เมนู

ดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ ในวิภังค์เฉพาะแห่งสองคำนี้ว่า
โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ในปฏิสัมภิทาว่า ภิกษุ ย่อมเป็น
ผู้อบรมสติ โดยอาการ 32 อย่าง คือ สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติ
ด้วยสตินั่น ด้วยญาณนั้น, สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น ฯ ล ฯ สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า . . . ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้
อบรมสติด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น.1

[มติลมหายใจเข้าและออกตามอรรถกถาวินัยและพระสูตร]


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ได้แก่
เมื่อให้ลมหายใจเข้ายาวเป็นไปอยู่. ในอรรถกถาวินัย ท่านกล่าวไว้ว่า ลมที่
ออกไปข้างนอก ชื่อว่า อัสสาสะ คือลมหายใจออก2 ลมที่เข้าไปข้างใน ชื่อว่า
ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า.3 ส่วนในอรรถกถาแห่งพระสูตรทั้งหลาย มาโดย
กลับลำดับกัน.

//1. ขุ. ปฎิ. 31 /264-5. 2.-3. ศัพท์ว่า อสฺสาโส และ ปสฺสาโส หรือ อสฺสสติ และ
//ปสฺสสติ ทั้ง 2 ศัพท์นี้ บางท่าน แปล อสฺสาโส หรือ อสฺสสติ ว่า หายใจออก ปาสฺสาโส
//หรือ ปสฺสสติ ว่า หายใจเข้า, ส่วนในหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่ต้นมาได้แปล อสฺสาโส หรือ อสฺสสติ
//ว่า หายใจเข้า, ปสฺสาโส หรือ ปสฺสสติ ว่า หายใจออก, ที่แปลเช่นนี้ ก็เพราะอาศัยนัยอรรถกถา
//แห่งพระสูตรเป็นหลัก เช่นอรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตรในปัญจสูทนี ทุติยภาคหน้า 308
//เป็นต้น ซึ่งท่านอธิบายไว้ดังนี้ คือ:- อสฺสาโสติ อนฺโต ปวิสนนาสิกวาโต ลมที่จมูกเข้าไป
//ข้างใน ชื่อว่า อัสสาสะ คือลมหายใจเข้า, ปสฺสาโสติ พหิ นิกฺขมนนาสิกวาโต ลมที่ออกไป
//ภายนอก ชื่อว่า ปัสสาสะ คือลมหายใจออก, ส่วนในอรรถกถาวินัย ท่านก็อธิบายไว้กลับกัน

บรรดาลมทั้งสองนั้น ในเวลาที่สัตว์ผู้นอนอยู่ในครรภ์แม้ทุกชนิดออก
จากท้องแม่ ลมภายในครรภ์ย่อมออกไปข้างนอกก่อน ภายหลัง ลมข้างนอก
พาเอาละอองที่ละเอียดเข้าไปข้างใน กระทบเพดานแล้วดับไป. พึงทราบลม
อัสสาสะและปัสสาสะอย่างนั้นก่อน. ส่วนความที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
เหล่านั้น มีระยะและสั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งกาล. เหมือนอย่างว่า น้ำ
หรือทราย แผ่ออกไปตลอดระยะ คือโอกาสทั้งอยู่ เขาเรียกว่า น้ำยาว ทราย
ยาว น้ำสั้น ทรายสั้น ฉันใด ลมหายใจเข้าและหายใจออกแม้ที่ละเอียดจนยิบ
ก็ฉันนั้น ยังประเทศอันยาวในตัวช้างและตัวงู กล่าวคืออัตภาพของช้างและงู
เหล่านั้น ให้ค่อย ๆ เต็มแล้วก็ค่อย ๆ ออกไป; เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
ยาว. ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ยังประเทศอันสั้น กล่าวคือ อัตภาพ
แห่งสุนัขและกระต่ายเป็นต้น ให้เต็มเร็วแล้วก็ออกเร็วเหมือนกัน; เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า สั้น. แต่บรรดาหมู่มนุษย์ มนุษย์บางจำพวกหายใจเข้าและ
หายใจออกยาวด้วยอำนาจระยะกาล ดุจช้างและงูเป็นต้น บางจำพวกหายใจเข้า
และหายใจออกสั้น ดุจสุนัขและกระต่ายเป็นต้น; เพราะฉะนั้นลมหายใจเข้า
และหายใจออกเหล่านั้น ของมนุษย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจกาล ที่ออกและเข้าอยู่
กินเวลานาน พึงทราบว่า ยาว ที่ออกและเข้าอยู่ชั่วเวลาน้อย พึงทราบ
ว่าสั้น.
//ดังที่ปรากฏอยู่ข้างบนนี้ แม้ในปกรณ์วิสุทธิมรรค ภาค 2 หน้า 165 ท่านก็ชักออถกถามหาหัตถิป
//โทปมสูตนั่นเองมาอธิบายไว้. เรื่อง ศัพท์ว่า อัสสาสะ และ ปัสสาสะ นี้ ความจริงท่านผู้
//แต่งอรรถกถาทั้งพระวินัยและพระสูตรก็คนเดียวกัน คือท่านพระพุทธโฆสา และก็ค้านกันอยู่
//ทั้งสองแห่ง คืออรรถกถาพระวินัย และพระสูตร ถึงในอรรถกถาอธิบายไว้เหมือนพระสูตร ขอ
//ได้พิจารณาดูเถิด.

[ผู้เจริญอานาปานัสสติกรรมฐานย่อมได้ความปราโมทย์เป็นต้น]


ในลมหายใจเข้าและออกนั้น ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้าและหายใจออก-
ยาว โดยอาการ 9 อย่าง ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจเข้าหายใจออกยาว. ก็เมื่อ
เธอรู้ชัดอยู่อย่างนี้ พึงทราบว่า การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ย่อมสำเร็จ
ด้วยอาการอันหนึ่ง เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้
ในปฏิสัมภิทาว่า ถามว่าภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว1
ฯลฯ เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น อย่างไร2 ?
แก้ว่า ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้าและหาย
ใจออกยาว ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับว่ายาว ฉันทะย่อม
เกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจเข้าและหายใจออกยาว หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง
ในขณะที่นับว่ายาว ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ
ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วย
อำนาจฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้าและหายใจออก
ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ใน
ขณะที่นับว่ายาว ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้เมื่อหายใจเข้าและหาย
ใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง
ในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่า
นั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว ฯ ล ฯ เมื่อ
หายใจเข้าและหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ย่อม
หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ในขณะที่นับว่ายาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจ
//1. ขุ. ปฏิ. 31/65 2. ขุ. ปฏิ. 31/274.