เมนู

[อุบายเป็นเหตุนำอานาปานัสสติกรรมฐานมา]


ในอธิการว่าด้วยอานาปานัสสติกรรรมฐานนั้น มีอุบายเป็นเครื่องนำมา
ดังต่อไปนี้:-
จริงอยู่ ภิกษุนั้น รู้ว่ากรรมฐานไม่ปรากฏ ควรพิจารณาสำเหนียก
อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ มีอยู่ในที่ไหน ? ไม่มีใน
ที่ไหน ของใครมี ? ของใครไม่มี ?
ภายหลัง เมื่อภิกษุนั้น พิจารณาดูอยู่อย่างนี้ ก็รู้ได้ว่า ลมหายใจเข้า
และหายใจออกนี้ (ของทารกผู้อยู่) ภายในท้องของมารดา ไม่มี พวกชนผู้
ดำน้ำก็ไม่มี. พวกอสัญญีสัตว์ คนตายแล้ว ผู้เข้าจตุตถฌาน ท่านผู้พร้อม
เพรียงด้วยรูปภพและอรูปภพ ท่านเข้านิโรธ ก็ไม่มีเหมือนกัน แล้วพึงตัก-
เตือนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า แน่ะบัณฑิต ! ตัวเธอไม่ใช่ผู้อยู่ในท้องของมารดา
ไม่ใช่ผู้ดำน้ำ ไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ ไม่ใช่คนตาย ไม่ใช่ผู้เข้าจตุตถฌาน
ไม่ใช่ผู้พร้อมเพรียง ด้วยรูปภพ และอรูปภพ ไม่ใช่ผู้เข้านิโรธ มิใช่หรือ ?
ตัวเธอยังมีลมหายใจเข้าและหายใจออกอยู่แท้ ๆ, แต่ตัวเธอก็ไม่สามารถจะ
กำหนดได้ เพราะยังมีปัญญาอ่อน.
ภายหลัง เธอนั้น ควรตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจที่ลมถูกต้องโดยปกตินั่นเอง
ให้มนสิการเป็นไป. จริงอยู่ ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ กระทบโครงจมูก
ของผู้มีจมูกยาวผ่านไป, กระทบริมฝีปากข้างบนของผู้มีจมูกสั้นผ่านไป. เพราะ
ฉะนั้น เธอนั่น จึงควรตั้งนิมิตไว้ว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อม
กระทบฐานชื่อนี้. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
นี้แล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวการเจริญอานาปานัสสติ
แก่ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่.*
//* ม. อุป. 14/196-7.

จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีสติ มีความรู้
ตัวเท่านั้น แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น กรรมฐานอย่างอื่น นอกจากอานาปานัสสติ
กรรมฐานนี้ ย่อมปรากฏได้แก่ผู้ที่มนสิการอยู่. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้
เป็นภาระหนัก เจริญสำเร็จได้ยาก ทั้งเป็นภูมิแห่งมนสิการ ของมหาบุรุษ
ทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรเท่านั้น,
ไม่ใช่เป็นกรรมฐานต่ำต้อย, ทั้งมิได้เป็นกรรมฐานที่สัตว์ผู้ต่ำต้อยซ่องเสพ,
เป็นกรรมฐานสงบและละเอียด โดยประการที่มหาบุรุษทั้งหลายย่อมทำไว้ใน
ใจ ; เพราะฉะนั้นในอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ จำต้องปรารถนาสติและปัญญา
อันมีกำลัง. เหมือนอย่างว่า ในเวลาชุนผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง แม้เข็มก็จำต้อง
ปรารถนาอย่างเล็ก, แม้ด้ายซึ่งร้อยในบ่วงเข็ม ก็จำต้องปรารถนาเส้นละเอียด
กว่านั้น ฉันใด, ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้ ซึ่งเป็นเช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สติมีส่วนเปรียบด้วยเข็มก็ดี ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสตินั้น
มีส่วนเปรียบด้วยด้ายร้อยบ่วงเข็มก็ดี จำต้องปรารถนาให้มีกำลัง.
ก็แล ภิกษุผู้ประกอบด้วยสติและปัญญานั้นแล้ว ไม่จำต้องแสวงหา
ลมหายในเข้าและหายในออกนั้น นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ. เปรียบ
เหมือนชาวนาไถนาแล้วปล่อยพวกโคถึก ให้บ่ายหน้าไปสู่ที่หากิน แล้วพึงนั่ง
พักที่ร่มไม้, คราวนั้นพวกโคถึกเหล่านั้นของเขาก็เข้าดงไป โดยเร็ว. ชาวนา
ผู้ฉลาด ประสงค์จะจับโคถึกเหล่านั้นมาเทียมไถอีก จะไม่เดินคามรอยเท้าโค
ถึกเหล่านั้นเข้าไปยังดง, โดยที่แท้ เขาจะ ถือเอาเชือกและประตักเดินตรงไป
ยังท่าน้ำซึ่งโคถึกเหล่านั้นลงทีเดียว นั่งหรือนอนคอยอยู่. เวลานั้นเขาได้เห็น
โคเหล่านั้น ซึ่งเที่ยวไปสิ้นทั้งวัน แล้วลงไปสู่ท่านํ้าดื่มอาบและกินน้ำแล้ว
ขึ้นมายืนอยู่ จึงเอาเชือกผูกแล้วเอาประตักทิ่มแทง นำไปเทียม (ไถ) ทำการ

