เมนู

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบท


ก็ ในคำว่า อถโข ภควา เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงปลอบภิกษุทั้งหลายให้เบาใจ ด้วยอานาปานัสสติ-
สมาธิกถา อย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น ตรัสให้ประชุมภิกษุสงฆ์ เพราะเกิด
เรื่องที่ภิกษุทั้งหลายปลงชีวิตกันและกัน อันเป็นเหตุก่อให้เกิดผล และเป็น
เหตุเริ่มแรกแห่งการบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบทนี้แล้ว ตรัสสอบถามและทรง
ติเตียนแล้ว เพราะในการปลงชีวิตนั้น การปลงชีวิตตนเอง และการใช้ให้
มิคลัณฑิกสมณกุตก์ปลงชีวิตตน ย่อมไม่เป็นวัตถุแห่งปาราชิก ; ฉะนั้น จึง
ทรงเว้นการปลงชีวิต 2 อย่างนั้นเสีย ทรงถือเอาการปลงชีวิตกันและกัน อัน
เป็นวัตถุแห่งปาราชิกอย่างเดียว ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบท ตรัสพระพุทธพจน์
มีคำว่า อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ดังนี้ เป็นต้น.*
ก็ในพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสว่า โมฆปุริสา ตรัสว่า เต
ภิกฺขู
เพราะภิกษุเหล่านั้น เจือด้วยพระอริยบุคคล.

[ภิกษุฉัพพัคดีย์พรรณนาคุณแห่งความตาย]


ครั้งเมื่อตติยปาราชิก อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติทำให้มั่นด้วย
อำนาจแห่งความขาดมูล ด้วยประการฉะนั้นแล้ว เรื่องพรรณนาคุณแห่งความ
ตายแม้อื่นอีก ก็ได้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เมื่อแสดงความเกิด
ขึ้นแห่งเรื่องนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวว่า เอวญฺจิทํ ถควตา เป็น
อาทิ.
//* วิ. มหา. 1/134.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺตา มีความว่า ผู้มีจิตรัก
ใคร่ด้วยฉันทราคะ อธิบายว่า เป็นผู้มีความรักมาก คือมีความเพ่งเล็ง.
สองบทว่า มรณวณฺณํ สํวณฺเณม มีความว่า เราจะชี้โทษในความ
เป็นอยู่ แล้วพรรณนาคุณ คือแสดงอานิสงส์แห่งความตาย .
ในบทว่า กตกลฺยาโณ เป็นอาทิ มีเนื้อความเฉพาะบทดังต่อไปนี้:-
กรรมอันงาม คือสะอาดอันท่านทำแล้ว ; เพราะเหตุนั้นท่านย่อมเป็นผู้ชื่อว่า
มีกรรมงามอันทำแล้วแล. อนึ่ง กุศล คือกรรมอันหาโทษมิได้ อันท่านทำ
แล้ว ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้มีกุศลอันทำแล้ว. ความเป็นผู้ขลาด กล่าว
คือความกลัวอันใด ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อมรณกาลมาถึงเข้า.
เครื่องต้านทาน คือกรรมเครื่องป้องกัน จากความเป็นผู้ขลาดนั้นอันท่านทำ
แล้ว, เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้มีเครื่องต้านทานจากความเป็นผู้ขลาดอัน
กระทำแล้ว. กรรมที่เป็นบาป คือลามกอันท่านมิได้ทำแล้ว ; เพราะเหตุนั้น
ท่านชื่อว่าผู้ไม่ได้ทำบาป. กรรมของผู้ละโมบ คือกรรมทารุณ ได้แก่กรรม
เครื่องเป็นผู้ทุศีล อันท่านมิได้ทำไว้ ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้มีได้ทำกรรม
ของผู้ละโมบ . กรรมหยาบช้า คือกรรมเลวทรามเป็นที่หนาขึ้นแห่งกิเลสมีโลภะ
เป็นต้น อันท่านมิได้ทำไว้ ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่า ผู้มิได้ทำกรรมที่
หยาบช้า. คำว่า ท่านมีกรรมงามได้ทำแล้ว เป็นต้นนี้ เราทั้งหลายย่อมกล่าว
เพราะเหตุไร ? เพราะกรรมงามแม้ทุกประการอันท่านทำแล้ว กรรมอันเป็น
บาปแม้ทุกประการอันท่านมิได้ทำแล้ว ; เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลาย จึงกล่าว
กะท่านว่าจะประโยชน์อะไรของท่าน ด้วยชีวิตอันชื่อว่าเลวทรามคือต่ำช้าเพราะ
ถูกโรคครอบงำ อันชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมากไปด้วยทุกข์นี้, ความตายของ
ท่านประเสริฐกว่าความเป็นอยู่. เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ความตายของ

ท่าน ดีกว่าความเป็นอยู่. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ท่านเป็นผู้ทำกาละแล้ว
คือมีกาละอันทำแล้ว อธิบายว่าทำกาลกิริยา คือตายแล้วจากโลกนี้ ต่อจาก
ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ และท่านเข้าถึงแล้วอย่างนั้น จัก
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 คือส่วนแห่งวัตถุกาม 5 มีรูปเป็นที่น่าชอบใจ
เป็นต้น อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น ยังอัตภาพให้เที่ยวไป ; อธิบาย
ว่า จักเป็นผู้ประกอบพร้อม คือถึงความพรั่งพร้อม (ด้วยกามคุณ 5 คือส่วน
แห่งวัตถุกาม 5 อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น) จักเที่ยวไปข้างนี้และ
ข้างนี้ คือจักอยู่ หรือจักอภิรมย์.
บทว่า อสปฺปายานิ ความว่า โภชนาหารเหล่าใด ยังตนให้ถึง
ความสิ้นไปแห่งชีวิตอย่างเร็วพลัน โภชนาหารเหล่านั้น จักว่าไม่เกื้อกูล คือ
ไม่ทำความเจริญให้.

[อธิบายสัญจิจจศัพท์]


ศัพท์ว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นศัพท์หนุนสัญจิจจบท ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ในมาติกาว่า สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ศัพท์ว่า สํ
ในบทว่า สญฺจิจฺจ นั้นเป็นอุปสรรค . คำว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นคำบ่งถึง
บุพกาลกิริยา รวมกับ สํ อุปสรรคนั้น. ใจความแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น
ว่า จงใจ คือแกล้ง. ก็ภิกษุใดแกล้งปลง, ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้อยู่ คือรู้พร้อมอยู่
และการปลงนั้นของภิกษุนั้น เป็นความแกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด ; เพราะเหตุ
นั้น เพื่อจะไม่ทำความเอื้อเฟื้อในพยัญชนะ แสดงแต่ใจความเท่านั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวบทภาชนะแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น อย่างนี้ว่า รู้อยู่
รู้พร้อมอยู่ แกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด.
บรรดาบทเหล่นั้น บทว่า ชานนฺโต คือ รู้อยู่ว่า สัตว์มีปราณ.