เมนู

นิมิตชื่อเห็นปานนี้ ย่อมปรากฏแก่ผมขอรับ ส่วนอาจารย์ไม่ควรพูดว่า นั่น
เป็นนิมิต หรือว่า ไม่ใช่นิมิต ควรพูดว่า ย่อมเป็นอย่างนั้นละ คุณ ! แล้ว
พึงพูดว่า คุณจงมนสิการบ่อย ๆ. จริงอยู่เมื่ออาจารย์พูดว่า เป็นนิมิต เธอ
จะพึงถึงความถอยหลัง, เมื่ออาจารย์พูดว่า ไม่ใช่นิมิต เธอก็จะเป็นผู้หมดหวัง
จมอยู่, เพราะเหตุนั้น ไม่ควรพูดแม้ทั้งสองอย่างนั้น. ควรประกอบเธอนั้น
ไว้ในมนสิการนั่นแล. ส่วนอาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวมัชฌิมนิกายได้กล่าวไว้ว่า
เธอ อันอาจารย์พึงพูดว่า นี้เป็นนิมิต คุณ ! ขอให้คุณจงมนสิการกรรมฐาน
บ่อย ๆ เถิดสัตบุรุษ !
ภายหลัง เธอรูปนั้น พึงตั้งจิตไว้ในนิมิตนั่นเอง. จำเดิมแต่ปฏิภาค-
นิมิตเกิดขึ้นนี้ ภาวนานี้ของเธอรูปนั้น ย่อมมีได้ด้วยอำนาจการตั้งไว้ด้วย
ประการอย่างนี้. สมจริงดังคำที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
พระโยคีผู้เป็นธีรชน เมื่อตั้งจิตไว้
ในนิมิต เจริญลมหายใจเข้า และหายใจออก
ซึ่งมีอาการต่าง ๆ อยู่ชื่อว่า ย่อมผูกจิตของ
ตนไว้.

จำเดิมตั้งแต่นิมิตปรากฏ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้น นิวรณ์ทั้งหลาย
ย่อมเป็นอันพระโยคีนั้นข่มได้โดยแท้ กิเลสทั้งหลาย สงบนิ่ง สติเข้าไปตั้งมั่น
ทีเดียว จิตก็ตั้งมั่น เช่นกัน.

[จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิด้วยองค์]


จริงอยู่ จิตนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมชาติตั้งมั่น ด้วยองค์ 2 คือ ด้วย
การละนิวรณ์ในอุปจารภูมิ หรือด้วยความปรากฏแห่งองค์ในปฏิลาภภูมิ.
บรรดาภูมิ 2 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า อุปจารภูมิ ได้แก่ อุปจารสมาธิ. ที่ชื่อว่า
ปฏิลาภภูมิ ได้แก่ อัปปนาสมาธิ.