เมนู

เมื่อกายและจิต ยังระล่ำระสายอยู่
กายสังขารย่อมเป็นไปเกินประมาณ เมื่อกาย
และจิต ไม่ระส่ำระสาย กายสังขารย่อมเป็น
ไปละเอียด.


[กายสังขารในฌานชั้นสูงขึ้นไปย่อมละเอียดไปตามลำดับ]


กายสังขารแม้ในเวลากำหนดก็ยังหยาบ ในอุปจารแห่งปฐมฌาน
ละเอียด. ถึงแม้ในอุปจารแห่งปฐมฌานนั้น ก็ยังหยาบ ในปฐมฌานละเอียด.
ในปฐมฌานและในอุปจารแห่งทุติยฌานยังหยาบ ในทุติยฌานละเอียด. ใน
ทุติยฌานและในอุปจารแห่งตติยฌานก็ยังหยาบ ในตติยฌานละเอียด. ใน
ตติยฌานและอุปจารแห่งจตุตถฌานก็ยังหยาบ ในจตุตถฌานละเอียดยิ่งนัก ถึง
ความไม่เป็นไปทีเดียว. คำนี้เป็นมติของพระอาจารย์ผู้กล่าวทีฆนิกาย และ
สังยุตตนิกายก่อน. ส่วนพระอาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวมัชฌิมนิกาย ย่อมปรารถนา
ความละเอียดกว่ากัน แม้ในอุปจารแห่งฌานชั้นสูง ๆ ขึ้นไปกว่าฌานชั้นต่ำ ๆ
อย่างนี้ คือกายสังขารที่เป็นไปในปฐมฌาน ยังเป็นของหยาบ โนอุปจารแห่ง
ทุติยฌาน จึงจัดว่าละเอียด ดังนี้เป็นต้น. ก็ตามมติของพระอาจารย์ทั้งหมด
นั้นแล ควรทราบดังนี้ว่า กายสังขารที่เป็นไปในเวลาที่ยังมิได้กำหนด (กรรม-
ฐาน) ย่อมระงับไปในเวลาที่กำหนดแล้ว กายสังขารที่เป็นไปในเวลาที่ได้
กำหนด ย่อมระงับไปในอุปจารแห่งปฐมฌาม ฯ ล ฯ กายสังขารทีเป็นไปใน
อุปจารแห่งจตุตถฌาน ย่อมระงับไปในจตุตถฌาน. ในสมถะมีนัยเท่านี้ก่อน.
ส่วนในวิปัสสนา พึงทราบนัยดังนี้:- กายสังขารที่เป็นไปในเมื่อยัง
มิได้กำหนด ยังหยาบ ในการกำหนดมหาภูตรูปละเอียด แม้การกำหนดมหา-
ภูตรูปนั้น ก็ยังหยาบ ในการกำหนดอุปาทายรูปละเอียด แม้การกำหนดอุปา-

ทายรูปนั้น ก็ยังหยาบ ในการกำหนดรูปทั้งสิ้นละเอียด แม้การกำหนดรูปทั้ง
สิ้นนั้น ก็ยังหยาบ, ในการกำหนดอรูปละเอียด, แม้การกำหนดอรูปนั้น ก็
ยังหยาบ, ในการกำหนดรูปและอรูป ละเอียด แม้การกำหนดรูปและอรูปนั้น
ก็ยังหยาบ, ในการกำหนดปัจจัยละเอียด, แม้การกำหนดปัจจัยนั้น ก็ยังหยาบ,
ในการเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยละเอียด, แม้การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย
นั้น ก็ยังหยาบ, ในวิปัสสนาที่ประกอบด้วยลักษณะและอารมณ์ ละเอียด,
แม้นั้นก็ยังหยาบ ในวิปัสสนาที่มีกำลังเพลา, ในวิปัสสนาที่มีกำลังจึงจัดว่า
ละเอียด. ในวิปัสสนานัยนั้น พึงทราบความสงบไปแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ
ก่อน ๆ ด้วยลมอัสสาสะและปัสสาสะหลัง ๆ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล.
ในคำว่า ระงับกายสังขารที่หยาบ นี้ พึงทราบความที่ลมหยาบละเอียดและสงบ
ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้แล.
ส่วนในปฏิสัมภิทา พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวเนื้อความแห่ง
บทนั้น พร้อมกับคำท้วงแลคำแก้ให้กระจ่างอย่างนั้น:-
ภิกษุย่อมสำเหนียกอย่างไร ? ย่อมสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักระงับ
กายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก.
กายสังขารเป็นไฉน ? ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร, ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น
สำเหนียกอยู่ ; ลมหายใจออกยาวเป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
เป็นกายสังขาร, ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น สำเหนียกอยู่ ;
ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ลมที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ลมที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น

