เมนู

ข้อว่า สพฺเพ อุปฏฺฐานสาลายํ สนฺนิปาเตตฺวา ความว่า ไปสู่
ที่ ๆ ตนควรจะไปเองแล้ว ในที่อื่น ส่งภิกษุหนุ่มไปแทน จัดพวกภิกษุให้
ประชุมกันไม่ให้เหลือ ที่อุปัฏฐานศาลาโดยครู่เดียวเท่านั้น.
ในคำว่า ยสฺสิทานิ ภนฺเต ภควา กาลํ มญฺญติ นี้มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว, นี้เป็นกาล
เพื่อทรงทำธรรมกถา เพื่อประทานพระอนุศาสนีแก่ภิกษุทั้งหลาย, ขอพระองค์
ทรงทราบกาลแห่งกิจที่ควรทรงกระทำในบัดนี้เถิด.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกอานาปานัสสติแก่พวกภิกษุ]


ข้อว่า อถโข ภควา ฯ เป ฯ ภิกฺขู อามนฺเตสิ อยมฺปิ โข
ภิกฺขเว
มีความว่า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นรับสั่งตักเตือนแล้ว เมื่อ
จะตรัสบอกปริยายอย่างอื่นจากอสุภกรรมฐานที่ตรัสบอกแล้วในก่อน เพื่อบรรลุ
พระอรหัตแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสว่า อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นต้น. บัดนี้
เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีนี้ เพื่อทรงแสดงพระกรรมฐาน ที่เป็น
คุณสงบและประณีตจริง ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย; ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักทำการ
พรรณนาในพระบาลีนี้ ตามลำดับอรรถโยชนา ไม่ละทิ้งให้เสียไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยมฺปิ โข ภิกฺขเว เป็นต้นนี้มีโยชนา
ดังต่อไปนี้ก่อนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภภาวนาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อม
เป็นไปเพื่อละกิเลส หามิได้, อีกอย่างหนึ่ง อานาปานัสสติสมาธิ แม้นี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข
และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับเพลัน. ก็ใน
คำว่า อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นต้นนี้ มีอรรถวรรณนาดังต่อไปนี้.

สติกำหนดลมหายใจเข้าและหายใจออกชื่อว่าอานาปานัสสติ. สมจริง
ดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า ลมหายใจเข้า
ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ปัสสาสะ, ลมหายใจออก ชื่อว่า ปานะ1 ไม่ใช่อัสสาสะ,
สติเข้าไปตั้งอยู่ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้า สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยอำนาจลมหายใจ-
ออก ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้า ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจออก2.
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับสติที่กำหนดลมหายใจเข้า
และหายใจออกนั้น ชื่อว่าสมาธิ. ก็เทศนานี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยหัวข้อ คือสมาธิ
หาใช่ด้วยหัวข้อคือสติไม่. เพราะฉะนั้น ในบทว่า อานาปานสฺสติสมาธิ นี้
พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานัสสติ หรือสมาธิใน
อานาปานัสสติชื่อว่า อานาปานัสสติสมาธิ.
บทว่า ถาวโต แปลว่า ให้เกิดขึ้น หรือให้เจริญแล้ว.
บทว่า พหุลีกโต แปลว่า กระทำบ่อย ๆ.
สองบทว่า สนฺโต เจว ปณีโต จ คือ เป็นคุณสงบด้วยนั่นเทียว
เป็นคุณประณีตด้วยทีเดียว. ในบททั้งสองพึงทราบความแน่นอนด้วยเอวศัพท์.
ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า จริงอยู่ อานาปานัสสติ
สมาธินี้ จะเป็นธรรมไม่สงบ หรือไม่ประณีต โดยปริยายอะไร ๆ เหมือน
อสุภกรรมฐานซึ่งเป็นกรรมฐานสงบและประณีต ด้วยอำนาจการแทงตลอด
อย่างเดียว แต่ไม่สงบไม่ประณีตด้วยอำนาจอารมณ์ เพราะมีอารมณ์หยาบและ
เพราะมีอารมณ์ปฏิกูลฉันนั้นหามิได้, อนึ่งแล อานาปานัสสติสมาธินี้ สงบ คือ
ระงับดับสนิท เพราะมีอารมณ์สงบบ้าง เพราะมีองค์คือการแทงตลอดสงบบ้าง
//1. อปานนฺติ ปาลิ. 2. ขุ. ปฏี. 31/258.

