เมนู

ธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตา
ในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูก
อะไร ๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์. อนึ่ง
เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควร
เสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่
ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา.
เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง 3 (คือ เมตตา 1 มรณัสสติ 1 อสุภสัญญา 1)
นั้น ของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่า
เป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือ พึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะ
เป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐาน แห่งการหมั่นประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความเพียร ตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็บรรดาอารมณ์ 38 ประการ กรรมฐานใด ที่คล้อยตามจริตของ
กุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปารหาริยกรรมฐาน เพราะเป็น
กรรมฐานที่กุลบุตรนั้น ควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง
แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริย-
กรรมฐาน. ในอธิการว่าด้วยอานาปานกัมมัฏฐานนี้ มีความสังเขปเท่านี้. ส่วน
ความพิสดารนักศึกษาผู้ต้องการกถาว่าด้วยการชำระศีลให้หมดจด และกถาว่า
ด้วยการตัดปลิโพธ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.

[ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]


อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์ และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะ
เรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วย
กรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่

ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระ-
อนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามี
นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็
ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์,
เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจ-
ฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา. จริงอยู่ พระอริยบุคคล
ทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น.
ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและ
ไม่สบาย ในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ใน
ป่าที่รกชัฏฉะนั้น.

[กรรมฐานมีสนธิคือที่ต่อ 5 อย่าง]


ในอธิการว่าด้วยการเรียนกรรมฐานนั้น มีอนุบุพพีกถาดังต่อไปนี้:-
ภิกษุนั้นควรเป็นผู้มีความพระพฤติเบา สมบูรณ์ด้วยวินัยและมรรยาทเข้าไปหา
อาจารย์ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว พึงเรียนกรรมฐาน มีสนธิ 5 ในสำนักของ
อาจารย์นั้น ผู้มีจิตอันตนให้ยินดี ด้วยวัตรและข้อปฏิบัติ. ในคำว่า กรรมฐาน
มีสนธิ 5 นั้น สนธิมี 5 อย่างเหล่านี้ คือ อุคคหะ การเรียน 1 ปริปุจฉา
การสอบถาม 1 อุปัฏฐานะ ความปรากฏ 1 อัปปนา ความแน่นแฟ้น 1
ลักษณะ ความกำหนดหมาย 1.
ในอุคคหะเป็นต้นนั้น การเรียนกรรมฐาน ชื่อว่า อุคคหะ. การ
สอบถามกรรมฐาน ชื่อว่า ปริปุจฉา. ความปรากฏแห่งกรรมฐาน ชื่อว่า
อุปัฏฐานะ. ความแน่วแน่แห่งกรรมฐาน ชื่อว่า อัปปนา. ลักษณะแห่ง
กรรมฐาน ชื่อว่า ลักษณะ. มีคำอธิบายว่า ความใคร่ครวญแห่งสภาพกรรม-