เมนู

[ข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู]


ส่วนข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตูมีดังต่อไปนี้ :- คนรักษาประตูจะ
ไม่สอบสวนบุรุษทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกพระนครว่า ท่านเป็นใคร ?
มาแต่ไหน ? จะไปไหน ? หรือว่า ในมือของท่านมีอะไร ? ความจริง พวก
มนุษย์ผู้เดินไปทั้งภายในและภายนอกพระนครเหล่านั้นไม่ใช่หน้าที่ของคนรักษา
ประตูนั้น แต่เขาย่อมสอบสวนเฉพาะคนผู้มาถึงประตูแล้ว ๆ เท่านั้น แม้ฉัน
ใด ลมเข้าไปข้างในและลมที่ออกไปข้างนอก ย่อมไม่เป็นหน้าที่ของภิกษุนี้
ฉันนั้นเหมือนกัน จะเป็นหน้าที่ก็เฉพาะแต่ลมที่มาถึงช่องแล้ว ๆ เท่านั้น. นี้
เป็นข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู.

[การกำหนดลมหายใจเปรียบเหมือนเลื่อย]


ส่วนข้ออุปมาเหมือนเลื่อย ควรทราบจำเดิมแต่ต้นไป. สมดังคำที่ท่าน
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ว่า
นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจ
ออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว และ
เมื่อบุคคลไม่รู้ธรรมทั้ง 3 ประการ ย่อมไม่
ได้ภาวนา (ภาวนาย่อมไม่สำเร็จ). นิมิต ลม
หายใจเข้าและลมหายใจออก มิใช่เป็น
อารมณ์แต่งจิตดวงเดียว และเมื่อบุคคลรู้ซึ่ง
ธรรม 3 ประการ ย่อมได้ภาวนา.

ถามว่า ธรรม 3 ประการเหล่านี้ จะไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
และธรรม 3 ประการเหล่านี้ จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตจะไม่ถึงความฟุ้งซ่าน
ประธาน (ความเพียร) ย่อมปรากฏ แลพระโยคาวจรจะทำประโยคให้สำเร็จ
ได้บรรลุคุณวิเศษอย่างไร.

แก้ว่า เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนภาคพื้นที่เรียบเสมอ บุรุษ
เอาเลื่อยเลื่อยต้นไม้นั้น สติของบุรุษ ย่อมปรากฏ ด้วยอำนาจแห่งฟันเลื่อย
ที่ถูกต้นไม้ และเขาย่อมไม่ได้ใฝ่ใจถึงฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป ทั้งฟัน
เลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธาน (ความเพียรใน
การตัดต้นไม้) ย่อมปรากฏ และเขาย่อมให้ประโยค (กิริยาที่ตัดต้นไม้นั้น)
สำเร็จได้*. นิมิตคือสติเป็นเครื่องเข้าไปผูกไว้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวาง
ไว้บนภาคพื้นที่เรียบเสมอ. ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เปรียบเหมือน
ฟันเลื่อย. ภิกษุนั่นตั้งสติไว้มั่น ที่ปลายจมูกหรือที่ริมผีปาก ย่อมไม่ใฝ่ใจถึง
ลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ผ่านมาหรือที่ผ่านไป ลมหายใจเข้าและลมหาย
ใจออกที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธาน ย่อมปรากฏ
และภิกษุนั้นย่อมให้ประโยคสำเร็จได้ ทั้งบรรลุคุณพิเศษด้วย เหมือนบุรุษตั้ง
สติไว้ ด้วยอำนาจแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกต้นไม้ เขาย่อมไม่ได้ใฝ่ใจถึงฟันเลื่อยที่
ผ่านมาหรือที่ผ่านไป ทั้งฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้
ประธานย่อมปรากฏ และเขาย่อมทำประโยคให้สำเร็จได้ ฉะนั้น. คำว่า
ประธาน ความว่า ประธานเป็นไฉน ? กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้ปรารภความ
เพียรย่อมควรแก่การงาน, นี้เป็นประธาน. ประโยค เป็นไฉน ? ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียร ย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป, นี้เป็นประโยค. คุณพิเศษ
เป็นไฉน ? ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมหมดสิ้น
ไป, นี้เป็นคุณพิเศษ. ธรรม 3 ประการเหล่านี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิต
ดวงเดียว และธรรม 3 ประการเหล่านี้ จะไม่ปรากฏก็หามิได้, จิตย่อมไม่ถึง
ความฟุ้งซ่าน, ประธาน (ความเพียร) ย่อมปรากฏ, และพระโยคาวจร ทำ
ให้ประโยค (การหมั่นประกอบภาวนา) สำเร็จได้ ทั้งได้บรรลุคุณพิเศษด้วย.
//* บาลีที่มาเดิม มีศัพท์ว่า วิเสสมธิจฺฉติ. ขุ. ปฏิ. 31/257.