ประณีต คือไม่กระทำให้เสียเกียรติ เพราะมีอารมณ์ประณีตบ้าง เพราะมีองค์
ประณีตบ้าง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สงบและประณีต.
ก็ในคำว่า อเสจนโก จ สุโข จ วิหาโร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
อานาปานัสสติสมาธินั้น ไม่มีเครื่องรด; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเยือกเย็น คือ
ไม่มีเครื่องราดไม่เจือปน แผนกหนึ่งต่างหาก ไม่ทั่วไป. อนึ่ง ความสงบ
โดยบริกรรม หรือโดยอุปจารในอานาปานัสสติสมาธินี้ไม่มี. อธิบายว่า เป็น
ธรรมสงบและประณีต โดยสภาพของตนทีเดียว จำเติมแค่เริ่มต้นใฝ่ใจ. แต่
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า อเสจนโก ความว่า ไม่มีเครื่องราด คือ
มีโอชะ มีรสอร่อยโดยสภาพทีเดียว. โดยอรรถดังกล่าวมาอย่างนี้ อานาปา-
นัสสติสมาธินี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เยือกเย็นและอยู่เป็นสุข เพราะเป็นไปเพื่อ
ให้ได้ความสุขทางกายและทางจิต ในขณะที่เข้าถึงแล้ว ๆ.
บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน หมายความว่า ที่ยังข่มไม่ได้ ๆ.
บทว่า ปาปเก หมายความว่า เลวทราม.
สองบทว่า อกุสเล ธมฺเม ได้แก่ ธรรมที่เกิดจากความไม่ฉลาด.
สองบทว่า ฐานโส อนฺตรธาเปติ ความว่า ย่อมให้อันตรธานไป
คือข่มไว้ได้โดยฉับพลันทีเดียว.
บทว่า วูปสเมติ ความว่า ย่อมให้สงบไปด้วยดี. อีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า อานาปานัสสติสมาธินี้ ย่อมถึงความเจริญด้วยอริยมรรคโดยลำดับ
เพราะมีส่วนแห่งการแทงตลอด ย่อมตัดขาดด้วยดี คือย่อมสงบราบคาบได้.
คำว่า เสยฺยถาปิ นี้ เป็นคำแสดงความอุปมา.
หลายบทว่า คิมฺหานํ ปจฺฉิเม มาเส ได้แก่ ในเดือนอาสาฬหะ
(เดือน 8). .

บทว่า อูหตรโชชลฺลํ* ความว่า ฝุ่นและละออง ถูกลมพัดฟุ้งขึ้น
เบื้องบน คือ ลอยขึ้นบนอากาศจากพื้นดิน ที่แตกระแหงเพราะกีบโคและ
กระบือเป็นต้นกระทบ ซึ่งแห้งเพราะลมและแดดเผาตลอดกึ่งเดือน.
เมฆซึ่งขึ้นเต็มท้องฟ้าทั้งหมด แล้วให้ฝนตกตลอดกึ่งเดือนทั้งสิ้นใน
ชุณหปักข์แห่งเดือนอาสาฬหะ ชื่อว่าฝนห่าใหญ่ที่ตกในสมัยใช่ฤดูกาล. จริง
อยู่ เมฆนั้น ท่านประสงค์เอาในอธิการนี้ว่า อกาลเมฆ เพราะเกิดขึ้นใน
เวลายังไม่ถึงฤดูฝน.
หลายบทว่า ฐานโส อนฺตรธาเปติ วูปสเมติ ความว่า ฝนห่า
ใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาลนั้น ย่อมพัดเอาฝุ่นและละอองนั้น ๆ ไป ไม่ให้
แลเห็น คือพัดให้จมหายไปในเผ่นดินโดยฉับพลันทีเดียว.
คำว่า เอวเมว โข นี้ เป็นคำเปรียบเทียบข้ออุปไมย. ถัดจากคำว่า
เอวเมว โข นั้นไป มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นแล.
ในคำว่า ถถํ ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ นี้
พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
คำว่า กถํ เป็นคำถาม คือความเป็นผู้ใคร่จะยังอานาปานัสสติสมาธิ
ภาวนาให้พิสดาร โดยประการต่าง ๆ.
คำว่า ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นคำแสดง
ไขข้อธรรมที่ถูกถาม เพราะความเป็นผู้ใคร่จะยังอานาปานัสสติสมาธินั้นให้
พิสดาร โดยประการต่าง ๆ. แม้ในบททั้งสอง ก็นัยนั่น.
ก็ในคำว่า กถํ ภาวิโต จ เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานัสสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้ว ด้วยประการไร
//* บาลีเป็น อูหตํ รโชชลฺลํ.