สำเหนียกอยู่. ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป
ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย เพราะกายสังขาร
เห็นปานใด, ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารเห็นปานนั้นหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารเห็นปานนั้น หายใจออก. ความไม่
อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว
ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลงแห่งกาย เพราะกายสังขารเห็น
ปานใด, ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมเห็นปานั้น
หายใจเข้า หายใจออก. หากว่าภิกษุสำเหนียกอยู่อย่างนี้ว่า เราจักระงับกาย-
สังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก. เมื่อ
เป็นอย่างนั้น ความได้ลม* (อัสสาสะและปัสสาสะ) ก็ไม่เป็นไป (คือไม่
เกิดขึ้น); ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ก็ไม่เป็นไป, อานาปานัสสติก็ไม่เป็นไป,
อานาปานัสสติสมาธิ ก็ไม่เป็นไป, และสมาบัตินั้น บัณฑิตทั้งหลายจะเข้าบ้าง
จะออกบ้าง ก็หาไม่, ถ้าหากว่าภิกษุ สำเหนียกอยู่อย่างนี้ว่า เราจักระงับ
กายสังขารหายใจเข้า หายใจออก. เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลม* (อัสสาสะ
และปัสสาสะ) ย่อมเป็นไป (คือเกิดขึ้น), ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ย่อมเป็นไป,
อานาปานัสสติย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติสมาธิ ย่อมเป็นไป, และสมาบัตินั้น
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าบ้าง ย่อมออกบ้าง. ข้อนั้นเปรียบเหมือนอะไร ?
เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาล เสียงดัง (เสียงหยาบ) ย่อมกระจายไปก่อน
เพราะกำหนดใส่ใจ จำไว้ด้วยดี ซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง แม้เมื่อเสียงดังดับไปแล้ว;
ต่อมาเสียงละเอียด (เสียงครวญ) ย่อมกระจายไปภายหลัง, เพราะกำหนด
ใส่ใจ จำไว้ด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงครวญ แม้เมื่อเสียงครวญดับไปแล้ว; ต่อ
//* วาตปลทฺธิ ความสำเหนียก กำหนดหมายลม.