ภิกษุใด เจริญอานาปานัสสติให้
บริบูรณ์ดี อบรมมาโดยลำดับ ตามที่พระ
พุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว, ภิกษุนั้นย่อมทำ
โลกนี้ให้สว่างได้ เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว
จากหมอก ฉะนั้น แล.
*
ข้อนี้อุปมาเหมือนเลื่อย.
ก็ในข้ออุปมาเหมือนเลื่อยนี้ พึงทราบว่า เหตุเพียงไม่ใฝ่ใจด้วยอำนาจ
สมหายใจเข้าและลมหายใจออก ที่ผ่านมาแล้ว ๆ เท่านั้น เป็นประโยชน์แก่
ภิกษุนั้น. กรรมฐานนี้เมื่อภิกษุบางรูป มนสิการนิมิต ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่
ชักช้าเลย และฐปนา กล่าวคืออัปปนา ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌานที่เหลือ ก็
ย่อมสำเร็จ. แก่สำหรับภิกษุบางรูปมีจำเดิมแต่เวลามนสิการโดยอำนาจการนับ
นั่นแล คือตั้งแต่เวลาทำไว้ในใจด้วยอำนาจการนับ เมื่อความกระวนกระวาย
ทางกายสงบไป ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบดับไปโดย
ลำดับ กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมเป็นของเบา ร่างกายย่อมเป็นดุจถึงอาการลอยขึ้น
ไปในอากาศเหมือนภิกษุผู้มีกายกระสับกระส่าย เมื่อนั่งลงบนเตียงหรือตั่ง
เตียงและตั่งย่อมโอนเอน คดงอไป เครื่องปูลาดย่อมย่นเป็นเกลียว, แต่เมื่อ
เธอมีกายไม่กระสับกระส่าย นั่นลง เตียงและตั่งย่อมไม่โอนเอน ไม่คดงอ
เครื่องปูลาดก็ไม่ย่นเป็นเกลียว, เตียงตั่งเป็นเหมือนเต็มด้วยปุยนุ่น, เพราะ
เหตุไร ? เพราะเหตุว่า กายไม่กระสับกระส่าย ย่อมเป็นของเบาฉะนั้น. เมื่อ
ลมอัสสาสะและปัสสาสะที่หยาบดับไปแล้ว จิตของภิกษุนั้นมีนิมิต คือ ลม
ดับไปแล้ว จิตดวงต่อ ๆ ไป ซึ่งมีอารมณ์คือนิมิตที่ละเอียดจนละเอียดกว่าจิต
//* ขุ. ปฏิ. 31/257-258.