ด้วยอาการไร ด้วยวิธีไร ? ทำให้มากแล้ว ด้วยประการไร ? จึงเป็นคุณสงบ
ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้
อันตรธานไปโดยฉับพลัน.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยังเนื้อความนั้นให้พิสดาร จึง
ตรัสว่า อธิ ภิกฺขเว เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ข้อว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ มีความว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในศาสนานี้. จริงอยู่ อิธศัพท์นี้ในบทว่า ภิกฺขเว นี้
แสดงศาสนาซึ่งเป็นที่อาศัยของบุคคลผู้ให้อานาปานัสสติสมาธิเกิดขึ้นโดย
ประการทั้งปวง และปฏิเสธความไม่เป็นเช่นนั้นแห่งศาสนาอื่น. สมจริง ดัง
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมณะ (ที่ 1)
มีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ 2 มีในธรรมวินัยนี้. สมณะที่ 3 มีในธรรม
วินัยนี้ สมณะที่ 4 มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง* 4. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ภิกษุในศาสนานี้.
คำว่า อรญฺญคโต วา ฯเปฯ สุญฺญาตารคโต วา นี้แสดง
การที่ภิกษุนั้นเลือกหาเสนาสนะเหมาะแก่การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ.
เพราะว่า จิตของภิกษุนี้เคยซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเสียนาน
จึงไม่อยากจะก้าวขึ้นสู่อารมณ์ของอานาปานัสสติสมาธิ คอยแต่จะแล่นไปนอก
ทางอย่างเดียว ดุจรถที่เขาเทียมด้วยโคโกงฉะนั้น. เพราะฉะนั้น คนเลี้ยงโค
ต้องการจะฝึกลูกโคโกง ตัวดื่มน้ำนมทั้งหมดของแม่โคโกง เติบโตแล้ว พึง
พรากออกจากแม่โคนม ปักหลักใหญ่ไว้ส่วนหนึ่ง แล้วเอาเชือกผูกไว้ที่หลัก
นั้น, คราวนั้นลูกโคนั้นของเขา ดิ้นรนไปทางโน้นทางนี้ ไม่อาจหนีไปได้
//* องฺ. จตุกฺก. 21/323.

พึงยืนพิงหรือนอนอิงหลักนั้นนั่นแล ชื่อแม้ฉันใด; ภิกษุแม้รูปนี้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ประสงค์จะฝึกฝนจิตที่ถูกโทษประทุษร้าย ซึ่งเจริญด้วยการดื่มรส
แห่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นมานานแล้ว พึงพรากออกจากอารมณ์มีรูปเป็นตน
แล้วเข้าไปสูป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่าแล้วพึงเอาเชือกคือสติผูกไว้ที่
หลัก คือลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของเธอนั้น แม้
จะกวัด แกว่งไปทางโน้นและทางนี้ก็ตาม เมื่อไม่ได้รับอารมณ์ที่เคยชินมาใน
กาลก่อนไม่สามารถจะตัดเชือกคือสติหนีไปได้ ย่อมจดจ่อและแนบสนิทอารมณ์
นั้นแล ด้วยอำนาจอุปจาระและอัปปนา. เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
นรชน เมื่อจะฝึกลูกโค พึงผูกติดไว้
ที่หลัก ฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ พึงเอาสติ
ผูกจิตของตนไว้ที่อารมณ์ให้มั่นฉันนั้น.

