อธิบายว่าทำกาลกิริยา คือตายแล้วจากโลกนี้ ต่อจาก
ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ และท่านเข้าถึงแล้วอย่างนั้น จัก
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 คือส่วนแห่งวัตถุกาม 5 มีรูปเป็นที่น่าชอบใจ
เป็นต้น อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น ยังอัตภาพให้เที่ยวไป ; อธิบาย
ว่า จักเป็นผู้ประกอบพร้อม คือถึงความพรั่งพร้อม (ด้วยกามคุณ 5 คือส่วน
แห่งวัตถุกาม 5 อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น) จักเที่ยวไปข้างนี้และ
ข้างนี้ คือจักอยู่ หรือจักอภิรมย์.
บทว่า อสปฺปายานิ ความว่า โภชนาหารเหล่าใด ยังตนให้ถึง
ความสิ้นไปแห่งชีวิตอย่างเร็วพลัน โภชนาหารเหล่านั้น จักว่าไม่เกื้อกูล คือ
ไม่ทำความเจริญให้.

[อธิบายสัญจิจจศัพท์]


ศัพท์ว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นศัพท์หนุนสัญจิจจบท ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ในมาติกาว่า สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ศัพท์ว่า สํ
ในบทว่า สญฺจิจฺจ นั้นเป็นอุปสรรค . คำว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นคำบ่งถึง
บุพกาลกิริยา รวมกับ สํ อุปสรรคนั้น. ใจความแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น
ว่า จงใจ คือแกล้ง. ก็ภิกษุใดแกล้งปลง, ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้อยู่ คือรู้พร้อมอยู่
และการปลงนั้นของภิกษุนั้น เป็นความแกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด ; เพราะเหตุ
นั้น เพื่อจะไม่ทำความเอื้อเฟื้อในพยัญชนะ แสดงแต่ใจความเท่านั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวบทภาชนะแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น อย่างนี้ว่า รู้อยู่
รู้พร้อมอยู่ แกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด.
บรรดาบทเหล่นั้น บทว่า ชานนฺโต คือ รู้อยู่ว่า สัตว์มีปราณ.