เมนู

ถามว่า จะพึงนับลมอัสสาสะและปัสสาสะนั่น นานเท่าไร ?
แก้ว่า พึงนับไปจนกว่าสติที่เว้นจากการนับ จะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์
คือลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เพราะว่าการนับ ก็เพื่อจะตัดวิตกที่พล่านไปใน
ภานอก แล้วตั้งสติไว้ในอารมณ์ คือ ลมอัสสาสะและปัสสาสะ..เท่านั้น.

[อธิบายเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดลมหายใจเข้าออก]


พระโยคาวจร ครั้นมนสิการโดยการนับอย่างนั้นแล้ว พึงมนสิการ
โดยการตามผูก. กิริยาที่หยุดพักการนับ แล้วส่งสติไปตามลมอัสสาสะและ
ปัสสาสะติดต่อกันไป ชื่อว่าการตามผูก. ก็แลการส่งสติไปตามนั้น. หาใช่ด้วย
อำนาจการไปตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด (แห่งลมอัสสาสะ) ไม่. จริง
อยู่ นาภี (สะดือ) เป็นเบื้องต้นแห่งลมออกไปภายนอก หทัย (หัวใจ) เป็น
ท่ามกลาง นาสิก (จมูก) เป็นที่สุด ปลายนาสิก เป็นเบื้องต้น แห่งลมเข้า
ไปภายใน หทัย เป็นท่ามกลาง นาภี เป็นที่สุด. ก็เมื่อพระโยคาวจรนั้น ไป
ตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด (แห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ) นั้น จิต
ที่ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นไปเพื่อความกระวนกระวาย และเพื่อความหวั่นไหว.
เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า เมื่อพระโยคาวจรส่ง
สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจว่า กายก็ดี จิตก็ดี ย่อม
ความระส่ำระสาย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่านไปภายใน
เมื่อพระโยคาวจรส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก
กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมมีความระส่ำระสาย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึง
ความฟ้งซ่านไปภายนอก*. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร เมื่อมนสิการโดยการ
ตามถูก ไม่พึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด อนึ่งแล
//* ขุ. ปฏิ. 31/29.

พึงมนสิการด้วยอำนาจการถูกต้อง และด้วยอำนาจการหยุดไว้ เพราะว่าไม่มี
การมนสิการเป็นแผนกหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งการถูกต้องและหยุดไว้ เหมือนกับ
ด้วยอำนาจแห่งการนับและการตามผูก. แต่พระโยคาวจรเมื่อนับอยู่ในฐานที่
ลมถูกต้องแล้ว ๆ นั่นแหละชื่อว่ามนสิการด้วยการนับและการถูกต้อง. พระโย-
คาวจร เมื่อหยุดพักการนับในฐานะที่ลมถูกต้องแล้ว ๆ นั้นนั่นแล ใช้สติตาม
ผูกลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น และตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอัปปนา ท่านเรียกว่า
มนสิการด้วยการตามผูก การถูกต้องและการหยุดไว้. ใจความนี้นั้นพึงทราบ
ด้วยข้ออุปมาเหมือนคนง่อยและคนรักษาประตู ที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา
และด้วยข้ออุปมาเหมือนเลื่อยที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิ-
สัมภิทา.

[ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้า]


บรรดาข้ออุปมา 3 อย่างนั้น ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้ามีดังท่อ
ไปนี้:- เปรียบเหมือนคนง่อยไกวชิงช้า ให้แก่ มารดาและบุตรผู้เล่นชิงช้าอยู่
แล้วนั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้าในที่นั้นนั่นเอง เมื่อกระดานชิงช้าไกวไปอยู่โดยลำดับ
ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองข้างและตรงกลาง แต่มิได้ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสอง
ข้างและตรงกลาง แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยืนที่ใกล้โคนเสาอัน
เข้าไปผูกไว้ด้วยอำนาจสติแล้วโล้ชิงช้าคือลมหายใจเข้าและหายใจออก นั่งอยู่
ด้วยสติ ในนิมิตนั้นนั่นเอง ส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่ง
ลมหายใจเข้าและหายใจออก ในฐานะที่ลมถูกต้องแล้ว ซึ่งพัดผ่านมาและผ่าน
อยู่โดยลำดับ และตั้งจิตเฉยไว้ในนิมิตนั้น และไม่ขวนขวายเพื่อจะแลดูลมเหล่า
นั้น. นี้เป็นข้ออุปมาเหมือนตนง่อย.