เมนู

นิมิตชื่อเห็นปานนี้ ย่อมปรากฏแก่ผมขอรับ ส่วนอาจารย์ไม่ควรพูดว่า นั่น
เป็นนิมิต หรือว่า ไม่ใช่นิมิต ควรพูดว่า ย่อมเป็นอย่างนั้นละ คุณ ! แล้ว
พึงพูดว่า คุณจงมนสิการบ่อย ๆ. จริงอยู่เมื่ออาจารย์พูดว่า เป็นนิมิต เธอ
จะพึงถึงความถอยหลัง, เมื่ออาจารย์พูดว่า ไม่ใช่นิมิต เธอก็จะเป็นผู้หมดหวัง
จมอยู่, เพราะเหตุนั้น ไม่ควรพูดแม้ทั้งสองอย่างนั้น. ควรประกอบเธอนั้น
ไว้ในมนสิการนั่นแล. ส่วนอาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวมัชฌิมนิกายได้กล่าวไว้ว่า
เธอ อันอาจารย์พึงพูดว่า นี้เป็นนิมิต คุณ ! ขอให้คุณจงมนสิการกรรมฐาน
บ่อย ๆ เถิดสัตบุรุษ !
ภายหลัง เธอรูปนั้น พึงตั้งจิตไว้ในนิมิตนั่นเอง. จำเดิมแต่ปฏิภาค-
นิมิตเกิดขึ้นนี้ ภาวนานี้ของเธอรูปนั้น ย่อมมีได้ด้วยอำนาจการตั้งไว้ด้วย
ประการอย่างนี้. สมจริงดังคำที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
พระโยคีผู้เป็นธีรชน เมื่อตั้งจิตไว้
ในนิมิต เจริญลมหายใจเข้า และหายใจออก
ซึ่งมีอาการต่าง ๆ อยู่ชื่อว่า ย่อมผูกจิตของ
ตนไว้.

จำเดิมตั้งแต่นิมิตปรากฏ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้น นิวรณ์ทั้งหลาย
ย่อมเป็นอันพระโยคีนั้นข่มได้โดยแท้ กิเลสทั้งหลาย สงบนิ่ง สติเข้าไปตั้งมั่น
ทีเดียว จิตก็ตั้งมั่น เช่นกัน.

[จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิด้วยองค์]


จริงอยู่ จิตนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมชาติตั้งมั่น ด้วยองค์ 2 คือ ด้วย
การละนิวรณ์ในอุปจารภูมิ หรือด้วยความปรากฏแห่งองค์ในปฏิลาภภูมิ.
บรรดาภูมิ 2 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า อุปจารภูมิ ได้แก่ อุปจารสมาธิ. ที่ชื่อว่า
ปฏิลาภภูมิ ได้แก่ อัปปนาสมาธิ.

ถามว่า สมาธิทั้งสองนั้น มีการทำต่างกันอย่างไร ?
แก้ว่า อุปจารสมาธิ แล่นไปในกุศลวิถีแล้ว ก็หยั่งลงสู่ภวังค์.
อัปปนาสมาธิ เมื่อพระโยคีนั่งแนบสนิทตลอดทั้งวัน แล่นไปในกุศลวิถีแม้
ตลอดทั้งวัน ก็ไม่หยั่งลงสู่ภวังค์. บรรดาสมาธิ 2 อย่างเหล่านี้ จิตย่อมเป็น
ธรรมชาติตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ เพราะนิมิตปรากฏ. ภายหลัง ภิกษุนี้ไม่พึง
มนสิการนิมิตนั้นโดยสี ทั้งไม่พึงพิจารณาโดยลักษณะ. ก็อีกอย่างหนึ่งแล
เธออย่าประมาท ควรรักษานิมิตไว้ ดุจพระมเหสีของกษัตริย์ ทรงรักษาครรภ์
แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ และดุจชาวนารักษารวงแห่งข้าวสาลีและข้าวเหนียว
ฉะนั้น. จริงอยู่ นิมิตที่รักษาไว้ได้ ย่อมจะอำนวยผลแก่เธอ.
เมื่อพระโยคีรักษานิมิตไว้ได้ จะไม่
มีความเสื่อม จากอุปจารฌานที่ตนได้แล้ว
เมื่อไม่มีการอารักขา (นิมิต) ฌานที่ตนได้
แล้ว ๆ ก็จะพินาศไป ฉะนี้แล.