เสนาสนะนั้น ย่อมเป็นสถานที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ
นั้น ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า คำนี้แสดงการที่
ภิกษุนั้น เลือกหาเสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ. อีกอย่าง
หนึ่ง เพราะอานาปานัสสติกรรมฐานนี้เป็นยอดในประเภทแห่งกรรมฐาน เป็น
ปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณพิเศษ และเป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน ของพระ
พระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก อันพระโยคาวจรไม่
ละชายบ้านที่อื้ออึงด้วยเสียงสตรี บุรุษ ช้าง และม้าเป็นต้น จะเจริญให้ถึง
พร้อม ทำไม่ได้ง่าย เพราะเสียงเป็นข้าศึกต่อฌาน; แต่ในป่าซึ่งไม่ใช่บ้าน
พระโยคาวจรกำหนดกรรมฐานนี้แล้ว ยังจตุตถฌานอันมีลมหายใจเข้าและหาย
ใจออก เป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว ทำฌานนั้นนั่นเองให้เป็นบาทพิจารณาสังขาร

ทั้งหลายได้บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลที่เลิศจะทำได้ง่าย; เพราะเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น. จึงตรัสพระ-
พุทธพจน์มีอาทิว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้. ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นประดุจอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณรู้ชัยภูมิพื้นที่. อาจารย์ผู้ทรงวิทยารู้พื้นที่
เห็นพื้นที่ที่จะสร้างนครแล้วพิจารณาโดยตระหนักแล้วชี้ว่า ขอพระองค์จงโปรด
สร้างพระนครในที่นี้ เมื่อนครสำเร็จแล้วโดยสวัสดี ย่อมได้มหาสักการะแต่
ราชตระกูล ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพิจารณาเสนาสนะอันสมควร
แก่พระโยคาวจรแล้วย่อมทรงชี้ว่า กรรมฐาน อันกุลบุตรผู้มีความเพียรพึง
พากเพียรพยายามในที่นี้, แต่นั้น เมื่อพระโยคาวจรประกอบกรรมฐานอยู่ใน
เสนาสนะนั้นแล้ว บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ ย่อมได้มหาสักการะว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้แล ฉันนั้นเหมือนกัน. ส่วนภิกษุนี้
ท่านว่า เช่นกับพยัคฆ์, เหมือนอย่างพญาเสือใหญ่ แอบอาศัยพงหญ้า ชัฏป่า
หรือเทือกเขา อยู่ในไพร ย่อมจับหมู่มฤคมีกระบือป่า ชะมด (หรือกวาง)
และสุกรเป็นต้น (เป็นภักษา) ฉันใด ภิกษุพากเพียรกรรมฐานอยู่ในเสนาสนะ
มีป่าเป็นต้นนี้ ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งโสดาปัตติมรรค
สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรคและอริยผล โดยลำดับ. เพราะ
ฉะนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
ขึ้นชื่อว่า พยัคฆ์ ย่อมแอบจับหมู่
มฤค (เป็นภักษา) แม้ฉันใด พุทธบุตร
ผู้ประกอบความเพียรบำเพ็ญวิปัสสนานี้ ก็
เหมือนกัน เข้าไปสู่ป่าแล้ว ย่อมยืดไว้ได้
ซึ่งผลอันอุดม.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอรัญญเสนาสนะ
อันเป็นภูมิควรแก่การประกอบเชาวนปัญญา เพื่อความเจริญก้าวหน้า แก่
พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า อรญฺญคโต วา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญคโต วา ความว่า ไปสู่ป่า
อันสะดวกแก่ความสงัดแห่งใดแห่งหนึ่ง ในบรรดาป่าซึ่งมีลักษณะที่กล่าวไว้
อย่างนี้ว่า. ที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ สถานที่ภายนอกจากเสาเขื่อนออกไป นั่นทั้งหมด
ชื่อว่าป่า1 และว่า เสนาสนะที่สุดไกลประมาณ 500 ชั่วธนู ชื่อว่าเสนาสนะ
ป่า.2
บทว่า รุกฺขมูลคโต วา ความว่า ไปสู่ที่ใกล้ต้นไม้.
บทว่า สุญฺญาคารคโต วา ความว่า ไปสู่โอกาสที่สงัด ซึ่งว่าง
เปล่า. แต่ในอธิการนี้ แม้ภิกษุจะเว้นป่าและโคนต้นไม้เสีย ไปยังเสนาสนะ
7 อย่าง ที่เหลือ ก็ควรเรียกได้ว่า ไปสู่เรือนว่างเปล่า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงชี้เสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานา-
ปานัสสติ ซึ่งเหมาะแก่ฤดูทั้ง 3 และเหมาะแก่ธาตุและจริยาแก่ภิกษุนั้น
อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทรงชี้อิริยาบถที่สงบ ซึ่งเป็นฝ่ายแห่งความไม่ท้อแท้และ
ไม่ฟุ้งซ่าน จึงตรัสว่า นิสีทติ ดังนี้. ภายหลังเมื่อจะทรงแสดงภาวะแห่งการ
นั่ง เป็นของมั่นคง ข้อที่ลมอัสสาสะ ปัสสาสะเป็นไปสะดวก และอุบายเครื่อง
กำหนดจับอารมณ์แก่เธอนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า ปลฺลงกํ อาภุชิตฺ
วา
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกํ ได้แก่ การนั่งพับชาทั้ง 2 โดย
รอบ (คือนั่งขัดสมาธิ).
//1. ขุ. ปฏิ. 31/264. อภิ. วิ. 35/338. 2. วิ. มหา. 2/146.

