เมนู

[อธิบายวิธีนับลมหายใจเข้าออก]


บรรดามนสิการวิธี มีการนับเป็นต้นนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญนี้
ควรมนสิการกรรมฐานนี้โดยการนับก่อน. และเมื่อจะนับไม่ควรหยุดนับต่ำกว่า
5 ไม่ควรนับให้เกินกว่า 10 ไม่ควรแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง.
เพราะเมื่อหยุดนับต่ำกว่า 5 จิตตุปบาทย่อมดิ้นรนในโอกาสดับแคบ ดุจฝูงโค
ที่รวมขังไว้ในคอกที่คับแคบฉะนั้น. เมื่อนับเกินกว่า 10 ไป จิตตุปบาทก็
พะวงยู่ด้วยการนับเท่านั้น. เมื่อแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง จิตย่อม
หวั่นไปว่า กรรมฐานของเราถึงที่สุดหรือไม่หนอ. เพราะฉะนั้น ต้องเว้นโทษ
เหล่านี้เสียแล้ว จึงค่อยนับ. เมื่อจะนับ ครั้งแรก ควรนับโดยวิธีนับช้า ๆ
คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าวเปลือก. จริงอยู่ คนตวงข้าวเปลือก ตวงเต็มทะนาน
แล้วบอกว่า 1 จึงเทลง เมื่อตวงเต็มอีก พบหยากเยื่อบางอย่าง เก็บมันทิ้งเสีย
จึงบอกว่า 1-1. ในคำว่า 2-2 เป็นต้น ก็นัยนี้. กุลบุตรแม้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน บรรดาลมหายใจเข้าและหายใจออก ส่วนใดปรากฏ พึงจับเอาส่วนนั้น
แล้วพึงกำหนด ลมที่กำลังผ่านไป ๆ ตั้งแต่ต้นว่า 1-1 ไป จนถึงว่า 1.10
เมื่อกุลบุตรนั้นนับอยู่โดยวิธีอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ที่กำลังผ่านออกและ
ผ่านเข้า ย่อมปรากฏ.
ลำดับนั้น กุลบุตรนี้ควรละวิธีนับช้า ๆ คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าว
เปลือกนั้นเสีย แล้วพึงนับโดยวิธีเร็ว ๆ คือนับอย่างวิธีนายโคบาล. แท้จริง
นายโคบาลผู้ฉลาด เอาก้อนกรวดใส่พก มือถือเชือกและไม้ตะพูดไปสู่คอกแต่
เช้าตรู่ ตีโคที่หลังแล้ว นั่งอยู่บนเสาลิ่มสลัก นับแม่โคตัวมาถึงประตูแล้ว ๆ
ใส่ก้อนกรวดลงไปว่า 1-2 เป็นต้น. ฝูงโคที่อยู่ลำบากในโอกาสที่คับแคบ
ตลอดราตรี 3 ยาม เมื่อออก (จากคอก) เบียดเสียดกันและกันรีบออกเป็น

หมู่ ๆ. นายโคบาลนั้น ย่อมนับอย่างรวดเร็วทีเดียวว่า 3 - 4- 5- 10 เป็นต้น.
แม้เมื่อกุลบุตรนี้ นับอยู่โดยนัยก่อนอย่างว่ามาแล้วนี้ ลมอัสสาสะและปัสสาสะ
ย่อมปรากฏสัญจรไปมา อย่างรวดเร็ว. ลำดับนั้นเธอรู้อยู่ว่า ลมอัสสาสะและ
ปัสสาสะ ย่อมสัญจรไปมา อย่างรวดเร็ว แล้วไม่ถือเอาลมภายในและภายนอก
พึ่งกำหนดเฉพาะลมที่มาถึงช่อง ๆ เท่านั้น นับอย่างเร็ว ๆ ทีเดียวว่า
1 - 2 - 3 - 4 - 5 -
1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6
1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7
1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8
1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9
1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9 - 10
เพราะว่าในกรรมฐานที่เนื่องด้วยการนับ จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้
ด้วยกำลังแห่งการนับเท่านั้น ดุจการหยุดเรือไว้ในกระแสน้ำเชี่ยว ด้วยอำนาจ
ที่เอาถ่อค้ำไว้ฉะนั้น. เมื่อเธอนับอยู่เร็ว ๆ อย่างนี้กรรมฐานย่อมปรากฏเป็นดุจ
ว่า ดำเนินไปไม่ขาดสาย. เวลานั้น ครั้นเธอรู้ว่า กรรมฐานดำเนินไปไม่ขาด
สาย แล้ว อย่ากำหนดลมทั้งภายในและภายนอก พึงนับเร็ว ๆ ตามนัยก่อน
นั่นแล. เมื่อเธอส่งจิตเข้าไปพร้อมกับลมที่เข้าไปภายใน ฐานภายใน ถูกลม
กระทบแล้ว ย่อมเป็นเหมือนเต็มด้วยมันข้นฉะนั้น. เมื่อนำจิตออกมาพร้อมกับ
ลมที่ออกมาภายนอก จิตย่อมส่ายไปในอารมณ์มากหลายในภายนอก. แต่ภาวนา
ย่อมสำเร็จแก่ผู้ตั้งสติไว้ ในโอกาสที่ลมถูกต้อง เจริญอยู่เท่านั้น. เพราะเหตุ
นั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า อย่ากำหนดลมทั้งภายในและภายนอก พึงนับเร็ว ๆ
ตามนัยก่อนนั่นแล.

ถามว่า จะพึงนับลมอัสสาสะและปัสสาสะนั่น นานเท่าไร ?
แก้ว่า พึงนับไปจนกว่าสติที่เว้นจากการนับ จะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์
คือลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เพราะว่าการนับ ก็เพื่อจะตัดวิตกที่พล่านไปใน
ภานอก แล้วตั้งสติไว้ในอารมณ์ คือ ลมอัสสาสะและปัสสาสะ..เท่านั้น.

[อธิบายเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดลมหายใจเข้าออก]


พระโยคาวจร ครั้นมนสิการโดยการนับอย่างนั้นแล้ว พึงมนสิการ
โดยการตามผูก. กิริยาที่หยุดพักการนับ แล้วส่งสติไปตามลมอัสสาสะและ
ปัสสาสะติดต่อกันไป ชื่อว่าการตามผูก. ก็แลการส่งสติไปตามนั้น. หาใช่ด้วย
อำนาจการไปตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด (แห่งลมอัสสาสะ) ไม่. จริง
อยู่ นาภี (สะดือ) เป็นเบื้องต้นแห่งลมออกไปภายนอก หทัย (หัวใจ) เป็น
ท่ามกลาง นาสิก (จมูก) เป็นที่สุด ปลายนาสิก เป็นเบื้องต้น แห่งลมเข้า
ไปภายใน หทัย เป็นท่ามกลาง นาภี เป็นที่สุด. ก็เมื่อพระโยคาวจรนั้น ไป
ตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด (แห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ) นั้น จิต
ที่ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นไปเพื่อความกระวนกระวาย และเพื่อความหวั่นไหว.
เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า เมื่อพระโยคาวจรส่ง
สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจว่า กายก็ดี จิตก็ดี ย่อม
ความระส่ำระสาย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่านไปภายใน
เมื่อพระโยคาวจรส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก
กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมมีความระส่ำระสาย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึง
ความฟ้งซ่านไปภายนอก*. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร เมื่อมนสิการโดยการ
ตามถูก ไม่พึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด อนึ่งแล
//* ขุ. ปฏิ. 31/29.