[อุบายสำหรับรักษาอานาปานัสสติกรรมฐานไม่ให้เสื่อม]
ในอธิการแห่งอานาปานัสสติกรรมฐานนั้น มีอุบายสำหรับรักษาดัง
ต่อไปนี้:- ภิกษุนั้น ควรเว้นอสัปปายะ 7 อย่างเหล่านี้ คือ อาวาส 1
โคจร 1 การสนทนา 1 บุคคล 1 โภชนะ 1 ฤดู 1 อิริยาบถ 1 แล้ว
เสพสัปปายะ 7 อย่างเหล่านั้นนั่นแล มนสิการนิมิตนั้นบ่อย ๆ.
พระโยคีนั้น ครั้นทำนิมิตให้มั่นคงด้วยการเสพสัปปายะอย่างนั้นแล้ว
ควรรอคอยความเจริญงอกงามไพบูลย์ บำเพ็ญความเพียรไม่ละทิ้งอัปปนาโกศล
10 อย่างเหล่านั้น คือ ทำวัตถุให้สละสลวย 1 ประคองอินทรีย์ให้เป็นไปเสมอ 1
ฉลาดในนิมิต 1 ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม 1 ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง 1

ปลอบจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรปลอบจิตให้ร่าเริง 1 เพ่งดูจิตในสมัยที่ควร
เพ่งดู 1 เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น 1 เสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น 1 น้อมไปใน
สมาธินั้น 1.
เมื่อพระโยคีนั้นหมั่นประกอบโดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้อยู่ มโนทวารา-
วัชชนะ ซึ่งมีนิมิตเป็นอารมณ์ ตัดภวังค์แล้วก็เกิดขึ้นขณะที่ควรกล่าวว่า
อัปปนา จักเกิดขึ้นในบัดนี้. ก็เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับไป บรรดาชวนะ
ทั้งหลาย 4 หรือ 5 ควง ยึดเอาอารมณ์นั้นนั่นแลแล่นไป ซึ่งชวนะดวงแรก
ชื่อบริกรรม ที่ 2 ชื่ออุปจาระ ที่ 3 ชื่ออนุโลม ที่ 4 ชื่อโคตรภู ที่ 5 ชื่อ
อัปปนาจิต อีกอย่างหนึ่ง ควงแรกเรียกว่าบริกรรมและอุปจาระ ที่ 2 เรียกว่า
อนุโลม ที่ 3 เรียกว่า โคตรภู ที่ 4 เรียกว่า อัปปนาจิต. จริงอยู่ ชวนะ
ดวงที่ 4 เท่านั้น บางทีที่ 5 ย่อมเป็นไป* ไม่ถึงดวงที่ 6 หรือที่ 7 เพราะ
อาสันนภวังค์ (ภวังค์ใกล้อัปปนา) ตกไป.
ส่วนพระโคทัตตเถระ ผู้ชำนาญอภิธรรม กล่าวไว้ว่า กุศลธรรม
ทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมมีกำลัง โดยอาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น ชวนะย่อม
ถึงที่ 6 หรือที่ 7. คำนั้นถูกคัดค้านในอรรถกถาทั้งหลาย. ในชวนจิตเหล่านั้น
จิตที่เป็นบุรพภาค เป็นกามาวจร ส่วนอัปปนาจิตเป็นรูปาวจร. ปฐมฌาน
ซึ่งละองค์ 5 ประกอบด้วยองค์ 5 สมบูรณ์ด้วยลักษณะ 10 มีความงาม 3
ย่อมเป็นอันพระโยคีนี้บรรลุแล้ว โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้. เธอยังองค์ฌาน
ทั้งหลาย มีวิตกเป็นต้นให้สงบราบดาบในอารมณ์นั้นนั่นเอง ย่อมบรรลุฌาน
ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4. และด้วยเหตุมีประมาณเพียงนี้ เธอย่อมเป็นผู้ถึงที่สุด
แห่งภาวนา ด้วยอำนาจแห่งการหยุดไว้. ในอธิการนี้ มีสังเขปกถาเท่านี้ ส่วน
//* โยชนา 1/338 แก้ อปฺเปติ เป็น ปวตฺตติ

นักศึกษาผู้ต้องการความพิสดาร พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสส ชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความ
ประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้ว
บรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี)
ด้วยอาการ 5 อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเช้า
อธิฏฐานะ การทั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา
แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้า
แล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.
ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง 4 ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง
เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม
ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น

ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย
กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก
และกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูป
นั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว
ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง 3 เสียได้.
เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณา
กลาป ละวิปัสสนูปกิเลส 10 อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วน
เบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ)
กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึง
ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปใน
สรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับ
ติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง 4 ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล
ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ 19 อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปาน-
กรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียง
เท่านี้แล.
นี้พรรณนาปฐมจตุกกะโดยอาการทุกอย่าง
ก็เพราะใน 3 จตุกกะนอกนี้ ขึ้นชื่อว่านัยแห่งการเจริญกรรมราน
แผนกหนึ่งย่อมไม่มี, เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความแห่ง 3 จตุกกะ
เหล่านั้น โดยนัยแห่งการพรรณนาตามบทนั่น แล.