ถามว่า จิตควงต่อ ๆ ไป ย่อมเป็นไปอย่างไร ?
แก้ว่า เปรียบเหมือนบุรุษ พึงเอาชี่เหล็กท่อนใหญ่ตีกังสดาล ด้วย
การตีเพียงครั้งเดียว เสียงดัง พึงเกิดขึ้น, จิตของบุรุษนั้น ซึ่งมีเสียงดัง
(หยาบ) เป็นอารมณ์ พึงเป็นไป, เมื่อเสียงดังดับไป ต่อจากนั้นภายหลัง
จิตซึ่งมีเสียงละเอียดเป็นอารมณ์ พึงเป็นไป, แม้เมื่อจิตซึ่งมีนิมิต คือเสียง
ละเอียดเป็นอารมณ์นั้นดับไปแล้ว จิตดวงต่อ ๆ ไป ซึ่งมีอารมณ์คือนิมิตที่
ละเอียดจนละเอียดกว่าจิต ซึ่งมีนิมิต คือเสียงละเอียด เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
เป็นไปทีเดียว ฉันใด, จิตซึ่งมีนิมิตคือลมอัสสาสะและปัสสาสะเป็นอารมณ์นั้น
บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเป็นไปฉันนั้น. แม้ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระธรรม
เสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า เปรียบเหมือนบุคคลตีกังสดาล (เสียงดังคือเสียง
หยาบ ย่อมกระจายไปก่อน)* ดังนี้ เป็นต้น. ควรให้พิสดาร. เหมือนอย่างว่า
กรรมฐานเหล่าอื่น ย่อมปรากฏชัดในชั้นสูง ๆ ขึ้นไป ฉันใด, อานาปานัสสติ
กรรมฐานนี้จะเป็นฉันนั้น ก็หามิได้. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้ เมื่อภิกษุ
เจริญ ๆ ในชั้นสูงขึ้นไป ย่อมถึงความเป็นของละเอียด คือจะไม่ถึงแม้ความ
ปรากฏ. ก็เมื่อกรรมฐานนั้น ไม่ปรากฏอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ควรลุกขึ้น
จากอาสนะ ตบท่อนหนังไปเสีย. ไม่ควรลุกขึ้น ด้วยคิดว่า จะพึงทำอย่างไร ?
เราจักถามพระอาจารย์ หรือว่า บัดนี้กรรมฐานของเราเสื่อมแล้ว. จริงอยู่
เมื่อเธอให้อิริยาบถกำเริบเดินไป กรรมฐานย่อมปรากฏเป็นของใหม่ ๆ เรื่อย
ไป; เพราะเหตุนั้น ควรนั่งอยู่ตามเติมนั่นแหละ นำกรรมฐานมาจากที่ถูกต้อง
ตามปกติ.
//* ขุ. ปฏิ. 31/279.

[อุบายเป็นเหตุนำอานาปานัสสติกรรมฐานมา]


ในอธิการว่าด้วยอานาปานัสสติกรรรมฐานนั้น มีอุบายเป็นเครื่องนำมา
ดังต่อไปนี้:-
จริงอยู่ ภิกษุนั้น รู้ว่ากรรมฐานไม่ปรากฏ ควรพิจารณาสำเหนียก
อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ มีอยู่ในที่ไหน ? ไม่มีใน
ที่ไหน ของใครมี ? ของใครไม่มี ?
ภายหลัง เมื่อภิกษุนั้น พิจารณาดูอยู่อย่างนี้ ก็รู้ได้ว่า ลมหายใจเข้า
และหายใจออกนี้ (ของทารกผู้อยู่) ภายในท้องของมารดา ไม่มี พวกชนผู้
ดำน้ำก็ไม่มี. พวกอสัญญีสัตว์ คนตายแล้ว ผู้เข้าจตุตถฌาน ท่านผู้พร้อม
เพรียงด้วยรูปภพและอรูปภพ ท่านเข้านิโรธ ก็ไม่มีเหมือนกัน แล้วพึงตัก-
เตือนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า แน่ะบัณฑิต ! ตัวเธอไม่ใช่ผู้อยู่ในท้องของมารดา
ไม่ใช่ผู้ดำน้ำ ไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ ไม่ใช่คนตาย ไม่ใช่ผู้เข้าจตุตถฌาน
ไม่ใช่ผู้พร้อมเพรียง ด้วยรูปภพ และอรูปภพ ไม่ใช่ผู้เข้านิโรธ มิใช่หรือ ?
ตัวเธอยังมีลมหายใจเข้าและหายใจออกอยู่แท้ ๆ, แต่ตัวเธอก็ไม่สามารถจะ
กำหนดได้ เพราะยังมีปัญญาอ่อน.
ภายหลัง เธอนั้น ควรตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจที่ลมถูกต้องโดยปกตินั่นเอง
ให้มนสิการเป็นไป. จริงอยู่ ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ กระทบโครงจมูก
ของผู้มีจมูกยาวผ่านไป, กระทบริมฝีปากข้างบนของผู้มีจมูกสั้นผ่านไป. เพราะ
ฉะนั้น เธอนั่น จึงควรตั้งนิมิตไว้ว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อม
กระทบฐานชื่อนี้. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
นี้แล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวการเจริญอานาปานัสสติ
แก่ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่.*
//* ม. อุป. 14/196-7.