เมนู

พึงมนสิการด้วยอำนาจการถูกต้อง และด้วยอำนาจการหยุดไว้ เพราะว่าไม่มี
การมนสิการเป็นแผนกหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งการถูกต้องและหยุดไว้ เหมือนกับ
ด้วยอำนาจแห่งการนับและการตามผูก. แต่พระโยคาวจรเมื่อนับอยู่ในฐานที่
ลมถูกต้องแล้ว ๆ นั่นแหละชื่อว่ามนสิการด้วยการนับและการถูกต้อง. พระโย-
คาวจร เมื่อหยุดพักการนับในฐานะที่ลมถูกต้องแล้ว ๆ นั้นนั่นแล ใช้สติตาม
ผูกลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น และตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอัปปนา ท่านเรียกว่า
มนสิการด้วยการตามผูก การถูกต้องและการหยุดไว้. ใจความนี้นั้นพึงทราบ
ด้วยข้ออุปมาเหมือนคนง่อยและคนรักษาประตู ที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา
และด้วยข้ออุปมาเหมือนเลื่อยที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิ-
สัมภิทา.

[ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้า]


บรรดาข้ออุปมา 3 อย่างนั้น ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้ามีดังท่อ
ไปนี้:- เปรียบเหมือนคนง่อยไกวชิงช้า ให้แก่ มารดาและบุตรผู้เล่นชิงช้าอยู่
แล้วนั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้าในที่นั้นนั่นเอง เมื่อกระดานชิงช้าไกวไปอยู่โดยลำดับ
ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองข้างและตรงกลาง แต่มิได้ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสอง
ข้างและตรงกลาง แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยืนที่ใกล้โคนเสาอัน
เข้าไปผูกไว้ด้วยอำนาจสติแล้วโล้ชิงช้าคือลมหายใจเข้าและหายใจออก นั่งอยู่
ด้วยสติ ในนิมิตนั้นนั่นเอง ส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่ง
ลมหายใจเข้าและหายใจออก ในฐานะที่ลมถูกต้องแล้ว ซึ่งพัดผ่านมาและผ่าน
อยู่โดยลำดับ และตั้งจิตเฉยไว้ในนิมิตนั้น และไม่ขวนขวายเพื่อจะแลดูลมเหล่า
นั้น. นี้เป็นข้ออุปมาเหมือนตนง่อย.

[ข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู]


ส่วนข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตูมีดังต่อไปนี้ :- คนรักษาประตูจะ
ไม่สอบสวนบุรุษทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกพระนครว่า ท่านเป็นใคร ?
มาแต่ไหน ? จะไปไหน ? หรือว่า ในมือของท่านมีอะไร ? ความจริง พวก
มนุษย์ผู้เดินไปทั้งภายในและภายนอกพระนครเหล่านั้นไม่ใช่หน้าที่ของคนรักษา
ประตูนั้น แต่เขาย่อมสอบสวนเฉพาะคนผู้มาถึงประตูแล้ว ๆ เท่านั้น แม้ฉัน
ใด ลมเข้าไปข้างในและลมที่ออกไปข้างนอก ย่อมไม่เป็นหน้าที่ของภิกษุนี้
ฉันนั้นเหมือนกัน จะเป็นหน้าที่ก็เฉพาะแต่ลมที่มาถึงช่องแล้ว ๆ เท่านั้น. นี้
เป็นข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู.

[การกำหนดลมหายใจเปรียบเหมือนเลื่อย]


ส่วนข้ออุปมาเหมือนเลื่อย ควรทราบจำเดิมแต่ต้นไป. สมดังคำที่ท่าน
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ว่า
นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจ
ออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว และ
เมื่อบุคคลไม่รู้ธรรมทั้ง 3 ประการ ย่อมไม่
ได้ภาวนา (ภาวนาย่อมไม่สำเร็จ). นิมิต ลม
หายใจเข้าและลมหายใจออก มิใช่เป็น
อารมณ์แต่งจิตดวงเดียว และเมื่อบุคคลรู้ซึ่ง
ธรรม 3 ประการ ย่อมได้ภาวนา.

ถามว่า ธรรม 3 ประการเหล่านี้ จะไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
และธรรม 3 ประการเหล่านี้ จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตจะไม่ถึงความฟุ้งซ่าน
ประธาน (ความเพียร) ย่อมปรากฏ แลพระโยคาวจรจะทำประโยคให้สำเร็จ
ได้บรรลุคุณวิเศษอย่างไร.