บทว่า ปีติปฏิสํเวที ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำปีติ
ให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจเข้า หายใจออก. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น
ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยอาการ 2 อย่าง คือ โดยอารมณ์ และโดย
ความไม่งมงาย.
ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์อย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานทั้ง 2 (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ,
ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะเข้า
สมาบัติ เพราะอารมณ์เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว.
ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงายอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง 2 ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วย่อมพิจารณา
ปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้น
รู้แจ้งแล้ว โดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา.
ข้อนี้ สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว
สติย่อมทั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณ
นั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ
ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้าสั้น สติย่อมตั้งมัน, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลม
หายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจ

ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น
ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุ
รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว,
เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา
เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วย
ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อ
ละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้น เป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้*.
แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยเนื้อความตามนัยนี้นั่นแล. แต่ในสองบท
นี้มีความสักว่าแปลกกัน ดังต่อไปนี้ :- พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งสุข ด้วย
อำนาจแห่งฌาน 3, พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอำนาจแห่งฌาน
ทั้ง 4. ขันธ์ 2 มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตสังขาร. ก็บรรดาสองบทนี้ ใน
สุขปฏิสังเวทิบท ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา เพื่อแสดงภูมิ
แห่งวิปัสสนาว่า คำว่า สุข ได้แก่สุข 2 อย่า ง คือ กายิกสุข 1 เจตสิกสุข 1.
สองบทว่า ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ความว่า ระงับ คือดับจิต-
สังขารที่หยาบ ๆ เสีย. ความคับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย
ดังที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั้นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ในปีติบท ท่านกล่าวเวทนาไว้ด้วย
ปีติเป็นประธาน, ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านกล่าวเวทนาไว้โดยสรุปทีเดียว, ใน
//* ขุ. ปฏิ. 31/ 281-2.

จิตสังขารบททั้งสอง เป็นอันท่านกล่าวเวทนาที่สัมปยุตด้วยสัญญาไว้ เพราะ
พระบาลีว่า สัญญาและเวทนา เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็น
จิตสังขาร* ดังนี้. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
โดยเวทนานุปัสสนานัย ด้วยประการอย่างนี้.
แม้ในจตุกกะที่ 3 มีวินิจฉัยดังนี้:- บัณฑิตพึงทราบความเป็นผู้รู้
แจ้งจิต ด้วยอำนาจแห่งฌาน 4.
สองบทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ความว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
เราจักยังจิตให้บันเทิง คือให้ร่าเริง ได้แก่ ให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก.
ในสองบทนั้น ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอาการ 2 อย่างคือ ด้วยอำนาจ
สมาธิ และด้วยอำนาจวิปัสสนา.
ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจสมาธิอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุย่อมเข้าฌานทั้ง 2 (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ.
เธอนั้นย่อมให้จิตรื่นเริง ด้วยปีติที่สัมปยุต ในขณะแห่งสมาบัติ.
ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุครั้นเข้าฌานทั้ง 2 ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณา
อยู่ซึ่งปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม. เธอทำปีติสัมปยุตด้วย
ฌานให้เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนั้นแล้ว ให้จิตรื่นเริง บันเทิง
อยู่. ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านเรียกว่าย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง
หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือ ทั้งจิต
ไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่า เมื่อ
เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน
//* ขุ. ปฏิ. 31/283-4.

โดยความสิ้น ความเสื่อม ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ)
ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้
ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมี
อารมณ์เดียวชั่วขณะ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้
พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย ด้วยปฐมฌาน คือ เมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจาก
วิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วย
จตุตถฌาน. ก็หรือว่า เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่
สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม ในขณะแห่งวิปัสสนา เธอนั้น
เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้น จากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุ
ปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง) เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้นจากสุข
สัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่า
เป็นทุกข์) จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา
(ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน) จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วย
นิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) จากราคะ (ความ
กำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความ
กำหนัด) จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องคับ) จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏิ-
นิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หาย
ใจเข้าและหายใจออกอยู่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า หายใจออก. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึง
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.

