เมนู

[อธิบายวิธีนับลมหายใจเข้าออก]


บรรดามนสิการวิธี มีการนับเป็นต้นนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญนี้
ควรมนสิการกรรมฐานนี้โดยการนับก่อน. และเมื่อจะนับไม่ควรหยุดนับต่ำกว่า
5 ไม่ควรนับให้เกินกว่า 10 ไม่ควรแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง.
เพราะเมื่อหยุดนับต่ำกว่า 5 จิตตุปบาทย่อมดิ้นรนในโอกาสดับแคบ ดุจฝูงโค
ที่รวมขังไว้ในคอกที่คับแคบฉะนั้น. เมื่อนับเกินกว่า 10 ไป จิตตุปบาทก็
พะวงยู่ด้วยการนับเท่านั้น. เมื่อแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง จิตย่อม
หวั่นไปว่า กรรมฐานของเราถึงที่สุดหรือไม่หนอ. เพราะฉะนั้น ต้องเว้นโทษ
เหล่านี้เสียแล้ว จึงค่อยนับ. เมื่อจะนับ ครั้งแรก ควรนับโดยวิธีนับช้า ๆ
คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าวเปลือก. จริงอยู่ คนตวงข้าวเปลือก ตวงเต็มทะนาน
แล้วบอกว่า 1 จึงเทลง เมื่อตวงเต็มอีก พบหยากเยื่อบางอย่าง เก็บมันทิ้งเสีย
จึงบอกว่า 1-1. ในคำว่า 2-2 เป็นต้น ก็นัยนี้. กุลบุตรแม้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน บรรดาลมหายใจเข้าและหายใจออก ส่วนใดปรากฏ พึงจับเอาส่วนนั้น
แล้วพึงกำหนด ลมที่กำลังผ่านไป ๆ ตั้งแต่ต้นว่า 1-1 ไป จนถึงว่า 1.10
เมื่อกุลบุตรนั้นนับอยู่โดยวิธีอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ที่กำลังผ่านออกและ
ผ่านเข้า ย่อมปรากฏ.
ลำดับนั้น กุลบุตรนี้ควรละวิธีนับช้า ๆ คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าว
เปลือกนั้นเสีย แล้วพึงนับโดยวิธีเร็ว ๆ คือนับอย่างวิธีนายโคบาล. แท้จริง
นายโคบาลผู้ฉลาด เอาก้อนกรวดใส่พก มือถือเชือกและไม้ตะพูดไปสู่คอกแต่
เช้าตรู่ ตีโคที่หลังแล้ว นั่งอยู่บนเสาลิ่มสลัก นับแม่โคตัวมาถึงประตูแล้ว ๆ
ใส่ก้อนกรวดลงไปว่า 1-2 เป็นต้น. ฝูงโคที่อยู่ลำบากในโอกาสที่คับแคบ
ตลอดราตรี 3 ยาม เมื่อออก (จากคอก) เบียดเสียดกันและกันรีบออกเป็น