บทว่า อาภุชิตฺวา แปลว่า คู้เข้าไว้.
ข้อว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย มีความว่า ตั้งร่างกายส่วนบนให้ตรง
คือให้กระดูกสันหลัง 18 ท่อน จดที่สุดต่อที่สุด. จริงอยู่ เมื่อภิกษุนั่งด้วย
อาการอย่างนั้นแล้ว หนัง เนื้อ และเส้นเอ็น ย่อมไม่หงิกงอ. เวลานั้น
เวทนาทั้งหลายที่จะพึงเกิดขึ้นแก่เธอในขณะ ๆ เพราะความหงิกงอแห่งหนัง
เนื้อและเอ็นเหล่านั้นเป็นปัจจัยนั่นแล ย่อมไม่เกิดขึ้น. เมื่อเวทนาเหล่านั้น
ไม่เกิดขึ้น จิตก็มีอารมณ์เป็นอันเดียว, กรรมฐานไม่ตกไป ย่อมเข้าถึงความ
เจริญรุ่งเรือง.
ข้อว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา มีความว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อ
กรรมฐาน. อีกอย่างหนึ่ง ก็ในคำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา นี้ พึง
เห็นใจความตามนัยดังที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฎิสัมภิทานั้นแล
อย่างนี้ว่า ศัพท์ว่า ปริ มีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ, ศัพท์ว่า มุขํ มี
ความนำออกเป็นอรรถ, ศัพท์ว่า สติ มีความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ; เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า.* ในบทว่า ปริมุขํ สตึ นั้น
มีความย่อดังนี้ว่า ทำสติเป็นเครื่องนำออกที่คนกำหนดถือเอาแล้ว.

[อรรถาธิบายวิธีอบรมสติ 32 อย่าง]


ข้อว่า โส สโตว อสฺสสติ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งอย่างนั้น
และตั้งสติไว้อย่างนั้นแล้ว เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่า มีสติหายใจเข้า ชื่อว่า
มีสติหายใจออก. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้อบรมสติ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอาการเป็นเครื่องอบรม
สติเหล่านั้นจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต เป็นต้น. สมจริง
//* ขุ. ปฏิ. 31/ 2645.