ส่วนในจตุกกะที่ 4 มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้
พึงทราบ อนิจจัง (ของไม่เทียง) พึงทราบ อนิจจตา (ความเป็นของไม่
เที่ยง) พึงทราบ อนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึง
ทราบ อนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.
ในลักษณะ 4 อย่าง มีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า อนิจจัง ได้แก่
เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความ
เสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ที่ชื่อว่า อนิจจตา ได้แก่ ข้อที่เบญจขันธ์เหล่านั้นนั่นเอง มีความ
เกิดขึ้น มีความเสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยอาการอื่น หรือมีแล้ว กลับ
ไม่มี อธิบายว่า เบญจขันธ์เหล่านั้น เกิดขึ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นนั่น
แล แตกดับเพราะความแตกดับไปชั่วขณะ.
ที่ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นในเบญจขันธ์
ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยงนั้น.
ที่ชื่อว่า อนิจจานุปัสสี ได้แก่ พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนา
นั้น. เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้เป็นแล้วอย่างนั้นหายใจเข้า และหายใจออก
อยู่ บัณฑิตพึงทราบในอธิการนี้ว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นว่า
ไม่เที่ยง หายใจเข้า หายใจออก.
ส่วนวิราคะ ในบทว่า วิราคานุปัสสี นี้ มี 2 อย่าง คือ ขยวิราคะ
คลายความกำหนัด คือความสิ้นไป 1 อัจจันตวิราคะ คลายความกำหนัด
โดยส่วนเดียว 1 บรรดาราคะ 2 อย่างนั้น ความแตกดับไปชั่วขณะแห่งสังขาร
ทั้งหลาย ชื่อ ว่า ขยวิราคะ. พระนิพพาน ชื่อว่า อัจจันตวิราคะ. วิปัสสนา
และมรรคที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการเห็นวิราคะทั้ง 2 อย่างนั้น ชื่อว่า
วิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการคลายความกำหนัด). พระโยคาวจร

เป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้ทั้ง 2 อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่
บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า
หายใจออก. แม้ในบทว่า นิโรธานุปัสสี ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืนอุปธิ) แม้ในบทว่า ปฏินิสฺ-
สคฺคานุปสฺสี
นี้ก็มี 2 อย่างคือ ปริจจาคปฏินิสสัคคะ ความสละคืน
คือความเสียสละ 1 ปักขันทนปฏินิสสัคคะ ความสละคืน คือความแล่นไป
1. การพิจารณาเห็น คือความสละคืนนั่นเอง ชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา.
คำว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา นั่น เป็นชื่อแห่งวิปัสสนาและมรรค. จริง
อยู่ วิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืน คือการละ เพราะ
ย่อมละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจตทังคปหาน และว่า
การสละคืนคือการแล่นไปเพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ซึ่งผิดจากสังขาร
นั้น เหตุที่น้อมไปในพระนิพพานนั้น เพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม.
มรรคพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืน คือการละ เพราะย่อมละ
กิเลสพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถสมุจเฉทปหาน และว่า การสละคืน
คือการแล่นไป . เพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ด้วยการกระทำให้เป็น
อารมณ์. ก็ วิปัสสนาญาณและมรรคญาณแม้ทั้ง 2 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกว่า อนุปัสสนา เพราะเล็งเห็นญาณต้น ๆ ในภายหลัง. ภิกษุเป็นผู้
ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทั้ง 2 อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออก
อยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้มีปกติเล็งเห็นญาณชื่อ
ปฏินิสสัคคะ ในภายหลัง หายใจเข้า หายใจออก ดังนี้.
คำว่า เอวํ ภาวโตความว่า เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วย
อาการ 16 อย่าง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
กถาว่าด้วยอานาปรานัสสติสมาธิ จบ

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบท


ก็ ในคำว่า อถโข ภควา เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงปลอบภิกษุทั้งหลายให้เบาใจ ด้วยอานาปานัสสติ-
สมาธิกถา อย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น ตรัสให้ประชุมภิกษุสงฆ์ เพราะเกิด
เรื่องที่ภิกษุทั้งหลายปลงชีวิตกันและกัน อันเป็นเหตุก่อให้เกิดผล และเป็น
เหตุเริ่มแรกแห่งการบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบทนี้แล้ว ตรัสสอบถามและทรง
ติเตียนแล้ว เพราะในการปลงชีวิตนั้น การปลงชีวิตตนเอง และการใช้ให้
มิคลัณฑิกสมณกุตก์ปลงชีวิตตน ย่อมไม่เป็นวัตถุแห่งปาราชิก ; ฉะนั้น จึง
ทรงเว้นการปลงชีวิต 2 อย่างนั้นเสีย ทรงถือเอาการปลงชีวิตกันและกัน อัน
เป็นวัตถุแห่งปาราชิกอย่างเดียว ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบท ตรัสพระพุทธพจน์
มีคำว่า อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ดังนี้ เป็นต้น.*
ก็ในพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสว่า โมฆปุริสา ตรัสว่า เต
ภิกฺขู
เพราะภิกษุเหล่านั้น เจือด้วยพระอริยบุคคล.

[ภิกษุฉัพพัคดีย์พรรณนาคุณแห่งความตาย]


ครั้งเมื่อตติยปาราชิก อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติทำให้มั่นด้วย
อำนาจแห่งความขาดมูล ด้วยประการฉะนั้นแล้ว เรื่องพรรณนาคุณแห่งความ
ตายแม้อื่นอีก ก็ได้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เมื่อแสดงความเกิด
ขึ้นแห่งเรื่องนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวว่า เอวญฺจิทํ ถควตา เป็น
อาทิ.
//* วิ. มหา. 1/134.