งานอีก ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่จำต้องแสวงหาลมหายใจเข้า
และหายใจออก นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ แต่พึงถือเอาเชือก คือ
สติ และประตักคือปัญญาแล้ว ตั้งจิตไว้ในโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ ยัง
มนสิการให้เป็นไป. เพราะว่า เมื่อเธอมนสิการอยู่อย่างนั้น ต่อกาลไม่นานเลย
ลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้น จะปรากฏดุจพวกโคปรากฏที่ท่าลงดื่มฉะนั้น.
ในลำดับนั้น เธอพึงเอาเชือกคือสติผูกประกอบไว้ในที่นั้นนั่นแหละ แล้วแทง
ด้วยประตักคือปัญญาตามประกอบกรรมฐานอีก. เมื่อเธอหมั่นประกอบอยู่
อย่างนั้น ต่อกาลไม่นานเลย นิมิตจะปรากฏ.
อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ว่า ก็นิมิตนี้นั้น ย่อมไม่เป็นเช่นเดียวกัน
แก่พระโยคาวจรทุกรูป. อนึ่งแล นิมิตนั้น ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป
ดุจปุยนุ่น ดุจปุยฝ้าย และดุจสายลม ให้เกิดสุขสัมผัส.
ส่วนวินิจฉัยในอรรถกถา มีดังต่อไปนี้ :- จริงอยู่ นิมิตนี้ ย่อม
ปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป ดุจดวงดาว ดุจพวงแก้วมณี และดุจพวงแก้ว
มุกดา บางรูปปรากฏเป็นของมีสัมผัสหยาบ ดุจเมล็ดฝ้าย และดุจเสี้ยนไม้แก่น,
บางรูปปรากฏเป็นของสายสังวาลที่ยาว ดุจพวงแห่งดอกคำ และดุจเปลวควัน
ไฟ, ปางรูปดุจใยแมลงมุมที่กว้าง ดุจช่อกลีบเมฆ ดุจดอกปทุม ดุจล้อรถ
ดุจมณฑลจันทร์ และดุจมณฑลพระอาทิตย์ ฉะนั้น.
ก็แล กรรมฐานนี้นั้นเป็นอันเดียวกันแท้ ๆ แต่ปรากฏโดยความต่าง
กัน เพราะมีสัญญาต่างกัน เหมือนบรรดาภิกษุหลายรูปด้วยกัน นั่งสาธยาย
พระสูตรอยู่ เมื่อภิกษุรูปหนึ่ง พูดว่า พระสูตรนี้ ย่อมปรากฏแก่พวกท่าน
เป็นเช่นไร้ ? รูปหนึ่งพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแม่น้ำไหลตกจาก
ภูเขาใหญ่, อีกรูปอื่น พูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแนวป่าแห่งหนึ่ง,

รูปอื่นพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนรุกชาติที่เพียบพร้อมด้วยภาระคือ
ผลไม้ ซึ่งมีร่มเงาเย็น สมบูรณ์ด้วยกิ่ง. จริงอยู่ พระสูตรของเธอเหล่านั้น
ก็เป็นสูตรเดียวกันนั่นเอง แต่ปรากฏโดยความเป็นของต่างกัน เพราะมีสัญญา
ต่างกัน ฉะนั้น. ความจริง กรรมฐานนี้ เกิดแต่สัญญา มีสัญญาเป็นต้นเหตุ
มีสัญญาเป็นแดนเกิด ; เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ย่อมปรากฏโดยความต่างกัน
เพราะมีสัญญาต่างกัน.

[ธรรม 3 อย่างมีบริบูรณ์กรรมฐานจึงถึงอัปปนา]


ก็ บรรดาลมหายใจเข้า หายใจออก และนิมิตนี้ จิตที่มีลมหายใจเข้า
เป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่งต่างหาก จิตที่มีลมหายใจออกเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง
จิตที่มีนิมิตเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง. จริงอยู่ กรรมฐานของภิกษุผู้ไม่มีธรรม
3 อย่างนั้น ย่อมไม่ถึงอัปปนา ไม่ถึงอุปจาระ. ส่วนกรรมฐานของภิกษุผู้มี
ธรรม 3 อย่างนี้ ย่อมถึงอัปปนาและอุปจาระด้วย. สมจริงดังคำที่ท่านพระ-
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจ
ออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว, และ
เมื่อภิกษุไม่รู้ธรรม 3 ประการ ย่อมไม่ได้
ภาวนา (ย่อมไม่สำเร็จ), นิมิต ลมหายใจเข้า
และลมหายใจออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิต
ดวงเดียว, และเมื่อภิกษุรู้ซึ่งธรรม 3 ประการ
ย่อมได้ภาวนา.
*
พระอาจารย์ทั้งหลาย ผู้กล่าวทีฆนิกาย ได้กล่าวไว้อย่างนี้ก่อนว่า ก็
เมื่อนิมิตปรากฏแล้วอย่างนั้น ภิกษุนั้นควรไปสำนักของอาจารย์ แล้วบอกว่า
//* ขุ. ปฏิ. 31/257.