มาจิตย่อมเป็นไปภายหลัง แม้เพราะมีนิมิตแห่งเสียงครวญเป็นอารมณ์ ข้อนี้
ก็เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อน,
เพราะกำหนดใส่ใจจำไว้ด้วยดี ซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบ
เมื่อลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบ แม้ดับไปแล้ว, ต่อมาลมหายใจเข้า
และหายใจออกที่ละเอียดย่อมเป็นไปภายหลัง เพราะกำหนดใส่ใจ จำไว้ด้วยดี
ซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ละเอียด เมื่อลมหายใจเข้าและลม
หายใจออกที่ละเอียดแม้ดับไปแล้ว, ต่อมาจิตไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง
แม้เพราะมีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ละเอียดเป็นอารมณ์. เมื่อ
เป็นอย่างนี้ ความได้ลม (อัสสาสะและปัสสาสะ) ย่อมเป็นไป, ลมอัสสาสะ
และปัสสาสะย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติสมาธิย่อม
เป็นไป, และสมาบัตินั้น บัณฑิตทั้งหลาย่อมหายใจเข้าบ้าง ย่อมหายใจออก
บ้าง กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจเข้าและหายใจออกย่อมปรากฏ,
สติเป็นอนุปัสสนาญาณ, กายย่อมปรากฏ, ไม่ใช่สติ, สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติ
ด้วย, ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เพราะเหตุดังนี้
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย* ดังนี้.
ในบทว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ นี้ มีการพรรณนาตามลำดับบท
แห่งปฐมจตุกกะ ซึ่งตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งกายานุปัสสนาเพียงเท่านี้ ก่อน. แต่
เพราะในอธิการนี้ จตุกกะนี้เท่านั้น ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งกรรมฐานของ
กุลบุตรผู้เริ่มทำ, ส่วนอีก 3 จตุกกะนอกนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเวทนา-
นุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา ของกุลบุตรผู้บรรลุฌานแล้วในปฐมจตุกกะนี้;
ฉะนั้น พุทธบุตร ผู้ปรารถนาจะเจริญกรรมฐานนี้ แล้วบรรลุพระอรหัต
//* ขุ. ปฏิ. 31/278-280.

พร้อมกับปฏิสัมภิทา ด้วยวิปัสสนาอันมีอานาปานจตุตถฌานเป็นปทัฏฐาน
ควรทราบกิจที่ตนควรทำก่อนทั้งหมด ตั้งแต่ต้น ในอธิการแห่งอานาปานัสสติ
กรรมฐานนี้แล ด้วยสามารถแห่งกุลบุตรผู้เริ่มทำ.

[กุลบุตรจะเรียนกรรมฐานต้องบำเพ็ญศีลให้บริสุทธิ์ก่อน]


กุลบุตรควรชำระศีล 4 อย่างให้หมดจดก่อน. ในศีลนั้น มีวิธีชำระ
ให้หมดจด 3 อย่าง คือ ไม่ต้องอาบัติ 1 ออกจากอาบัติที่ต้องแล้ว 1 ไม่
เศร้าหมองด้วยกิเลสทั้งหลาย 1. จริงอยู่ ภาวนาย่อมสำเร็จแก่กุลบุตรผู้มีศีล
บริสุทธิ์อย่างนั้น. กุลบุตรควรบำเพ็ญแม้ศีลที่ท่านเรียกว่าอภิสมาจาริกศีล ให้
บริบูรณ์ดีเสียก่อน ด้วยอำนาจวัตรเหล่านี้ คือ วัตรที่ลานพระเจดีย์ วัตรที่
ลานต้นโพธิ์ อุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร วัตรที่เรือนไฟ วัตรที่โรงอุโบสถ
ขันธกวัตร 82 มหาวัตร 14. จริงอยู่ กุลบุตรใด พึงกล่าวว่า เรารักษาศีล
อยู่, กรรมด้วยอภิสมาจาริกวัตรจะมีประโยชน์อะไร ? ข้อที่ศีลของกุลบุตรนั้น
จักบริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. แต่เมื่ออภิสมาจาริกวัตรบริบูรณ์
ศีลก็จะบริบูรณ์. เมื่อศีลบริบูรณ์ สมาธิย่อมถือเอาห้อง. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่ภิกษุนั้นหนอไม่
บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลาย
ให้บริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้* เรื่องนี้ควรให้พิสดาร. เพราะเหตุ
ฉะนั้น กุลบุตรนี้ควรบำเพ็ญแม้วัตร มีเจติยังคณวัตรเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่า
อภิสมาจาริวัตร ให้บริบูรณ์ด้วยดีเสียก่อน.
เบื้องหน้าแต่การชำระศีลให้หมดจดนั้น ก็ควรตัดปลิโพธ (ความ
กังวล) อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในบรรดาปลิโพธ 10 อย่างที่พระอาจารย์
ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
//* องฺ. ปญฺจก. 22/15-16.